วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การสอนแบบทำงานร่วมกัน

วิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leaning )

             ความหมาย เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือ กันในชั้นเรียน ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกัน สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เรียนทุกคน นอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย เพราะใน ชั้นเรียนมีความร่วมมือ ผู้เรียนจะได้ฟัง เขียน อ่าน ทวนความ อธิบาย และปฏิสัมพันธ์ ผู้เรียน จะเรียนด้วยการลงมือกระทำ ผู้เรียนที่มีจุดบกพร่องจะได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม
             ความมุ่งหมายของการสอน ความมุ่งหมายของการเรียนแบบทำงาน รับผิดชอบ ร่วมกัน คือ การให้สมาชิกทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม โดยยังคงรักษา สัมพันธภาพที่ดีต่อสมาชิกกลุ่ม ในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมนั้น จุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้ สำเร็จเท่านั้น
ขั้นตอนการสอนมี 5 ชั้น ดังนี้
             1. แนะนำ ด้วยการบอกว่าชั้นเรียนแบ่งเป็นกี่กลุ่ม กลุ่มละกี่คน สมาชิกแต่ละคน ต้องรับผิดชอบที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่กลุ่มได้รับให้ได้มากที่สุด แต่ละกลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญใน หัวข้อนั้น มีหน้าที่จะสอนกลุ่มอื่น ๆ ดัวย ทุกคนจะได้รับเกรดรายบุคคล และเป็นกลุ่ม
             2. แบ่งกลุ่มให้คละกัน แล้วให้กลุ่มตั้งชื่อกลุ่ม เขียนชื่อกลุ่ม และสมาชิกบนป้าย นิเทศ ผู้สอนแจ้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติระหว่างการประชุมกลุ่ม
             ก. ห้ามคนใดออกจากกลุ่มก่อนที่จะเสร็จงานกลุ่ม
             ข. แต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบที่จะให้สมาชิกทุกคนเข้าใจและทำงานให้ เสร็จสมบูรณ์
             ค. ถ้าผู้เรียนคนใดไม่เข้าใจเรื่องใด ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม ก่อนที่จะถามผู้สอน
             3. สร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้สอนแจกเอกสารหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งภายในบรรจุด้วย เนื้อหา ถ้ามีกลุ่ม 6 กลุ่ม ผู้สอนต้องเตรียมเอกสาร 6 ชุด ผู้เรียนที่ได้รับหัวข้อเดียวกันจะศึกษา เรื่องนั้นด้วยกัน เมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว ก็เตรียมตัววางแผนกการสอนเพื่อกลับไปสอนสมาชิกใน กลุ่มเดิมของตน
             4. ผู้เชี่ยวชาญสอนเพื่อนในกลุ่ม ทุกคนจะผลัดกันสอนเรื่องที่ไปศึกษามา ตรวจสอบความเข้าใจ และช่วยเพื่อนสมาชิกในการเรียน
             5. ประเมินผลและให้คะแนนแต่ละคน ผู้สอนทำการทดสอบเพื่อดูว่าต้องสอน เพิ่มเติมหรือไม่ให้เกรด และคิดคะแนนกลุ่ม

วิธีการสอนแบบโครงงาน

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
       การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่มเป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจ อยากรู้ อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่ง ความรู้เบื้อง สามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง      การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับหลักการพัฒนาการคิดของ บลูม (Boom) ดังนี้
      1. ความรู้ความจำ
      2. ความเข้าใจ
      3. การนำไปใช้
      4. การวิเคราะห์
      5. การสังเคราะห์
      6. การประเมินค่า
         การเรียนรู้แบบโครงงาน และยังเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการ เรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้  การสร้างสรรค์
       กระบวนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
       ระยะที่ 1 การเริ่มต้นโครงงาน เป็นระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต/สร้างความสนใจ ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เลือกเรื่องที่จะศึกษาร่วมกัน
       ระยะที่ 2 การพัฒนาโครงงาน เป็นขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหา แล้วตั้งสมมุติฐานเพื่อตอบคำถามเหล่านั้น
       ระยะที่ 3 ขั้นสรุป เป็นระยะที่ผู้สอน และผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์ การทำงานและแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จมีกิจกรรมที่ผู้เรียนดำเนินการ ดังนี้
               1. ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็กๆ
               2. ผู้เรียน นำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผงโครงงาน) ให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้ สรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
         ขั้นตอน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
               1. ขั้นนำเสนอ
               2. ขั้นวางแผน
               3. ขั้นปฏิบัติ
               4. ขั้นประเมินผล


