วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


1.  หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
            หลักการทำงานของคอมพิวตอร์  เริ่มจากการป้อนข้อมูลเข้าทางหน่วยป้อนข้อมูล  (Input Unit)  ผ่านไปยังหน่วยประมวลผลข้อมูล (CPU:Central  Processing  Unit)  โดยหน่วยประมวลผลข้อมูลกลางจะทำงานร่วมกับปน่วยความจำ(Memory  Unit)  เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ  จะส่งข้อมูลออกไปยังหน่วยแสดงผล (Output  Unit)  ขบวนการทำงานสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
2.  หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง
            อุปกรณ์ต่อพ่วง คือ  อุปกรณ์อาร์ดแวร์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น นำอุปกรณ์มาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูล
เพื่อสแกนรูปภาพ  เพื่อทำให้เกิดเสียงเพลง   เพื่อควบคุมไฟวิ่ง  เพื่อตั้งศุนย์ถ่วงล้อรถยนต์  เพื่อควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานต่าง ๆ  เป็นต้น  หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจให้อุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดนั้นทำงานใด   แต่อุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์จะต้องต่อสายเคเบิ้ลหรือสายนำสัญญษณเข้ากับพอร์ตด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งอาจจะเป็นพอร์ตขนานหรือพอร์ตอนุกรม
ก็แล้วแต่ที่จะกำหนด  และโดยทั่วไปจะต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง  เช่น  ต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับเครื่องพิมพ์ตัวนั้นหรือนำคอมพิวเตอร์ไปควบคุมไฟวิ่งจะต้อง
เขียนโปรแกรมควบคุมไฟวิ่งติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ด้วย
3.  อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพิมพ์
            เครื่องพิมพ์(Printer)  เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษพิมพ์  โดยรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ผ่านสายเคเบิ้ลไปยังเครื่องพิมพ์ดังรูป
รูปแสดงการต่อเครื่องพิมพ์กับคอมพิวเตอร์
            เมื่อต่อเชื่อมเครื่องพิมพ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้วให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ที่บริษัทให้มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ซึ่งจะเป็นแผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์   โดยการใส่แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรมจะทำงานโดยอัตโนมัติ (Autorun)  แล้วทำการติดตั้งตามเมนูที่ปรากฏบนจอภาพ
4.  ประเภทของเครื่องพิมพ์
            4.1  เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
            4.2  เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
            4.3  เครื่องพิมพ์เลเซอร์

            4.1  เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
            เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก (Dot  Matrix)  เป็นเครื่องพิมพ์ทีใช้หัวเข็มกระแทกลงไปบนผ้าหมึก  เพื่อให้หมึกที่จะพิมพ์ตัวอักษรไปปรากฏบนกระดาษพิมพ์  เวลาพิมพ์จะมีเสียงดังมาก  ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาแพง  ส่วนผ้าหมึกจะมีราคาถูก  ปัจจุบันใช้ในงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการสำเนาหลายชุด  เช่น ใบสั่งซื้อ   บิลเงินสด  ใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ  เป็นต้น
           
