วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบปฏิบัติการ


โปรแกรมระบบปฏิบัติการ 
            โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Operating   System  : OS )  หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการจัดการระบบเพื่อติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประเภทต่าง ๆ  ให้สะดวกมากขึ้นเปรียบเสมือนเป็นตัวกลางคอยจัดการระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างโปรแกรมกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
            หน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
            1. เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์  
เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสั่งงานคอมพิวเตอร์  โดยการจัดเตรียมโปรแกรมระบบปฏิบัติการใส่ไว้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้เช่น  ระบบปฏิบัติการ  DOS  ติดต่อกับผู้ใช้โดยให้พิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรอรับคำสั่ง  (Prompt  Singe)  ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภายกราฟฟิกส์  เป็นต้น
            2.  ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์   เช่น  ควบคุมการใช้ดิสก์ไดร์ฟ  ฮาร์ดดิสก์  คีย์บอร์ด   และจอภาพ  เป็นต้น
            3.  ทำงานร่วมกับโปรแกรมที่อยู่ในรอม   เมื่อเรื่มบูตเครื่อง  OS  จะทำงานต่อจากโปรแกรมประเภท  Firmware ( ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอมเพือตรวจสอบความพร้อมของฮาร์ดแวร์ในระบบ )  ที่จัดเก็บไว้ในรอม  จะทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  เรามักเรียก  Firmware  นี้ว่า  BIOS ( Basic  Input  Output  System )  โดย  BIOS  จะทำการตรวจสอบความพร้อมระบบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์  จากนั้นจึงส่งหน้าที่ให้แก่ OS  เพื่อให้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
            4.  จัดตารางการใช้ทรัพยากร   การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลางของคำสั่วที่ผุ้ใช้สั่งงาน เช่น  กำหนดวิธีการจัดคิว ( Queue)  ของคำสั่ง  เวลาที่ OS  อนุญาตให้ใช้ซีพียูของแต่ละคำสั่งทั้งนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลกลางทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
            5.  จัดการข้อมูลและสารสนเทศในหน่วยความจำ  ได้แก่การนำข้อมูลไปวาง  ( Placement )  ในหน่วยความจำ  การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำ ( Replacement )  การย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ
            6.  จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อสำรอง ( Secondary  Storage  Unit)
            7.   นำโปรแกรมประเภทอื่นเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์
นอกจากประมวลผลแล้วยังคอยให้บริการเมื่อโปรแกรมต่าง ๆ  ต้องการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่  หน่วยความจำอาร์ดดิสก์  ดิสก์ไดรฟ์  เครื่องพิมพ์  เป็นต้น
            8.  จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย
            9.  จัดการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์  ได้แก่  เครื่องสแกนเนอร์   การ์ดเสียง  และโมเด็ม  เป็นต้น
คุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ 
            1.  จำนวนงานที่ทำได้  
            ถ้าทีหลายโปรแกรมทำงานพร้อมกันได้  เรียกว่า  Multi – Tasking  OS  แต่ถ้า  OS  ควบคุมให้โปรแกรมทำงานได้ครั้งละ  1  โปรแกรมเท่านั้น  เราเรียกว่า  Single – Tasking  OS
            2.  จำนวนผู้ใช้   
            จำนวนผู้ใช้  OS   สามารถควบคุมการทำงานให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ  กันได้หลายเครื่องในระบบเครือข่าย  ที่มีผู้ใช้หลายคน   ถ้า  OS  สามารถจัดการระบบที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คน  พร้อมกันได้ในระบบเรียกว่า  Multi – User  OS  แต่ถ้า  OS  สามารถจัดการระบบได้เพียงเครื่องเดียวหรือมีผุ้ใช้ระบบได้เพียงครั้งละ  1  คน เรียกว่า  Single  -  User  OS
            3.  ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้
            ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น  2  กลุ่ม คือ  Gemeric  Operation  System ( ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท  ไม่ยึดติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด)   กับอักประเภทหนึ่งคือ  Proprietary  Operating  System  (ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใดเท่านั้น) ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาเพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียว   ไม่สมารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ  ได้ เช่น  ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง  Macintosh   และเครื่องในตระกูล   Apple  II  ซึ่งใช้ซีพียู  ยีห้อ Motorola  ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ  ไปได้
ประเภทของระบบปฏิบัติการ 
            1.  ระบบปฏิบิติการดอส