ขอขอบคุณข้อมูลจาก:    เรียบเรียงจาก หนังสือ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ /ปีที่พิมพ์ 2550    

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การหาค่าวันเดือนปี เรียนใน Excel เจ้า

1.  การกำหนดวันเดือนปีและเวลาปัจจุบันใช้สูตร =now()
     การหาปี ค.ศ. ปัจจุบัน
ฟังก์ชั่น TODAY() บอก วันเดือน ปี ปัจจุบัน เป็น ระบบ ค.ศ.
ฟังก์ชั่น YEAR() รับค่า วันเดือนปี และ ส่งค่าเฉพาะ ปี ออกมาให้
ดังนั้น ถ้าส่งค่า TODAY() เข้าสู่ฟังก์ชั่น YEAR ก็จะได้ ปี ค.ศ. ปัจจุบัน ดังนี้
=YEAR(TODAY())  
2. การหาปีเกิด ของสมาชิก เป็นปี ค.ศ.
ส่งค่า วัน เดือน ปี เกิดของสมาชิก ซึ่งจากตัวอย่าง อยู่ในช่อง C2 เข้าฟังก์ชั่น YEAR() เพื่อ คำนวณหาปีเกิด ดังนี้
YEAR(C2)
แต่เนื่องจาก ค่าที่ได้คือ ค.ศ. 2525 จึงต้องลบออกเสีย 542 ปี เพื่อให้ถูกต้อง จึงเป็น
YEAR(C2)-543
3. การคำนวณหาอายุ
นำค่าที่ได้จาก 2 ไปลบออกจาก 1 ก็จะได้ จำนวนปีของสมาชิกรายนี้
วิธีการ
1. คลิกที่ช่อง D2 ซึ่งจะบอกจำนวนปี
2. พิมพ์ สูตรเพื่อคำนวณหาอายุ ในช่อง Formula Bar ดังนี้ พิมพ์วันเดือนปีเกิดC3 และพิมพ์สูตรที่ D3    =YEAR(TODAY())-(YEAR(C3)-543)
   คลิกขวาที่D3คลิกจัดรูปแบบเซลล์>ตัวเลข  (Number)>ทั่วไป (Genernal)
4. การหาส่วนต่าง ระหว่างเวลา ก็คือ  DateDif( วันเริ่ม , วันสุดท้าย , ประเภทของช่วงเวลาที่ต้องการ )
ให้ B2 เป็นวันเริ่มต้น   แล้ว  C2   เป็นวันสุดท้ายสังเกตประเภทของช่วงเวลาที่เราต้องการหาจะเปลี่ยนไป
1. หาจำนวนปี    =DATEDIF(B2,C2,"Y")
2. หาจำนวนเดือน   =DATEDIF(B2,C2,"YM")
3. หาจำนวนวัน    =DATEDIF(B2,C2,"MD")

การอ้างอิงสูตร สำหรับเรียน EXCEL เน้อ

การอ้างอิงเซลล์หรืองช่วงเซลล์ในสูตร
                การคำนวณโดยการอ้างอิงเซลล์  หรือช่วงเซลล์ที่กำหนด จะทำให้เกิดความรวดเร็วในการคำนวณ เนื่องจากไม่ต้องแก้ไขสูตรทุกครั้ง เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงค่าคงที่อยู่ในเซลล์ โปรแกรมจะคำนวณอัตโนมัติ การเขียนสูตรโดยการใช้ตำแหน่งอ้างอิงของเซลล์จะดีกว่าการใช้ข้อมูลที่อยู่ในแต่ละเซลล์โดยตรง เพราะเมื่อค่าที่เป็นตัวตั้งในสูตรเปลี่ยนไป ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณจะเปลี่ยนตามโดยอัตโนมัติ
 .   อ้างอิงแบบสัมพัทธ์ (Relative) หมายความว่า เซลล์ใด ที่มีการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ เมื่อถูกสำเนาไปยังเซลล์ใหม่ เซลล์ที่ถูกอ้างอิงในสูตรจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ในเซลล์ C1  กำหนดสูตร =A1+B1  ถ้าทำสำเนาสูตรจาก C1 ไป C2 ได้สูตร =A2+B2  ถ้าไปไว้ที่ D1 จะได้สูตร =B1+C1  ตัวอย่าง
             
การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์(Absolute) หมายความว่าเซลล์ใดที่มีการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ เมื่อถูกสำเนาไปยังเซลล์ใหม่ เซลล์ที่ถูกอ้างงอิงในสูตรแบบสัมบูรณ์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตังอย่าง ในเซลล์ B4 กำหนดสูตร =$B$2+$C$3 ถ้าทำการสำเนาสูตร =$B$2+$C$3  จากเซลล์ B4 ไปยังเซลล์ C5 สูตรใน C5 เหมือนเดิม ตัวอย่าง
 การอ้างอิงแบบผสม (Mixed) หมายถึงการระบุชื่อเซลล์ในสูตรสามารถระบุแบบผสมระหว่างแบบสัมพัทธ์ และแบบสัมบูรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น ในเซลล์ D3 กำหนดสูตร =C$3 ความหมายว่า ไม่ว่าจะคัดลอกสูตรในเซลล์ D3 ไปไว้ที่ใดในแผ่นงานแถวยังเป็นแถวที่ 3 แต่คอลัมน์จะเปลี่ยนไปและถ้าในเซลล์ D3 กำหนดสูตร =$C3 หมายความว่า ไม่ว่าจะคัดลอกเซลล์ D3 ไปไว้ที่ใดในแผ่นงานคอลัมน์ยังคงเป็น C  แต่ตัวเลขแถวจะเปลี่ยนไป
การเปลี่ยนชนิดของการอ้างอิง
ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชนิดของการอ้างอิง สามารถทำได้โดย
     วิธีที่ 1
1.       เลือกเซลล์ที่ต้องการเปลี่ยนการอ้างอิง
2.       พิมพ์เปลี่ยนการอ้างอิงที่แถบของสูตรตามที่ต้องการ
3.       กด Enter
     วิธีที่  2
1.      เลือกเซลล์ที่ต้องการเปลี่ยนการอ้างอิง
2.    กดปุ่ม F2 เพื่อขอแก้ไขสูตร และกดปุ่ม F4  จะปรากฏชนิดของการอ้างอิงแต่ละชนิดตามที่ต้องการ โดยจะมีรูปแบบของการใส่เครื่อง $ กำกับเซลล์
3.       กด Enter เมื่อเลือกชนิดตามที่ต้องการได้แล้ว
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใส่สูตร
      1.       สูตรที่ใส่ในเซลล์จะปรากฏให้เห็นในช่องของแถบสูตร
2.
       ค่าที่เป็นผลลัพธ์ของสูตรจะปรากฏอยู่ในเซลล์สำหรับเก็บผลลัพธ์
3.
       ค่าที่ใส่ในสูตรถ้าเป็นชื่อเซลล์จะหมายถึงการนำค่าที่อยู่ในเซลล์นั้นมาคำนวณ

การป้อนสูตรใน EXCEL

การป้อนสูตรในการคำนวณ
1.      คลิกเมาส์เลือกเซลล์ที่จะป้อนสูตรคำนวณหาผลรวม
2.    พิมพ์เครื่องหมาย = ตามด้วยตำแหน่งของเซลล์ที่ต้องการนำมาคำนวณหาผลรวม เช่น =D4+D5+D6+D7+D8
3.       กด Enter เมื่อเขียนสูตรเสร็จ ถ้าพิมพ์สูตรผิด Excel ไม่สามารถคำนวณได้ จะแสดง ERR! ในเซลล์ที่ใช้สูตรคำนวณนั้น
การป้อนสูตรคำนวณในแถบสูตร  คลิกที่เซลล์ต้องการป้อนสูตร พิมพ์สูตรคำนวณในแถบสูตรกด Enter
การป้อนสูตรคำนวณโดยใช้เมาส์ช่วย
                  1.คลิกเมาส์ที่เซลล์ต้องการป้อนสูตรคำนวณและพิมพ์เครื่องหมาย =
                 2.
  นำเมาส์คลิกเซลล์ใช้คำนวณ
                 3.
พิมพ์เครื่องหมาย + คลิกเซลล์ที่ใช้บวกต่อไปพิมพ์เครื่องหมาย + คลิกเซลล์ที่ใช้
                 4.กด Enter
               
