วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของโปรแกรมประมวลผลคำ

ความหมายของโปรแกรมประมวลผลคำ
           โปรแกรมประมวลผลคำ Word Processing ปัจจุบันนิยมใช้ Microsoft Word ของค่าย Microsoft Office ซึ่่งเป็นโปรแกรมที่มีเรื่องของลิขสิทธิ์มาเกี่ยวข้อง (ฉะนั้นควรใช้ให้ถูกกฏหมายลิขสิทธิ์)  สำหรับค่าย Open Source (1) ใช้ Writer


คุณสมบัติโดยทั่วไปของโปรแกรมประมวลคำ


คุณสมบัติทั่วไปของโปรแกรมประมวลผลคำ ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติที่ช่วยให้สามารถใช้งานได้ง่ายกว่าเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา คุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ของโปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่จะประกอบด้วยเครื่องมือช่วยในการพิมพ์ เครื่องมือช่วยในการแก้ไขข้อมูลการควบคุมการแสดงตัวอักษรและการจัดรูปแบบหน้าเอกสาร การทำจดหมายเวียนและจ่าหน้าซองจดหมาย 
เครื่องมือช่วยในการพิมพ์ของโปรแกรมประมวลผลคำนั้น ช่วยให้ผู้ใช้งาน พิมพ์ข้อความได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยคุณสมบัติที่เรียกว่า การม้วนคำ (Word Wrap) ที่ช่วยแยกข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ เมื่อจบคำในแต่ละบรรทัดพอดีผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความโดยไม่ต้องกังวลว่าข้อความจะยาวกว่าเส้นขอบขวาของบรรทัดที่กำหนดไว้ เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จเรียบร้อยก็สามารถบันทึกเก็บไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีชื่งแฟ้มข้อมูลกำกับ โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ซ้ำใหม่ทั้งหมด
เครื่องมือช่วยในการแก้ไขข้อมูลของโปรแกรมประมวลผลคำ เช่น การพิมพ์เพิ่มเติมที่เรียกว่า การแทรก (Insert) โดยโปรแกรมจะทำการร่นคำที่มีอยู่เดิมนั้น ให้เลื่อนไปทางขวามือเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับคำใหม่ หรือการเขียนทับ (Overwrite) ด้วยการพิมพ์ข้อความใหม่ที่ถูกลงไปทับแทนคำ หรือข้อความเดิมที่ผิด โดยไม่จำเป็นต้องลบคำเดิมออกก่อน และยังมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาและแทนที่คำ เพื่อช่วยให้สามารถไขคำต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ด้วยการไม่ต้องพิมพ์คำที่ผิดเหมือนกันใหม่ทุกครั้ง  โปรแกรทก็จะทำการค้นหาและแทนที่ให้อย่างอัตโนมัติ และครบทุกคำ
การควบคุมการแสดงตัวอักษรและการจัดรูปแบบหน้าเอกสารนั้น  โปรแกรมประมวลผลคำส่วนใหญ่จะมีความสามารถในการจัดตัวอักษรและย่อหน้าได้อย่างสวยงาม  อีกทั้งกำหนดขนาดและรูปแบบตัวอักษรได้หลายแบบและยังมีชุดตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความพอใจและตามความเหมาะสมของเอกสาร ส่วนการจัดหน้าเอกสารนั้น โปรแกรมประมวลผลคำสามารถควบคุมการจัดวางหน้าใหม่โดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการแก้ไขเอกสาร เช่นการกำหนดให้ข้อความในบรรทัดเริ่มที่เส้นขอบซ้ายตรงกันหรือกำหนดให้ข้อความอยู่ตรงกลางของบรรทัด เป็นต้น
เครื่องมือช่วยในการทำจดหมายเวียนและจ่าหน้าซองจดหมาย   เครื่องมือนี้จะช่วยสร้างจดหมายหลักไว้หนึ่งฉบับ  พร้อมทั้งกำหนดตำแหน่งที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูล และสร้างแฟ้มข้อมูลสำหรับบันทึกชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ เมื่อสั่งพิมพ์จดหมายเวียนนั้นหรือจ่าหน้าซองจดหมาย โปรแกรมจะนำข้อมูลมาใส่ในตำแหน่ง  ที่กำหนดไว้ให้อย่างอัตโนมัติจนครบทุกคน
ในปัจจุบัน โปรแกรมประมวลผลคำมีการพัฒนาไปอย่างมาก คือ มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการพิมพ์ หรือสร่างเอกสารเป็นพิเศษ เช่น งานสร้างตาราง การจัดแบ่งข้อความเป็นคอลัมน์ การตรวจสอบตัวสะกด การตรวจสอบไวยากรณ์ การแทรกรูปภาพลงในเอกสาร การใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ และความสามารถในการสร้างเว็บเพจ ดังนั้น โปรแกรมประมวลผลคำจึงถูกนำมาใช้แทนการใช้เครื่องพิมพ์ดีด และสามารถใช้วานเสมือนโรงพิมพ์ตั้งโต๊ะ

