เมื่อเริ่มต้นโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลจะแสดงสมุดงาน(Workbook) โดยแสดงสมุดงานที่เรียกว่า Book1 ถ้าผู้ใช้เรียกใช้สมุดงานใหม่ก็จะมีชื่อว่า Book2 และสามารถเรียกสมุดงานพร้อมๆ กันได้มากกว่า 1 เล่ม
ส่วนต่างๆ บนจอภาพมีดังนี้
1. ปุ่มออฟฟิศ ทำงานคล้ายกับเมนู แฟ้ม ในเวอร์ชัน 2003 ซึ่งเป็นที่รวบรวมคำสั่งเกี่ยวกับเอกสาร เช่น สร้าง เปิด บันทึก เป็นต้น
2. เซลล์ที่กำลังถูกเลือกทำงาน (active cell) ในเอ็กเซล จะมีช่องสำหรับในข้อมูลจำนวนมากเรียกว่าเซลล์ สำหรับช่องที่มีกรอกทึบล้อมรอบเราจะเรียกว่า active cell ซึ่งชื่อเซล์มาจากตัวอักษรของคอลัมน์กับหมายเลขของแถว เช่น คอลัมน์ A แถวที่ 1 จะเรียนเซลล์นั้นว่า A1
3. ปุ่มคำสั่งด่วน มีหน้าที่คล้ายกับปุ่มออฟฟิศ แต่จะจัดแสดงคำสั่งในลักษณะไอคอนซึ่งเราสามารถจะลดหรือเพิ่มคำสั่งที่จะให้แสดงได้
4. กล่องชื่อ ใช้บอกตำแหน่งของเซลล์ที่เรากำลังเลือกอยู่(active cell) เช่น A1 ซึ่งเส้นรอบเซลล์จะเป็นเส้นทึบ
5. แถบสูตร (Formula bar) เป็นพื้นที่บนจอภาพที่แสดงข้อความ ตัวเลขหรือสูตรต่างๆ
6. คอลัมน์ เป็นช่องของเซลล์ในแนวตั้งของหน้ากระดาษ ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ของภาษาอังกฤษเป็นการกำหนดชื่อคอลัมน์โดยเริ่มตั้งแต่คอลัมน์ A ไปจนถึง XFD
7. แท็บเครื่องมือริบบอน มีหน้าที่คล้ายกับเมนูในเวอร์ชัน 2003 เพียงแต่จัดใหม่ให้เป็นรูปแบบไอคอนคำสั่งแทนโดยมีทั้งหมด 7 แท็บ
8. แถบชื่อเรื่อง (Title bar) อยู่ส่วนบนสุดของจอภาพ โดยทั่วไปจะแสดงชื่อโปรแกรม หรือ ชื่อแฟ้มข้อมูล และจะมีปุ่มย่อขนาดของหน้าต่าง ปุ่มขยายขนาดหน้าต่าง และปุ่มปิดสมุดงานด้วย
9. แถว เป็นช่องของเซลล์ในแนวนอนของหน้ากระดาษใช้หมายเลขเป็นการกำหนดชื่อของแถวโดยเริ่มตั้งแต่แถวที่ 1 ไปจนถึง 1048576
10. ลำดับแผ่นงาน แสดงลำดับของแผ่นงานที่ถูกเปิดใช้ในไฟล์นี้โดยโปรแกรจะเริ่มสร้างมาให้ในตอนแรก 3 แผ่นงาน ซึ่งเราสามารถลบ เพิ่ม หรือเปลี่ยนชื่อแผ่นงานตามต้องการได้
11. แถบสถานะ เป็นแถบที่ใช้ควบคุมการแสดงผลของโปรแกรม เช่น การ ย่อและขยายสมุดงาน เป็นต้น ซึ่งรายการในแถบสถานะนี้สามารถเพิ่มหรือลดได้อย่างอิสระโดยการคลิกเมาส์ขวา ลงบนแถบสถานะแล้วเลือกรายการที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น