            หัวพิมพ์จะประกอบด้วยเข็มโลหะเล่มเล็ก ๆ  วางเรียงกันเป็นแถวนำนวน  9  เข็มหรือ 24 เข็ม  เข็มแต่ละเล่มจะรับสัญญาณควบคุมให้พุ่งผ่านผ้าหมึก (Ribbon)  ไปตกกระทบบนกระดาษซึ่งมีล้อยางรองรับอยู่ด้านหลังให้เรียงจุดเป็นตัวอักษรหรือภาพ   โดยล้อยางจะทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษให้เลื่อนบรรทัดในการพิมพ์   ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที  เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสุง  สามารถเคลื่อนหัวพิมพ์ได้สองทิศทาง  มีทั้งขนาดแคร่สั้นและแคร่ยาว  สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ  ถ้าเป็นการพิมพ์ประเภทสีจะใช้หลักการเคลื่อนผ้าหมึกสี (น้ำเงิน  เขียว  แดง  ดำ )  ผสมสีกัน
            4.2  เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
            เครื่องพิม์แบบพ่นหมึก (Ink  Jet  Printer)  เป็นเครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการพ่นหมึกออกมาบนกระดาษพิมพ์โดยมีหัวพิมพ์เคลื่อนที่บนแกนโลหะ   การทำงานของหัวพิมพ์ใช้วิธีการฉีดพ่นน้ำหมึกเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ  จากกลักน้ำหมึกให้เป็นตัวอักษรหรือรูปภาพแทนลงบนกระดาษ  ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว   ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นขนาด  A4 (8.27x11.69  นิ้ว)  หรือขนาดที่เล็กกว่า  ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที  การพิมพ์สีจะใช้หลักการพ่นหมึก  3  สี คือ  น้ำเงิน   แดง  และเหลือง  ผสมกัน
            ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกคือมีความเร็วในการพิมพ์สูงกว่าแบบดอตเมตริก  สามารถพิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ  มีคุณภาพสูง  สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ  แต่มีข้อเสียคือความคมชัดน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์  ไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนาหลายชั้นเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริก   ไม่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษผิวมันและลื่นได้เพราะหมึกอาจเลอะเปื้อนกระดา   หมึกของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีราคาแพงมาก  แต่ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาถูก  หมึกของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะเก็บอยู่ในตลับหมึก  เมื่อหมึกหมดก็เพียงแต่เปลี่ยนตลับหมึกอันใหม่ก็ใช้งานได้ทันที  นอกจากการเปลี่ยนตลับหมึกแลัวยังสามารถเติมหมึกเองได้สำหรับเครื่องบางยี่ห้อ
            4.3  เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
            เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser  Printer)  เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่  มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก  มีคุณภาพในการพิมพ์สูงเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการความเร็วและตัวอักษรคมชัด  มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร   โดยจะทำการแปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสแล้วใช้แสงเลเซอร์ยิงเป็นรูปภาพต้นแบบลงบนแทนพิมพ์ที่เป็นล้อยาง (Drum)  แล้วทำการใช้ความร้อนดูดผงหมึกจากกลัก (Toner)  เข้ามาติดกับล้อยางตามแบบพิมพื  จากนั้นกระดาษจะถูกกรีดด้วยล้อยางผ่านแม่พิมพ์ที่มีผงหมึกติดอยู่ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพบนกระดาษ   ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว  (Dot  Per  Inch : DPI)  ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นกระดาษขนาด  A4  หรือขนาดที่เล็กกว่าความเร็วในการพิมพ์  ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที
            ข้อดีของเครื่องพิมพ์คือมีความเร็วในการพิมพ์สูง  พิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ  มีคุณภาพและความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกและเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก  แต่มีข้อเสียคือ  ไม่สามารถพิมพ์กระดาษหลายชั้นที่ต้องการสำเนาได้   กลักผงหมึกมีราคาแพงมาก  กระดาษที่ใช้ต้องมีคุณภาพดี   การบำรุงรักษาค่อนข้างยุ่งยากเมื่อดทียบกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริก  ปัจจุบันมีบางบริษัทนำเอาตลับหมึกใช้แล้วมาผลิตใช้ใหม่อีกครั้งแล้วขายในราคาถูก   ตลับหมึกประเภทนี้ควรจะระมัดระวังในการซื้อใช้  เพราะจุดนี้อาจจะเป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ยกเลิกสัญญารับประกัน

5.  อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพลิตเตอร์
            พลอตเตอร์ (Plotter)  เป็นอุปกรณ์แสดงต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อวาดภาพ  กราฟ  วงจรลวดลายต่าง ๆ   ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ ๆ  เหมาะกับงานด้านวาดภาพกราฟิก  งานด้านการออกแบบที่ต้องการคุณภาพสูง
            หลักการทำงาน  พลอตเตอร์ประกอบด้วยปากกาหมึกหลายสี  จำนวน 1-6  แท่ง  เคลื่อนที่บนแกนโลหะ  ควบคุมการทำงานด้านซอฟต์แวร์  ทำการวาดจุดเล็ก ๆ ให้เป็นเส้น  ลวดลายหรือภาพลงบนกระดาษขนาดใหญ่  แบ่งเป็น  2  ประเภทคือ
            1.  Flatbed  Plotter  เป็นพอตเตอร์ประเภทที่ใส่กระดาษวางไว้อยู่กับที่แต่ส่วนเคลื่อนที่ปากกา  ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปมาบนแกนโลหะเพื่อวาดลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง
            2.  Drum  Plotter  เป็นเครื่องพลอตเตอร์ที่มีล้อยางด้านล่าง  ทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษ  ส่วนปากกาและหมึกจะอยู่ด้านบน  เคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายและขวาเพื่อวาดรูปหรือวงจรตามต้องการ

