ระบบปฎิบัติการวินโดว์
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ XP
1. การ Log ON เพื่อเข้าใช้งาน
เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาและวินโดวส์เริ่มทำงานแล้วเรียกว่าการบู๊ต ก่อนที่เราจะเข้าไปใช้งานวินโดวส์ XP จะต้องมีการ Log On โดยอาจจะมีรหัสผ่านที่เราตั้งเอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้ที่รู้รหัสผ่านเท่านั้นสามารถเข้าไปใช้งานวินโดวส์ได้และยังเป็นการป้องกันข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญไม่ให้เกิดความเสียหาย เราจึงควรรู้ขั้นตอนการ Log on เพื่อเข้าใช้งาน ซึ่งมีวิธีการตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่รูป User account หรือกด Enter เพื่อเข้าใช้งานวินโดวส์
2. ถ้ามีรหัสผ่านให้ใส่รหัสผ่านลงในช่องนี้ก่อน
3. กด Enter หรือคลิกปุ่มนี้เพื่อเข้าสู่การใช้งานวินโดวส์
2. หน้าตาของ Windows XP
หน้าตาของ Windows XP มีชื่อเรียก ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. เดสก์ท็อป (Desktop) คือ พื้นที่หน้าจอเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่โปรแกรมเปรียบเหมือนโต๊ะทำงานของเรา
2. ไอคอน (Icon) คือ สัญลักษณ์หรือรูปภาพที่ใช้แทนโปรแกรม ทำให้เราสามารถจำได้ง่าย
3. ถังขยะ (Recycle Bin) คือ โฟลเดอร์ที่เก็บ ไฟล์ โฟลเดอร์หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เราต้องการลบทิ้ง แต่ถ้าอยากนำขึ้นมาใช้ใหม่ก็สามารถกู้คืนกลับมาได้
4. ทาสก์บาร์ (Taskbar) คือ แถบงาน เมื่อเราเข้าทำงานโปรแกรมต่าง ๆ ชื่อโปรแกรมเหล่านั้นก้จะไปแสดงที่ทาสก์บาร์ ขณะที่เข้ามาครั้งแรกยังไม่มีโปรแกรมใดเปิดใช้งานพื้นที่ทาสก์บาร์ก็จะว่าง ทาสก์บาร์ยังสามารถ Lock ไว้ให้อยู่กับที่ได้หรือเคลื่อนย้ายไปตามมุมต่าง ๆ ของหน้าจอได้
5. ซิสเต็ม เทรย์ (System Tray) ใช้บอกเวลา และใช้แสดงไอคอน หรือสถานะของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
6. ทูลสทิป (Toolstip) เมื่อเราเลื่อนเมาส์ไปที่ชื่อหรือไอคอนของโปรแกรมใดจะปรากฏกรอบสีเหลืองภายในจะมีข้อความสำหรับอธิบายโปรแกรม เรียกว่า ทูลสทิป (Toolstip)
7. ปุ่ม สตาร์ท (Start) คือ จุดเริ่มต้นของโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อเราใช้เมาส์ไปคลิกที่ปุ่มสตาร์ท จะปรากฏเมนูโปรแกรมต่าง ๆ ให้เราเลือกใช้ได้ในกรณีที่เราต้องการที่จะใช้โปรแกรมใด ให้เอาเมาส์ไปคลิกที่ซื่อหรือรูปไอคอนหน้าชื่อโปรแกรมนั้นเพื่อเข้าใช้งาน
8. โปรแกรมที่เรียกใช้งานบ่อย มักจะแสดงแค่ 6 โปรแกรม แต่เราสามารถกำหนดให้แสดงมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 โปรแกรมได้