สรุปการป้อนสูตรในการคำนวณ          
     1.  ถ้าค่าที่คำนวณเป็นตัวเลขเกิน 10หลัก และรูปแบบตัวเลขเป็นแบบทั่วไป คอมพิวเตอร์จะเขียนให้เป็นเลขยกกำลัง เช่น 8.98 E  + 10107            ถ้าต้องการให้แสดงเป็นตัวเลขปกติต้องเปลี่ยนรูปแบบเซลล์เป็นแบบตัวเลข
     2.  ถ้านำข้อมูลต่างประเภทกันมาคำนวณ คอมพิวเตอร์จะแจ้งข้อความว่าผิอดพลาดเป็น # VALUE
     3.  ข้อมูลประเภทตัวอักษรในแต่ละเซลล์นำมาเชื่อมกันได้โดยใช้เครื่องหมาย &
     4.  ถ้าใช้สัญลักษณ์ในการคำนวณที่คอมพิวเตอร์ไม่รู้จักจะแจ้งการผิดพลาดเป็น #NAME     ถ้าอ้างอิงไม่ถูกต้อง #REF!      
     5.  การเปรียบเทียบค่าระหว่างเซลล์  คอมพิวเตอร์จะแจ้งว่า จริง (True) หรือไม่จริง (False)
เท่านั้น

เริ่มเรียน EXCEL 2

การใช้สูตรในการคำนวณ 
                โปรแกรม Microsoft Excel 2007   เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการคำนวณ โดยมีเครื่องมือให้ใช้มากมาย ทั้งในรูปของสูตรหรือฟังก์ชันสามารถใช้ในรูปแบบอัตโนมัติ หรือสามารถกำหนดให้ด้วยตนเอง โดยที่สูตรเราจะหมายถึงการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ  เชื่อมข้อความและการอ้างอิง เช่น การบวก ลบ คูณ หาร  เป็นต้น ส่วนฟังก์ชัน เราจะหมายถึง คำสั่งสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณ เช่น  Sum Average Min Max ฯลฯ
   ชนิดของสูตร
                      โปรแกรม Microsoft Excel 2003 แบ่งชนิดของสูตรออกเป็น 4 ชนิด คือ
1.      สูตรในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Formula)
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่างสูตร
+
บวก
=40 + 10  จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 50
-
ลบ
= 40 – 10  จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ  30
*
คูณ
=40*2        จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ  80
/
หาร
=  40/2       จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ   20
%
เปอร์เซ็นต์
=  40%       จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ  0.4
^
ยกกำลัง
=40^2        จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1600
2.      สูตรในการเปรียบเทียบ (Comparision Formula)
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่างสูตร
=
เท่ากับ
= 40=30   จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ False
>
มากกว่า
=40>30    จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ  True
<
น้อยกว่า
=40<30     จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ False
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ
=40>=30   จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ True
<=
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
=40<=30   จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ False
< >
ไม่เท่ากับ
40< >40    จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ False
3.เครื่องหมายในการเชื่อมข้อความสองข้อความหรือมากกว่านั้น (Text Formula)
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่างสูตร
&
เชื่อมหรือนำคำสองคำมาต่อกันให้เกิดค่า ข้อความต่อเนื่องที่เป็นค่าเดียวกัน
=STORY&BOARD จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ  STORYBOARD
  4.    สูตรในการอ้างอิง (Text Formula)
เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่างสูตร
: (Colon)
เว้นวรรค (Insection)
, (Comma)
บอกช่วงของข้อมูล
กำหนดพื้นที่ทับกัน 2 ช่วงเอาข้อมูลทั้ง 2 ช่วงมาเชื่อมต่อกัน
=(B1:B5)
=SUM(B1:C1 D1:E5)
=Sum(C1:C5,D7:D8)
ขั้นตอนการคำนวณด้วยตาราง
    1.  
การกำหนดเซลล์สำหรับเก็บผลลัพธ์โดยการเลื่อนตัวชี้เซลล์นั้นแล้วคลิก
        