            ระบบปฏิบัติการดอส  (DOS : Disk  Operating  System)  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันแพร่หลายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอรื  เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง  IBMPC  ประมาณปี  ค.ศ. 1981  เรียกว่า  โปรแกรม  PC-DOS    ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง  MS-DOS  สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน  ตั้งแต่รุ่น  (Versions) 1.0, 2.0, 3.0, 3.30,4.0, 5.0, 6.0 และ   6.22   ปัจจุบันมีซอฟตแวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ  MS-DOS  อยู่เป็นจำนวนมาก   โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ  ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย  เช่น  ทีฮาร์ดดิสก์  มีหน่วยความจำน้อย  ซีพียูรุ่นเก่า  ๆ  เป็นต้น  ตัวอย่างการใช้คำสั่งดอสโดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง  ในลักษณะ  Command  Line  ซึ่ง  DOS   ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง   ไม่มีภาพกราฟฟิกให้ใช้  เรียกว่า  ทำงานในโหมดตัวอักษร ( TextMode)
ระบบปฏิบัติการ  DOS    มีข้อเสียคือ  ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก  เพราะผู้ใช้ต้องจำและพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน  ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985   บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาซอฟต์แวร์  Microsoft  Windows  Version 1.0  และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึง  Version  Microsoft  Windows 3.11  ในปี ค.ศ. 1990   ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นกราฟฟิกเรียกว่า  Graphic  User  Interface (GUI)  ทำหน้าที่แทนดอส   ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก  ทำให้  Microsoft  Windows  3.11  ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์   คุณสมบัติเด่นของ  Windows  3.11  คือทำงานในกราฟิกโหมด  เป็น  Multi – Tacking  และ   Generic  OS  แต่ยังคงทำงานในลักษณะ  Single – User  OS  แต่ก็ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอสทำการบูตเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน
            4.  ระบบปฏิบัติการ  Windows  ME
            Windows  ME (Windows  Millennium  Edition)  เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ  98   ซึ่งออกแบบให้เหมาะกับผู้ใช้ตามบ้าน  เป็นระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย  ฉลาด  และเข้าใจผู้ใช้มากกว่า  ลักษณะหน้าตาจะมีรูปลักษณ์เหมือนวินโดวส์  98  มาก  แต่มันมีคุณลักษณะพิเศษที่เหนือกว่าเดิมมากเช่นสามารถสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านได้   นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดียมากกว่าวินโดวส์  98  อีกด้วย
            5.  ระบบปฏิบัติการ  Windows  2000
windows 2000  เป็นระบบปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองระบบเครือข่ายและเป็น OS ที่
สร้างขึ้นมาเป็น GUI ตั้งแต่ต้น ดังนั้นการนำ Application เดิมๆ ที่เคยใช้กับระบบปฏิบัติการดอส
หรือ โปรแกรมที่สั่งงานฮาร์ดแวร์โดยตรงมาใช้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์2000 อาจไม่ยอมทำงานให้
แต่การทำงานระบบ Multi – Tasking  และ Multi – User  ใช้งานได้ดีกว่าตระกูล  วินโดวส์  95  และ  98  โดยทำการควบคุมขบวนการทำงานของแต่ละโปรแกรมได้ดีขึ้น
            6.  ระบบปฏิบัติการวินโดวส์  XP
            เป็นระบบปฏิบัติการที่เริ่มวางตลาดในปี  ค.ศ. 2001  โดยตั้งชื่อให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า  Microsoft  Windows  XP   โดยคำว่า   XP   ย่อมาจาก   experience   แปลว่ามีประสบการณ์   โดยบริษทผู้สร้างกล่าวว่าการจตั้งชื่อมีสาเหตุมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ  จากการใช้  Windows  XP  ทุก ๆ  ประมาณ  2  ปี   บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ  โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย  และเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า  เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ  Windows  XP  มีจุดเด่นและความสามารถมากมายไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงามและง่ายเกินกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่น  ระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์  ติดตั้งเครือข่าย  และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย  การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่แถมมาให้หลายโปรแกรม  เช่น  โปรแกรมดูหนังฟังเพลง ( Windows  Media  Player 8 )   โปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต ( Internet  Explorer 6 )   เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง
            Windows  XP  มีให้เลือกใช้สองรุ่น คือ  Windows  XP Home  Edition  เหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายและอีกรุ่นคือ  Windows XP Professional  Edition   ซึ่งเหมาะกับผุ้ใช้งานในองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่  เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี  คนที่ใช้วินโดวส์เวอรชั่น  XP  จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก  เช่น  ซีดียูเพนเทียม 300 MHz  ขึ้นไป  แรมไม่ต่ำกว่า  128  MB  ฮาร์ดดิสก์เหลือพื้นที่ว่างมากกว่า  1.5  GB  เป็นต้น
            7.  ระบบปฏิบัติการ  Windows  NT
            เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการเครือข่ายในระยะใกล้  (LAN:Local  Area Network)  โดยจัดากรด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายได้เป็นอย่างดี  ในระบบเครือข่ายจะมีผู้ใช้งานหลายคน  วินโดวส์ NT จะทำการจัดทรัพยากรของระบบให้มีการใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  รวมถึงการติดต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

            8.  ระบบปฏิบัติการปาล์ม 
            มีจุดกำเนิดบนเครื่องคอมพิวเตอรร์มือถือ  ที่มีความต้องการทรัพยากรต่ำ  มีความสามารถไม่สูงมากนัก  แต่มีความสะดวกในการใช้งาน  คล่องตัว และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องได้  มีโปรแกรมใช้งานแบบเบ็ดเสร็จในตัวรองรับการ  Plug  in  Module  ต่าง ๆ ได้พอสมควร
            9.  ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ 
            เป็นระบบปฏิบัติการที่เคยพัฒนาในห้องเล็บ  Bell สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมใช้ในการควบคุมการทำงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก  ระบบยูนิกซ์จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลเข่น  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถนำยูนิกซ์มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้  ปัจจุบันได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากสองค่ายคือ  AT&T  และ  BSD  และคาดว่ายูนิกซ์จะเป็นที่นิยมต่อไป
            ลักษณะการทำงาน จะติดต่อกับผู้ใช้โดยการพิมพ์คำสั่งลงบนเครื่องหมาย Prompt Sign  แต่ในปัจจุบันสามารถจำลองจอภาพการทำงานยูนิกซ์ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวินโดวส์ได้แล้ว  ทำให้สามารถทำงานติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น  คุณสมบัติพิเศษของยูนิกส์คือเรื่องของการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  รวมทั้งมีความสามารถสูงในด้านการติดต่อสื่อสารระยะไกลระหว่างคอมพิวเตอร์   ดังนั้นก่อนที่ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์ได้จะต้องทำการพิมพ์  Login  Name :  หรือชื่อผู้ใช้ (User  Name)  และรหัสผ่าน (Password)  เมื่อเข้าสู่ระบบ  โดยผู้บริหารระบบจะเป็นผู้กำหนดให้ User  Name และ  Password   แก่ผู้ใช้แต่ละคนเพื่อควบคุมการใช้งานและการรักษาความปลอดภัย
            10.  ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ 
            เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูงในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงานมาจากยูนิกซ์  แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่าเพราะว่าเป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Open  Source)  ผู้นำไปใช้งานสามารถที่จะพัฒนาและปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหาระหว่างใช้งานได้ทันที  และยังสามารถปรับให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่ใช้  เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบมากที่สุด  และมีการเพิ่มสมรรถนะ (Update)  ในทุก ๆ  ส่วนของซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลา  มีบริษัทเอกชนและกลุ่มผู้สนใจร่วมมือกันพัฒนาแอพลิเคชั้นที่ใช้งานบนลีนุกซ์เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด
            การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรืออินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์  สามารถใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ติดตั้งลงในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันทั่วไป  สาเหตุเพราะว่าลีนุกซ์ใช้ทรัพยากรน้อย  และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี  มีปัญหาระหว่างการใช้งานน้อย  ถ้าผู้ดูแลระบบสามารถที่จะควบคุมดูแลการทำงานและมีการบำรุงรักษาตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องได้
            11.  ระบบปฏิบัติการ  Windows  CE
            เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กหรือรุ่นย่อส่วน   สำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้   แต่ยังคงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายวินโดวส์รุ่นใหญ่ ๆ เหมือนกันเพื่อตอบสนองการใช้งานที่คุ้นเคยกับรุ่นใหญ่  จึงนิยมใช้ในเครือ  Pocket  PC   ที่สามารถถ่ายโอนงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปกิบัติการวินโดวส์ได้ดีพอสมควร
            12. ระบบปฏิบัติการ  Mac
            เป็นระบบปฏิบัคติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกุล  Macintosh  ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยระบบ  Graphic  User  Interface  ตั้งแต่เริ่มต้นสารมารุทำงานกราฟิกได้  ในช่วงเวลาที่เครื่อง  IBMPC  ยังเป็นโหมดตัวอักษร  ดังนั้นเครื่องตระกูลนี้ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มงานพิมพ์  ตามโรงพิมพ์ต่าง ๆ
            13.  ระบบปฏิบัติการ  Solaris
            เป็นระบบปกิบัติการที่ใช้กับเครื่อง  SUN  เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์  สายพันธุ์หนึ่งที่มีคนนิยมใช้มากในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร  และปัจจุบันมีรุ่นที่ใช้สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลอินเทลจำหน่ายด้วย
            14.  ระบบปฏิบัติการ  Firmware
            เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน  โดยส่วนใหญ่มักจะทำเป็นเครื่องที่สำเร็จมาแล้วเช่น  Router  Modem  Printer  Firmware  จะถูกบรรจุอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น