9. โปรแกรมทั้งหมด ในกรณีเราต้องการใช้โปรแกรมใด ให้คลิกที่ชื่อโปรแกรมนั้นเพื่อเข้าใช้งาน
3. การปรับแต่งหน้าตาของ Windows
การปรับแต่งหน้าตาของวินโดวส์ สามารถทำให้เหมือนกับวินโดวส์รุ่นก่อน ๆ คือปรับแต่ง Background color, Wallpaper เป็นต้น ซึ่งวิธีการปรับแต่งก็จะต่างกันเล็กน้อย มีขั้นตอนดังนี้
3.1 การตั้งภาพวอลล์เปเปอร์
1. คลิกเมาส์ขวาที่ Desktop เลือก Properties
2. จะปรากฏหน้าต่าง Display Properties
3. คลิกที่แท็ป Desktop แล้วเลือกภาพที่ต้องการ
4. คลิกปุ่ม OK หรือ Apply
5. จะได้ภาพวอลล์เปเปอร์หรือพื้นหลังตามต้องการ
3.2 การเลือกใช้สีพื้นหลัง (Background color)
สำหรับผู้ที่ไม่ชอบสีพื้นหลังเป็นรูปภาพต่าง ๆ และต้องการให้สีพื้นหลังมีแค่สีเดียว สามารถปรับแต่งสีพื้นหลังได้และมีสีให้เลือกตามความต้องการอีกด้วย สามารถกระทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกเมาส์ขวาที่ Desktop เลือก Properties
2. จะปรากฏหน้าต่าง Display Properties
3. คลิกแท็ป Desktop เลือก (None) เพื่อไม่ใช้ Wallpaper
4. คลิกเลือกสี ที่ Color หรือคลิกที่ Other………
5. จะปรากฏหน้าต่าง Color เพื่อหาสีอื่น ๆ ที่ต้องการแล้วคลิก OK
6. เมื่อได้สีที่ต้องการแล้ว คลิก OK หรือ Apply
7. Background ก็จะเปลี่ยนไปเป็นสีที่เราต้องการ
3.3 การเพิ่มไอคอนเพื่อใช้งานบนเดสก์ท๊อป
เมื่อเราต้องการเรียกโปรแกรมที่อยู่บนเดสก์ท๊อป สามารถดับเบิลคลิกที่ไอคอนของโปรแกรมนั้น ก็จะเข้าสู่โปรแกรม ในกรณีที่โปรแกรมที่ต้องการจะใช้งานไม่ได้มีไอคอนอยู่บนเดสก์ท็อป เราสามารถนำไอคอนของโปรแกรมที่เราต้องการขึ้นมาเพิ่มบนเดสก์ท็อปได้ มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกเมาส์ขวา ที่ Desktop เลือก Properties
2. คลิกแท็ป Desktop แล้วคลิกปุ่ม Customize Desktop
3. จะปรากฏหน้าต่าง Desktop Items คลิกเลือกเครื่องหมายถูกหน้าชื่อไอคอนที่ต้องการเพิ่ม
4. ถ้าอยากเปลี่ยนรูปไอคอนให้คลิกที่รูปไอคอนนั้นแล้ว คลิกปุ่ม Change Icon
5. เลือกรูปที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
6. ไอคอนที่เราเลือกก็จะมาแสดงอยู่ที่ Desktop ตามต้องการ
3.4 การย้ายและการจัดเรียงไอคอน
การจัดเรียงไอคอนเราจัดเรียงเพื่อความสวยงาม หรือสะดวกในการเรียกใช้งาน สามารถจัดเรียงได้หลายแบบแล้วแต่ความต้องการ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดและวิธีการปรับแต่งดังนี้
1. คลิกขวาที่ Desktop ไปที่ Arrange By
2. เลือกรูปแบบการจัดเรียงตามที่เราต้องการ
แบบ Name เรียงตามลำดับชื่อของไอคอน
แบบ Size เรียงตามขนาดของไฟล์ข้อมูลของไอคอน
แบบ Type เรียงตามชนิดของไอคอน