ประโยชน์ของโปรแกรมประมวลผลคำ
ประโยชน์ของโปรแกรมประมวลผลคำ
           โปรแกรมประมวลผลคำเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อ ใช้พิมพ์ข้อความสำหรับงานพิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์มีข้อดีกว่าการใช้เครื่องพิมพ์ดีด คือ
1.            ระบบคอมพิวเตอร์มีหน้าจอที่ช่วยให้สามารถมองเห็นข้อความที่พิมพ์ หากมีข้อผิดพลาดก็สามารถมองเห็นข้อผิดพลาด และสามารถแก้ไขก่อนการพิมพ์จริงบนกระดาษด้วยเครื่องพิมพ์
2.            ข้อวามที่พิมพ์แล้วสามารถบันทึงในไฟล์ข้อมูล และจัดเก็บในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถเรียกข้อมูลงานเอกสารเดิมกลับมาแก้ไข แล้วพิมพ์ซ้ำใหม่ได้ เช่น ตัวอุปกรณ์ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในปัจจุบัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ แผ่นซีดี แฟลชไดรว์
3.            สามารถกำหนดรูปแบบตัวอักษร และงานพิมพ์เป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
4.            สามารถป้อนข้อมูลงานเอกสาร ได้เร็วขึ้น
5.            มีคำสั่งที่ใช้ตรวจทานความถูกต้องของตัวสะกด และงานพิมพ์ ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แก้หรือพิมพ์ซ้ำ
6.            มีระบบการค้นหาและแทนที่คำ เพื่อทำการแก้ไขข้อความและคำได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดเวลา
7.            รูปแบเอกสารได้รวดเร็ว เนื่องจากมีเครื่องมือที่ช่วยให้การจัดรูปแบบให้สะดวก
8.            ลดการใช้กระดาษได้ 40 % เนื่องจากความกว้างของตัวอักษรจะไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีดที่มีขนาดความกว้างของตัวอักขระเท่ากัน
9.            ช่วยให้การจัดเก็บและค้นหาเอกสารมีความรวดเร็วมากขึ้น เพราะงานเอกสารต่างๆ จะถูกจัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลลงใน สื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ สามารถค้นหาและเรียกใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว 
10.    ช่วยลดปริมาณกระดาษที่จัดเก็บทำให้ประหยัดพื้นที่ในการเก็บเอกสาร เพราะเอกสารจะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่มีขนาดเล็กแต่มีความจุในการเก็บข้อมูล ได้เป็นจำนวนมาก
11.    ช่วยลดขั้นตอนในการจัดทำเอกสาร เช่น ถ้าต้องการส่งจดหมายที่มีข้อความเหมือนกันไปให้ผู้รับจดหมายเป็นจำนวนมากอาจทำได้โดยการจัดทำจดหมายเวียน ซึ่งมีขั้นตอนการทำที่สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งถ้าหากใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็อาจจะต้องเสียเวลาในการจัดทำมาก
12.    ช่วยสร้างเอกสารให้มีความสวยงาม ทั้งนี้เพราะผู้ใช้สามารถนำรูปภาพ รูปวาด ภาพกราฟิกต่าง ๆ มาแทรกลงในเอกสารได้โดยตรง 
13.    ช่วยให้การทำงานกับเอกสารถูกต้องและมีข้อผิดพลาดลดน้อยลง เพราะผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารได้โดยตรงบนหน้าจอจนพอใจจึงจะสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ได้ หรือาจใช้ระบบการตรวจสอบคำผิดแบบอัตโนมัติ ในการตรวจสอบการสะกดคำหรือไวยากรณ์ของภาษาได้ 
14.    ก่อให้เกิดกิจนิสัยรอบครอบ และระมัดระวังในการใช้งานในการพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์