6.  อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง
            ลำโพง (Speaker)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลจากการ์ดเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง  ลำโพงที่มาพร้องกับคอมพิวเตอร์  ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเล็กที่มีคุณภาพไม่ดีนัก   แต่เราสามามารถซื้อลำโพงคุณภาพสูงมาเปลี่ยนได้เพื่อจะได้ฟังเพลงหรือเล่นเกมส์ได้อรรถรสมากขึ้น
7.  อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            Scanner   เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านภาพ  และข้อความจากกระดาษ  แล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอรื  โดยนำสายสแกนเนอร์ต่อเข้ากับพอตขนาดหรือพอร์ต  USB  ของคอมพิวเตอร์  ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ
            สแกนเนอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  มักจะเป็นสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ (Flatbed  Scanner)  สามารถสแกนภาพบนกระดาษได้ครั้งละ  1  แผ่น  โดยส่วนใหญ่สแกนเนอร์แบบนี้จะสแกนขนาดกระดาษได้กว้าง  8.5  นิ้ว   ยาว  11  นิ้ว  แต่สแกนเนอร์บางตัวอาจจะสแกนได้กว้างตั้งแต่  8.5  นิ้ว และยาวได้ถึง  14  นิ้ว  เป็นสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก
8.  อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องอ่านรหัสแท่ง
            BarCode  Reader  เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์  มีลักษณะคล้ายปากกาหรือลักษณะอื่น ๆ  ทำหน้าที่อ่านรหัสข้อมูลที่ติดไว้บนสินต้าหรือผลิตภัณฑ์  โดยทั่วไปมักนิยมใช้บริการขายสินค้า  ณ  จุดซึ้อขาย (Point  Of  Sales  Terminals)  ของธุรกิจค้าปลีก   ห้างสรรพสินค้าหรือการบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ต้องการความรวดเร็วในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นข้อความและตัวเลข
            BarCodes  Reader  ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกรอกข้อมูลทางแป้นพิมพ์ที่มีรายละเอียดของตัวอักษรและตัวเลขจำนวนมาก   หลักการทำงานจะใช้วิธียิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านแถบรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้   มีขนาดหนาบางแตกต่างกัน  ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้วนำรหัสข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรายละเอียดข้อมูล  ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database)  แล้วนำข้อมูลไปแปลงเป็นรายละเอียด ๆ  ที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์   เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป  โดยที่การทำงานของ BarCode  Reader   นั้นจะต้องมีโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย
9.  อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทจอยสติก
            Joystick  คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก  มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก  เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพ  ได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง  มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกมส์   ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว   วีดีโอเกมส์  หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบ  ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก  เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในส่วนของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์