แบบ Modified เรียงตามันที่แก้ไขหรือสร้างไฟล์ของไอคอน
แบบ Auto Arrange เรียงไอคอนเป็นแถวชิดด้านซ้าย ไม่สามารถลากไอคอน
ไปตำแหน่งอื่นได้
แบบ Align to Grid เรียงไอคอนตามแนวตาราง Grid โดยอัตโนมัติ
4. สกรีนเซฟอวอร์ ( Screen Saver)
สกรีนเซฟเวอร์ เป็นโปรแกรมใช้สำหรับพักหน้าจอเมื่อเราเปิดเครื่องทิ้งไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้งาน Screen Saver จะแสดงรูปหรือข้อความ เพื่อป้องกันสารเรืองแสงบนจอภาพเกิดเป็นรอยต่าง ๆ เพราะ จอแสดงภาพเดิมอยู่นาน มีวิธีการปรับแต่งดังนี้
4.1 การปรับแต่ง Screen Saver
1. คลิกเมาส์ขวาที่เดสก์ท็อป เลือก Properties
2. จะปรากฏหน้าต่าง Display Properties ให้เลือกแท็ป Screen Saver
3. เลือกแบบ Screen Saver
4. เลือกเวลาสำหรับ Screen saver ในช่อง Wait
5. ถ้าต้องการใส่ลูกเล่น คลิกที่ Setting
6. ถ้าต้องการดูตัวอย่าง คลิกที่ Preview
7. คลิกที่ปุ่ม OK
4.2 การปรับตั้งความละเอียดและสีของจอภาพ
1. คลิกเมาส์ขวาที่เดสก์ท็อป เลือก Properties
2. จะปรากฏหน้าต่าง Display Properties ให้เลือกแท็ป Setting
3. เลือกความละเอียดของหน้าอ
4. เลือกจำนวนสีที่ใช้บนหน้าจอ
5. ปุ่ม Advanced ใช้สำหรับปรับแต่งรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม
6. เมื่อปรับแต่งได้ตามต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
- การปรับแต่งทาสก์บาร์
ทาสก์บาร์มีลักษณะเป็นแถบเล็ก ๆ ปกติทาสก์บาร์จะอยู่ด้านล่างของหน้าจอจะมีปุ่ม Start และเครื่องมือต่าง ๆ อยู่ในนั้น เราสามารถที่จะเรียกใช้งานหรือให้เครื่องมือเหล่านั้นออกมาแสดงหรือซ่อนเอาไว้ก็ได้ ซึ่งการปรับแต่งทาสก์บาร์ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานบน Windows ตามความต้องการของเราได้ มีวิธีการปรับแต่งเป็นดังนี้
5.1 การย้ายทาสก์บาร์
1. คลิกเมาส์ขวาบนที่ว่างของทาสก์บาร์
2. ปลดล็อกการเคลื่อนที่ของทาสก์บาร์ โดยการคลิกที่ Lock the Taskbar
3. คลิกลากแล้วลาก ทาสก์บาร์ไปไว้ยังขอบด้านใดด้านหนึ่งของจอภาพที่เราต้องการ
5.2 การซ่อนทาสก์บาร์
การซ่อนมีประโยชน์ต่อการใช้งานคือ เมื่อเราต้องการทำงานพร้อมกันหลาย ๆ โปรแกรม ต้องการใช้พื้นที่ในการทำงานเพิ่มขึ้นเราสามารถซ่อนทาสก์บาร์ได้ ในกรณีที่ต้องการเรียกทาสก์บาร์ขึ้นมาใช้งานเพียงแค่เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งที่อยู่เดิมของทาสก์บาร์ วิธีซ่อนทาสก์บาร์มีดังนี้
1. คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ เลือก Properties
2. จะเข้าสู่หน้าต่าง Taskbar and Start Menu Properties
3. คลิกเลือกให้มีเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Auto-hide the Taskbar