อ้างอิง


ที่เกี่ยวข้อง
http://www.thaiall.com/article/chantra.htm

ที่น่าสนใจ
http://www.gotoknow.org/blog/research-k-tech/228201

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรมจัดการด้านเอกสาร

การใช้งานโปรแกรมจัดการด้านเอกสาร




Microsoft Word




             โปรแกรมประมวลผลคำถูกนำมาใช้ในด้านการจัดการเอกสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ในการพิมพ์เอกสาร ซึ่งจากเดิมที่ใช้การพิมพ์ โดยเครื่องพิมพ์ดีดที่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงดิสก์ เพื่อนำกลับมาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ดัดแปลงแทรกรูปภาพ แทรกตารางหรือการเปลี่ยนขนาดและคุณสมบัติ ของตัวอักษรได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ สามารถจัดการได้เป็นอย่างดีโดยการใช้โปรแกรมจัดการด้านเอกสาร หรือที่นิยมเรียกว่าโปรแกรมประมวลผลคำ(Word Processing)และโปรแกรม ประมวลผลคำ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด(Micro0soft Word) เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดของโปรแกรม Microsoft Office ซึ่งเราจะได้ศึกษาถึงความสามารถของโปรแกรมประมวลผลคำเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆเป็นต้น

1.  ความหมายของโปรแกรมประมวลผลคำ
2.  การเข้าสู่โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
3.  ส่วนประกอบหน้าต่างโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
4.  การสร้างแฟ้มเอกสารใหม่
5.  การพิมพ์ข้อความในเอกสาร
6.  การบันทึกแฟ้มเอกสาร
7.  การออกจากโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
8.  การเปิดแฟ้มเอกสารเดิม
9.  การขอดูตัวอย่างเอกสารก่อนพิมพ์
10.การพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์





ี่

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

5 วิธีถนอมธัมบ์ไดรฟ์สุดรัก

5 วิธีถนอมธัมบ์ไดรฟ์สุดรัก

ใครที่มีธัมบ์ไดรฟ์ตัวใหม่คงอยากจะรู้วิธีที่จะรักษามันไว้นานๆ เราก็เลยนำบทความแนะนำวิธีดูแลธัมบ์ไดรฟ์ที่หาได้จากเว็บไซต์คอมพิวเตอร์ทูเดย์มาให้ได้อ่านกัน          คอมพิวเตอร์ทูเดย์ระบุว่าภัยที่เกิดขึ้นกับธัมบ์ไดร์ฟโดยรวมๆ คือ ธัมบ์ไดรฟ์สูญหาย ธัมบ์ไดรฟ์เสียหายเพราะโดนไวรัส การถูกดูข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อมูลในธัมบ์ไดรฟ์สูญหาย วิธีแก้ไขคือ

      1.    เก็บไว้ใกล้ตัว-ไม่ต้องกลัวหาย
              นับวันธัมบ์ไดรฟ์จะมีขนาดเล็กลง และหายง่ายมาก (ถูกขโมยก็ง่ายด้วย) มีไม่น้อยที่มักจะหลงลืมไว้ตามที่ต่างๆ เวลาหยิบออกมาวาง หรือแม้แต่ติดไปกับเครื่องคอมพ์ชาวบ้านเพราะลืมขอคืน บางคนชอบคล้องไว้กับกุญแจ ซึ่งเป็นของที่ชอบทำหายอันดับต้นๆ
              วิธีน่าสนใจที่สุดคือ เลือกรุ่นที่มีสายคล้องคอไว้ แม้จะดูไม่สวยงามเท่าไร แต่มันลดโอกาสทำหาย และถูกขโมยได้เกือบ 100% อีกนิดนึง ควรเลือกรุ่นที่สายต่ออยู่กับตัวธัมบ์ไดรฟ์ หลีกเลี่ยงการเลือกใช้รุ่นที่สายคล้องคอผูกกับฝาครอบ