10.  อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทกล้องดิจิตอล
            Digital  Camera  เป็นกล้องถ่ายภาพโดยไม่ใช้ฟิล์ม  แต่จะเก็บข้อมูลเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์แทนซึ่งเราสามารถนำไฟล์ภาพมาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ  ได้  การใช้งานจะต่อสายเคเบิลระหว่างกล้องดิจิตอลกับพอร์ตขอบงเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสำเนาหรือโอนย้ายไฟล์ไปยังตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
            กล้องดิจิตอลโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีหน่วยความจำภายในตัวกล้องดิจิตอลเอง  ซึ่งหน่วยความจำนี้สามารถเก็บภาพได้อย่างน้อย  20  ภาพ   เมื่อถ่ายภาพจนเต็มหน่วยความจำก็ให้ย้ายไฟล์รูปภาพไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แล้วค่อยนำกล้องไปถ่ายภาพใหม่ได้อีกครั้ง
 11.   สื่อบันทึกข้อมูล  
            สื่อบันทึกข้อมูลหรือเรียกอีกย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรอง  มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเรียกใช้หรือแก้ไขในภายหลังได้   สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้กันอยู่มีหลายประเภทได้แก่  ฮาร์ดดิสก์  แผ่นดิสก์  ซีดีรอม  ดีวีดีรอม  ทัมร์ไดร์ฟหรือแฮนดรี้ไดร์ฟ  เป็นต้น
            11.1  ฮาร์ดดิสก์   
            ฮาร์ดดิสก์คือสื่อบันทึกข้อมูล  ที่มีความจุสูงและถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์  โครงสร้างภายในฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางเรียงซ้อนกันบนแกนตั้ง   มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง  แต่ละแผ่นจะมีหัวอ่านเขียนยึดติดกับก้านห้วอ่าน (Access  Arm)  ทำหน้าที่เขียนอ่านในแต่ละด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก  แผ่นดิสก์แต่ละแผ่นมีโครงสร้างคล้านกับแผ่นดิสก์เก็ตคือแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์   แต่ละแทร็กที่อยู่ในตำแหน่งตรงกันของทุกแผ่น  เรียกว่า  Cylinder  ลักษณะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ทั้งแบบ  Sequential  Access  และแบบ  Random  Access
            การวัดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์  จะพิจารณาจากเวลาเข้าถึงข้อมูล (Access  Time)  คือเวลาตั้งแต่เริ่มเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล   จนได้ปริมาณข้อมูลตามที่ต้องการ  ต่อหนึ่งหน่วยเวลาโดยพิจารณาจากสิ่งต่อ่ไปนี้คือ
            -  Seek  Time  คือเวลาที่หัวอ่านใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง  Track  ที่ต้องการ   ถ้าใช้เวลาน้อย  แสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพสูงมาก
            -  Rotational  Delay  Time  คือเวบาที่รอให้แผ่นดิสก์หมุนเคลื่อนที่  Sector  ที่ต้องการมาตรงกับตำแหน่งของหัวอ่านเขียน  ถ้าใช้เวลารอน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก
            -  Data  Transfer  Time  คือเวบาที่ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลจากเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์เข้าสู่หน่วยความจำ  ยิ่งใช้เวลาน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูง  ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการโอนถ่ายข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยเวลา (Transfer  Rate)
            11.2  ดิสก์เกต
            Diskette  คือแผ่นฟลอบฟี้ดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ คือสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเนื้อแผ่นกลมบางทำมาจากพลาสติกไมล่าร์  หมุนอยู่ในพลาสติกห่อหุ้ม (Jacket)  อีกชั้นหนึ่ง   รหัสขัอมูล  0,1  สร้างเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าบนออกไซด์ของโลหะที่ฉาบไว้บนแผ่นพลาสติกไมล่าร์  ต้องใช้ร่วมกับเครื่องขับแผ่นดิสก์  สามารถบันทึกและแสดงผลข้อมูลได้
            -  metal  shutter  คือแผ่นโลหะสำหรับเลื่อนเปิดปิดเพืออ่านเขียนข้อมูลภายในดิสก์
            -  Data  access  area  คือพื้นที่สำหรับอ่านเขียนข้อมูล
            -  hard  plastic  jacket  คือ  พลาสติกแข็งห่อหุ้มแผ่นดิสก์ที่อยู่ภายใน
            -  label   คือ พื้นที่สำหรับติดแผ่นฉลากเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเป็นแผ่นที่เก็บข้อมูลอะไร
            - hub  คือบริเวณหรือตำแหน่งที่เกี่ยวแผ่นดิสก์เมื่อใส่เข้าไปยังเครื่องขับดิสก์
            - write-protect  notch  ตำแหน่งป้องกันการเขียนทับ  สามารถเลื่อนเพื่อให้เขียนทับหรือไม่ก็ได้  บริเวณดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์แสดงว่าปัจจุบันอยู่ในสภาวะใด
            โครงสร้างของเนื้อแผ่นดิสก์  ใรกสนแบ่งโครงสร้าวในการบันทึกข้อมูลเป็นวลกลมหลาย ๆ วงบนแผ่นดิสก์  เรียกว่า  Track  จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ  แต่ละส่วนเรียกว่า  Sector  ในแต่ละ  Sector  สามารถบรรจุข้อมูลได้  512  Byte  และสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง  (2 Sides) แผ่นดิสก์แต่ละประเภทมีโครงสร้างจำนวน  Track  และจำนวน  Sector  ในแต่ละ  Track  ต่างกัน  ทำให้แผ่นดิสก์มีขนาดความจุต่างกันด้วย
            แผ่นดิสก์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีขนาด  3.5  นิ้ว  มีความจุ  1.44  MB   แบบ Double  Side  High  Density  แบ่งเป็นวงกลมได้ทั้งหมด  80 วง (คือ  80  Track)  ภายใน  1  Track  แบ่งออกเป็น 18  Sector  แต่ละ Sector  เก็บข้อมูลได้  512  Byte   จำนวน  2  หน้า   เพราะฉะนั้นแผ่นดิสก์  1  แผ่นจึงมีความจะเท่ากับ  1,474,560  Byte Z 80x512x2)  หรือมีค่าเท่ากับ  1,440 KB  (1}024 Byte = 1 KB)  หรือมีค่าประมาณ  1.44 MB(1}024 KB = 1  MB)
            ข้อดีของแผ่นดิสก์คือง่ายและสะดวกในการพกพา  สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง  การอ่านเขียนข้อมูลทำได้ทั้งแบบลำดับ (Sequential)  และแบบสุ่ม (Random)  ราคาถูกใช้ได้กับคอมพิวเตอร์แบบไมโครคอมพิวเตอร์ทุกประเภท   แต่มีข้อเสียคือต้องใช้งานอย่างระมักระวัง  ความจุน้อย   อายุการใช้งานน้อย  ถ้าหักงอ  โดนความร้อน  โดนสนามแม่เหล้ก  โดนน้ำ  จะทำให้แผ่นดิสก์เสียหายและใช้งานไม่ได้
            11.3  ซีดีรอม
            ซีดีรอม  (Compact  Disk-Read  Only  Memory)  เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง  โครงสร้างเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ  ทีฉาบด้วยโลหะ  metatic  หลักการทำงานจะใช้แสงเลเซอร์(Laser)  ฉายลงไปบนพื้นผิวของแผ่น  ทำให้เกิดหลุมรหัสเป้น  0  และ  1  การอ่านข้อมูลก็ใช้แสงเลเซอร์กวาดไปบนพื้นผิวของแผ่นแล้วใช้แสงสะท้อนกลับที่ได้แปลงไปเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้
            แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเหมือนแผ่นซีดีเพลงทั่วไป  มีความจุประมาณ  600 – 700  MB  แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต   มีความยาวของการบันทึกข้อมูลได้ประมาณ  74  นาที  อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมได้อย่างเดียวผู้ใช้ไม่สามารถลบหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้   ข้อมูลจะถูกบันทึกมาจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว   ประโยชน์ของซีดีรอมคือ  ใช้ในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์   หรือ ข้อมูลที่มีขนาดความจุมากพอสมควรเก็บรักษาได้ง่ายกว่าแผ่นดิสก์   การนำแผ่นซีดีรอมไปใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อ่านข้อมูลที่เรียกว่าซีดีรอมไดร์ฟ  มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ  Random  Access
            ความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟจะใช้หน่วยวัดเป็น  จำนวนเท่าของความเร็วการอ่านข้อมูลที่  150  Kb  ต่อวินาที  ซึ่งเป็นความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรก ๆ  โดยจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร  “X”  ต่อท้ายเพื่อบอกจำนวนเท่า  สำหรับซีดีรอมที่จำหน่ายในปัจจุบันทีความเร็วอย่างน้อย  50 X
           