4. คลิกปุ่ม OK
5.3 การจัดกลุ่มของโปรแกรมให้เป็นปุ่มเดียวบนทาสก์บาร์
เมื่อเราเปิดโปรแกรม ไว้มาก ๆ ทำให้ชื่อของโปรแกรมบนทาสก์บาร์มีขนาดเล็กมากจนบางทีอ่านไม่ออก Windows XP จึงมีการจัดกลุ่มโปรแกรมต่าง ๆ เหล่านี้ที่เป็นกลุ่มเดียวกันให้เป็นกลุ่มเดียวบนทาสก์บาร์ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. คลิกขวาที่ทาสก์บาร์เลือก Preperties
2. ที่แท็ป Taskbar คลิกเลือก Group similar taskbar buttons แล้วคลิกปุ่ม OK 3. กลุ่มของโปรแกรมก็จะรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน
6. หน้าที่และการใช้งานของหน้าต่างโปรแกรม
1. แถบเมนู (Menu Bar) เป็นที่รวบรวมคำสั่งที่ใช้ได้ในโปรแกรมนั้น
2. แถบชื่อ (TitleBar) ที่สำหรับแสดงชื่อวินโดวส์
3. กรอบวินโดวส์ (Windows ) สามารถคลิกลากเมาส์ที่เส้นขอบวินโดวส์เพื่อย่อ – ขยายขนาดของวินโดวส์
4. แถบเลื่อน (Scrolling) คลิกแล้วลากเพื่อเลื่อนไปแสดงส่วนอื่นที่มองไม่เห็นในขณะนั้น 5. 5. ปุ่ม Maximize ใช้ขยายหรือย่อขนาดของวินโดวส์
6. ปุ่ม Minimize ทำหน้าที่ยุบวินโดวส์ให้เป็นปุ่มบนทาสก์บาร์ เพื่อใช้พักโปรแกรมไว้ชั่วคราว
7. ปุ่มปิด (Close) ทำหน้าที่ปิดวินโดวส์
8. ปุ่มควบคุมรายการ (Control Menu) คลิกเพื่อเปิดเมนูคำสั่งย่อยหรือดับเบิ้ลคลิกเพื่อปิดวินโดวส์นี้
6.1 การย่อ – ขยาย Windows ด้วยการคลิกลาก
การคลิกลากเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการย่อ หรือ ขยายหน้าต่างหรือ Windows ให้มีขนาดตามที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้
1. เลื่อนเมาส์ไปวางที่กรอบของวินโดวส์ที่เราต้องการ ย่อ หรือ ขยาย จนสัญลักษณ์ของเมาส์เปลี่ยนเป็นรูปหัวลูกศรคู่ ดังตัวอย่าง แล้วทำการย่อหรือขยายวินโดวส์
2. ขนาดหน้าต่างวินโดวส์จะถูกย่อหรือขยายตามที่เราต้องการ
7. การเรียกใช้งานโปรแกรม
การเรียกใช้งานโปรแกรมสามารถเลือกใช้งานโปรแกรมได้หลายแบบ เช่น การเรียกใช้งานโปรแกรมจากปุ่ม Start การเรียกใช้งานโปรแกรมด้วยคำสั่ง Run การเรียกใช้งานโปรแกรมด้วยไอคอน และการเรียกใช้งานคำสั่ง MS-Dos แต่ละโปรแกรมมีวิธีการเข้าใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกเข้าใช้งานโปรแกรมแบบใดนั้น แล้วแต่ความถนัดและความเหมาะสมของผู้ใช้ ซี่งแต่ละแบบมีวิธีการเข้าใช้งานดังนี้
7.1 การเรียกใช้งานโปรแกรมจากปุ่ม Start
1. คลิกที่ปุ่ม Start
2. เลือก All Programs
3. คลิกที่ Accessories
4. เลือก Calculator หรือโปรแกรมที่เราต้องการ
5. จะปรากฏโปรแกรมเครื่องคิดเลขตามที่เราต้องการ
7.2 การเรียกใช้งานโปรแกรมด้วยคำสั่ง Run