       2.    ระวังไวรัส
              ต้องถือเป็นข้อควรระวังในการใช้งานธัมบ์ไดรฟ์อันดับต้นๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้วธัมบ์ไดรฟ์จะมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ซึ่งนั่นหมายความว่า ไวรัสสามารถใช้ธัมบ์ไดรฟ์เป็นสื่อพาหะสำหรับการแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเวลาใช้งานธัมบ์ไดรฟ์ คุณควรแน่ใจก่อนว่า เป็นการถ่ายโอนเฉพาะไฟล์ข้อมูลเท่านั้น (ไม่ได้ติดไวรัสมาด้วย)
              ประเด็นที่สำคัญก็คือ ควรแน่ใจว่าคุณกำลังเชื่อมต่อธัมบ์ไดรฟ์กับคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ได้รับการอัพเดตสม่ำเสมอ และในกรณีที่คอมพ์ของคุณรันแอนตี้ไวรัส เวลาต่อกับธัมบ์ไดรฟ์ ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในเครื่องคอมพ์จะสแกนธัมบ์ไดรฟ์ให้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจธัมบ์ไดรฟ์ที่รับมา ก็ไม่ควรเชื่อมต่อเข้ากับคอมพ์ของคุณเด็ดขาด

       3.    เข้ารหัสข้อมูล เพื่อรักษาความลับ
              ถ้าหากธัมบ์ไดรฟ์ของคุณหาย นั่นหมายความข้อมูลของคุณตกไปอยู่ในมือของผู้ที่พบมันด้วย และถ้าหากคนผู้นั้นบังเอิญเป็นคู่แข่งคุณโดยตรง อะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณใช้ธัมบ์ไดรฟ์เก็บข้อมูลสำคัญ การเข้ารหัสข้อมูลดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้
              การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) จะทำให้ข้อมูลเปิดอ่านไม่รู้เรื่องจนกว่าจะได้รับพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง ซึ่งควรเลือกเข้ารหัสที่ระดับ 128 บิต เพื่อความปลอดภัย ธัมบ์ไดรฟ์รุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อมกับคุณสมบัติการเข้ารหัสข้อมูลมาด้วย แต่อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจนะว่า ซอฟต์แวร์ที่ให้มาไม่ใช่รุ่นทดลอง เพราะไม่เช่นนั้น คุณอาจจะต้องจ่ายตังค์ค่าซอฟต์แวร์ในภายหลัง

       4.    สำรองข้อมูลให้เป็นนิสัย
              ไม่ปฏิเสธครับว่า เวลาธัมบ์ไดรฟ์หาย เราคงรู้สึกไม่ดีแน่นอน แม้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นจะได้รับการปกป้องด้วยการเข้ารหัสไว้แล้วก็ตาม แหม...ก็มันต้องเสียเงินอีกแล้วน่ะสิ แต่มันคงรู้สึกเจ็บใจเป็นสองเท่า หากข้อมูลที่อยู่ในนั้นเราไม่เคยได้ทำแบ็กอัพสำรองเอาไว้เลย
              ดังนั้น วิธีที่สุดคือ แนะนำให้คุณสำรองธัมบ์ไดรฟ์ไว้สักสองสามก๊อปปี้ เพราะนอกจากพวกมันจะหายง่ายแล้ว ยังเสียง่ายอีกด้วย เนื่องจากธัมบ์ไดรฟ์ส่วนใหญ่จะใช้กรอบเป็นพลาสติก ซึ่งแตกหักได้ง่าย