            แผ่นซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า  WORK  (Write  Once  Read  Mamy)  มีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่นซีดีรอมทั่วไปแต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น  WORK  ได้  1 ครั้ง  โดยใช้ซีดีรอมไดร์ฟชนิดบันทึกได้ที่เรียกว่า  CD-ROM  Recordable  แต่สามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้กี่ครั้งก็ได้  มีความจุประมาณ   650   MB  มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ  Random  Access  มีราคาแพงกว่าแผ่นซีดีรอมทั่วไป
           
            แผ่นซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า  Erasable  Optical  Disks  มีลักษณะแนวคิดในการเขียนอ่านได้หลาย ๆ  ครั้ง  เหมือนกับแผ่นดิสก์แต่ใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน  การใช้งานต้องใช้งานร่วมกับ  Optical  Disk  Drive  หรือที่เรียกว่า   MO (Magneto – optical)  หรือที่เรียกว่า  CD – Writer            ปัจจุบันนิยมซื้อหามาใช้กันมากเพราะมีราคาถูก  และใช้งานแทนซีดีรอมทั่วไปได้  เพราะสามารถอ่านหรือเขียนแผ่นซีดีรอมได้  มีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป
            11.4  ดีวีดีรอม
ดีวีดีรอม  (DVD – ROM ) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงมากกว่าซีดีรอม   โครงสร้างของแผ่น
เป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบางๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ  metallic ดีวีดีรอมสามาถาเก็บข้อมูลได้มากกว่า4.7
GB ซึ่งเหมาะสำหรับการเก็บภาพยนตร์หรือไฟล์มัลติมีเดียจำนวนมาก  ภาพและเสียงของดีวีดีรอมจะมีความคมชัดมากกว่าซีดีรอม  แต่แผ่นดีวีดีรอมจะต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ดีวีดีรอมไดร์ฟ  อุปกรณ์ดีวีดีรอมไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นได้ทุกประเภท
           
            11.5  แฮนดี้ไดร์ฟ
            แฮนดี้ไดร์ฟ(Handy  Drive)  หรือทัมพ์ไดร์ฟ  (Thum  Drive)  คือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันได้รับความนิยมใช้กันมาก  สื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เหมือนกับแผ่นดิสก์และฮาร์ดดิสก์  แต่มีข้อดีตรงที่พกพาได้สะดวกขนาดเล็กกว่าแผ่นดิสก์มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่า  เช่น  128,256,512  Mb,  1  GB, 2 GB  พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้คือพอร์ต   USB  ( Universal  Serial  Bus)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น