การเรียกใช้งานโปรแกรมด้วยคำสั่ง Run เป็นวิธีการเข้าใช้งาน โปรแกรมที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง และเป็นที่นิยมใช้มากในกรณีที่เรารู้ ที่อยู่และชื่อของโปรแกรม ที่จะเข้าใช้งาน สามารถพิมพ์ที่อยู่ และชื่อโปรแกรมเพื่อเรียกใช้งานได้ วิธีการเรียกใช้มีดังนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Start
2. เลือกคำสั่ง Run
3. คลิกปุ่ม Browse เพื่อหาโปรแกรมที่ต้องการ หรือถ้ารู้ชื่อและที่อยู่ของโปรแกรมแล้วสามารถใส่ลงไปในช่อง Open แล้วกด OK ถ้าใช้ Browse ก็เลือกหาโปรแกรมที่ต้องการแล้วกด Open
4. โปรแกรมเครื่องคิดเลขจะปรากฏตามที่เราต้องการ
7.3 การเรียกใช้งานโปรแกรมด้วยไอคอน (Icon)
การเรียกใช้งานโปรแกรมด้วยไอคอน จะเป็นการเข้าใช้งานที่สะดวกและง่ายมาก เมื่อเราต้องการเข้าใช้งานโปรแกรมใดก็เพียงดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนนั้น ก็จะสามารถเข้าสู่โปรแกรมที่เราต้องการสามารถทำได้ดังนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกไอคอนของโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน
2. จะปรากฏหน้าต่างโปรแกรมที่เราต้องการใช้งาน
7.4 การเรียกใช้งานคำสั่ง MS-Dos Prompt
การเรียกใช้คำสั่ง Dos ใน Windows XP จะอยู่ภายใต้การควบคุม ของ Windows โดยสามารถใช้ได้เช่นคำสั่ง CD ใช้ในการเดินทางเข้าหรือกลับออกไปหารากย่อยอื่น ๆ คำสั่ง MD ใช้ในการสร้างรากหรือโฟลเดอร์เพื่อแยกไฟล์ให้ย่อยมากขึ้น คำสั่ง RD ใช้ในการลบไฟล์หรือโฟล์เดอร์ คำสั่ง Dir ใช้ในการเรียกดูรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ขนาด วัน เวลาที่สร้างไฟล์ หรือไดเร็กทรอรี้ นั้น ๆ แต่จะใช้ได้ไม่ครบทุกคำสั่ง วิธีการเข้าใช้งาน MS-Dos มีดังนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs
3. เลื่อนเมาส์ไปที่ Accessories แล้วเลือก Command Prompt
4. เข้าสู่การทำงานโปรแกรม MS-DOS
5. เมื่อต้องการออกจากโปรแกรมให้พิมพ์ Exit หรือคลิกปุ่มปิด
8. การออกจาก Windows
ก่อนออกจากวินโดวส์ ควรปิดโปรแกรมที่เรียกขึ้นมาใช้งานทุกโปรแกรม แล้วจึงทำการปิดเครื่องเราสามารถที่จะเลือก Restart เครื่องหรือ Stand By เครื่องได้แล้วแต่ความต้องการซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. คลิก Start เลือกTum Off Computer
2. คลิกปุ่ม Turn Off เพื่อปิดการใช้งาน Windows
3. ปุ่ม Restart เมื่อคลิกปุ่ม โปรแกรมจะปิดเครื่องแล้วจะเปิดขึ้นมาใหม่
4. ปุ่ม Stand By เมื่อคลิกปุ่ม เครื่องจะพักการทำงานชั่วคราวและจะตัดไฟ
ที่ไปเลี้ยงหน้าจอ เมื่อเราเลื่อนเมาส์หรือกดคีย์บอร์ดปุ่มใด ก็ตามเครื่องจะเข้าสู่การ Log On เข้ามาใช้งานได้ตามปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น