       5.    ถอดธัมบ์ไดร์ฟออกจากเครื่องอย่างถูกต้อง
                ก่อนที่คุณจะดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากพอร์ตยูเอสบีบนคอมพิวเตอร์ ให้คุณปิดโปรแกรมทุกตัวที่มีการเข้าถึงไฟล์ต่างๆบนธัมบ์ไดรฟ์เสียก่อน จากนั้นคลิกไอคอน Safely Remove Hardware (ที่มีลูกศรสีเขียวปรากฎอยู่ในมุมล่างขวาบนทาสก์บาร์) แล้วคลิกเลือกธัมบ์ไดรฟ์ที่ปรากฏอยู่ในรายการ
                เมื่อคลิกเลือกยูเอสบีไดรฟ์ที่ต้องการเอาออกแล้ว จะได้รับข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Safe To Remove Hardware” แปลว่า สามารถดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากระบบได้อย่างปลอดภัย
              หลายเสียงยืนยันว่า หากถอดธัมบ์ไดร์ฟจากเครื่องปุบปับโดยไม่มีการทำตามขั้นตอนนี้ ธัมบ์ไดร์ฟเจ๊งมานักต่อนักแล้วนะ

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป

การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
       ที่นิยมใช้คือ โปรแกรมไมโครซอฟออฟฟิช ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีลิขสิทธ์ สำหรับในสถานศึกษาอาจมีการอนุโลม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ลิขสิทธิ์ในเรื่องนี้ ทำให้สถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาก็ได้รับความคุ้มครองเรื่องลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ด้วย


โปรแกรม ที่มีในชุด Microsoft Office 2007 

Microsoft Office Access 2007
Microsoft Office Communicator 2007
Microsoft Office Excel 2007
Microsoft Office Groove 2007
Microsoft Office InfoPath 2007
Microsoft Office OneNote 2007
Microsoft Office Outlook 2007
Microsoft Office Outlook 2007 with Business Contact Manager
Microsoft Office PowerPoint 2007
Microsoft Office Project Standard 2007
Microsoft Office Publisher 2007
Microsoft Office SharePoint Designer 2007
Microsoft Office Visio 2007
Microsoft Office Word 2007



ที่เราจะทำการเน้นในการศึกษาในชั้นเรียนคือ
ระดับ ปวช. 
Microsoft Office Excel 2007
Microsoft Office PowerPoint 2007
Microsoft Office Word 2007
ระดับ ปวส.
Microsoft Office Access 2007
Microsoft Office Excel 2007
Microsoft Office PowerPoint 2007
Microsoft Office Word 2007


การพิมพ์ข้อมูลจากเวบ

เราสามารถสั่งพิมพ์ได้โดยผ่านจากหน้าเวบนั้น
ไปที่   File > print

ข้อสังเกต
1. ถ้าต้องการพิมพ์ควรจะตรวจสอบดูว่า พิมพ์ได้หรือไม่ตามต้องการโดยใช้คำสั่ง Preview
2. ถ้าหากเราต่อเครื่องปริ้นเตอร์หลายตัว ควรตรวจสอบว่า ใช้งานเครื่องปริ้นเตอร์ตัวใดถูกต้องหรือไม่

การคัดลอกข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต และจัดเก็บ

การคัดลอกข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต และจัดเก็บ


การจัดเก็บข้อมูลจากระบบอินเตอร์สามารถทำได้คือ
1. บันทึกขณะอยู่หน้าเวบที่ต้องการ โดยใช้ คำสั่ง File save as จะได้ไฟล์ที่อยู่ในรูป html จะได้ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่บนหน้าเวบ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ตาราง เป็นต้น
2. จัดเก็บข้อมูลไว้ใน Microsoft word สามารถคัดลอกทั้งหมดได้ โดยเลือก คัดลอกทั้งหมด จะได้ไฟล์ของ Ms Word ในรูป Document แล้วแต่จะเป็น word ตัวไหน หรือ จะสามารถคัดลอกบางส่วนมาก็ได้ 