2.  ใส่สูตรเข้าในเซลล์สำหรับเก็บผลลัพธ์สูตรจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย =             
ลำดับความสำคัญของเครื่องหมายการคำนวณ
ลำดับ
เครื่องหมาย
รายละเอียด
1
(  )
วงเล็บ
2
^
ยกกำลัง
3
* และ /
คูณและหาร
4
+  และ  -
บวกและลบ
5
&
ตัวเชื่อม
6
=,<,<=
เท่ากับ น้อยกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากับ
7
> ,>=, < >
มากกว่า มากกว่าหรือเท่ากับ  ไม่เท่ากับ
หมายเหตุ   การทำงานที่อยู่ในระดับเดียวกัน จะคำนวณจากซ้ายไปขวาตามลำดับ
ตัวอย่างการคำนวณ
 
รูปภาพปสดงตัวอย่าง การใช้สูตรในการคำนวณ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใส่สูตร
          1.  สูตรที่ใส่ในเซลล์จะปรากฏให้เห็นในแถบสูตร
                 
  2.  ค่าที่เป็นผลลัพธ์ของสูตรจะปรากฏในเซลล์สำหรับเก็บผลลัพธ์
                    
3.  กรณีที่มีนิพจน์หลายเครื่องหมายจะทำงานตามลำดับเครื่องหมาย 

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบประเมิน เน้อ ตอนประเมินการนำเสนองาน

กล่องข้อความ: 3000-0001
x
รหัสวิชาชิดมุมขวา

                                                              
โลโก้  วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่
ตราวิทยาลัย เน้อ
แบบประเมินผลการนำเสนองาน
ชื่องาน                : การนำเสนองาน เรื่อง ............................................................................................................................................
วันที่                   : วันที่............เดือน..................ปี.............   เวลา....................... น.
สถานที่               : ............................................................................................................................................................................
กรุณาเขียนเครื่องหมาย (  P )   และแสดงความคิดเห็นลงในช่องว่างเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป
ระดับคะแนน        5 = ดีมาก         4 = ดี         3 = พอใช้            2 = น้อย         1 = น้อยมาก        0 = ไม่มีความคิดเห็น

(1) ความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรเนื้อหาการนำเสนองาน                                  5          4         3           2        1          0












ก. ก่อนเข้าฟังบรรยาย  
ข. หลังเข้าฟังบรรยาย                                                              
(2) ความเหมาะสมของการนำเสนองาน                                                                                                                                    


















ก. เนื้อหาของการนำเสนองานมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
ข. เอกสารประกอบการนำเสนองานมีเนื้อหาครบถ้วนชัดเจน
ค. ความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนองาน
(3) วิทยากร                                                                                           
























ก. ความรอบรู้ในหัวข้อที่จัดนำเสนองาน
ข. ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหา
ค. การใช้สื่อประกอบการนำเสนองาน
ง. การเตรียมตัว
(4) การบริการ สถานที่                                                                        


















ก. ความสะดวกในการติดต่อประสานงานในการนำเสนองาน
ข. การอำนวยความสะดวกระหว่างการนำเสนองาน
ค. ความพึงพอใจในสถานที่/อาหาร/ห้องนำเสนองาน
                                                                                                      




































(5) การนำความรู้จากการนำเสนองานไปใช้     
(6) การใช้เทคนิคของ PowerPoint ในการนำเสนองาน
ก. ภาพพื้นหลัง
ข. การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง
ค. เนื้อหาในสไลด์
ค. เอกสารประกอบการบรรยาย

(7) ความรู้ที่สามารถนำไปใช้……………………………………………………………………………………………………………………………………………...
(8) การนำความรู้ในการบรรยายไปใช้ในงานวิชาชีพ ……………………………………………………………………………………………………........
(9) ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………..……………………………………………………………….................………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

โดยภาพรวม ท่านพอใจกับการบรรยายครั้งนี้ มากน้อยเพียงใด
                                                             £ ดีมาก    £ดี        £ พอใช้     £ น้อย      £ น้อยมาก
   
 ด้วยความขอบคุณยิ่งจาก ผู้บรรยายเรื่อง ………………………………………..  
ผู้ประเมิน ชื่อ ........................................................................................
                                                                                                                                                                                                                                                    
                                                                                                                                   ชุดที่ ………………..