ทริก
1. คัดลอกข้อมูลจากเน็ลมา คัดลอกปกติ (Copy หรือ คอนโทรล ซี)
2. เปิด โปรแกรม Microsoft Word
3. คลิกแก้ไข ตรงเมนูบาร์ของโปรแกรม Microsoft Word
4. เลือก หัวข้อ วางแบบพิเศษ
5. เลือกหัวข้อ ข้อความ Unicode ที่ไม่จัดรูปแบบ หรือ บางเครื่องอาจจะเป็นคำว่า วางแบบไม่จัดรูปแบบ
6. เลือก ตกลง


การคัดลอกแบบนี้ สามารถแก้ไขไฟล์็ได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก
เมื่อเราต้องการใช้เวบอ้างอิง ควรที่จะ คัดลอก Url ของเวบมาด้วย 


ที่ีมา
http://www.simsworld.info/archiver/tid-449.html

เสิร์ชเอนจิน

เสิร์ชเอนจิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา[1] และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา [2]
1.   กูเกิล (Google) 49.2%    www.google.com ไทยเป็น www.google.co.th
2.   ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
4.   เอโอแอล (AOL) 6.3%
5.   อาส์ก (Ask) 2.6%
6.   อื่นๆ 8.5%
เสิร์ชเอนจินอื่นๆ
 ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
 ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย[3]

เสิร์ชเอนจินในอดีตที่ยกเลิกการใช้งานแล้ว
 ฮอตบอต (HotBot)
 ไลคอส (Lycos)
ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค
ประเภทของเครื่องมือค้นหา
 Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา
หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
การแสดงผลการค้นหาข้อมูล
แหล่งข้อมูลอื่น

คำสืบค้น คำสำคัญ Key Word

     ทุกๆคนที่ทำเว็บไซต์ขึ้นมาก็ย่อมต้องการให้มีคนเข้าชมเว็บไซต์ของเราให้เยอะๆ แต่จะทำอย่างไรละครับ ที่เขาจะรู้จักหรือหาเราเจอ 

Keyword – คีย์เวิร์ด หรือ คำค้นหา เป็นตัวแปรสำคัญในการค้นหาทุกครั้ง เปรียบเสมือนโจทย์ หรือ คำสั่งที่ Search Engine จะต้องทำการค้นหาคำตอบที่เป็นหน้าเพจออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
ในส่วนของการปรับแต่งคีย์เวิร์ด จะเป็นตัวระบุขอบเขตความยากง่ายในการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อทำอันดับในการ แสดงผลการค้นหาออกมาให้ได้มากที่สุด

   Keywords  คือ คำที่ใช้แทนตัวในการเรียกค้นหาของแต่ละเว็บไซต์ ว่าจะใช้คำค้นหาอะไรเป็นหลัก ในหน้าเว็บเพจนั้นๆ เพื่อให้เวลาป้อนคำค้นหานี้ลงไปที่ Search Engine  แล้ว จะทำให้ผู้ค้นหาคำนี้ หาเราเจอในหน้าค้นหานั้น ซึ่งจะอยู่ในลำดับไหนหรือหน้าใดของการค้นหานั้นก็ขึ้นอยู่กับการถูกจัดลำดับ ใน Search Engine ซึ่งหาเราทำเว็บไซต์ใหม่ๆ อาจจะยังไม่ติดอันดับการค้นหรืออาจติดอันดับแต่อยู่ใน ลำดับหรือหน้าที่เยอะมากๆ จนคนค้นไม่เปิดหาไปถึง สิ่งที่ต้องทำก็คือการทำคุณภาพของเว็บไซต์ให้ดี เพื่อให้ถูกจัดอันดับไปอยู่หน้าแรกๆ คนจะได้หาเจอและเข้าเว็บเรามากขึ้น ซึ่งจะต้องค่อยๆใช้เวลาใน การไต่อันดับไปเรื่อยครับ หากเราทำเว็บมีคุณภาพดีก็จะเร็ว



วิธีการใส่ Keywords ให้กับเว็บไซต์ ก่อนอื่นก็ไปที่เมนู Insert ชี้ HTML แล้วชี้ Head Tags และคลิกที่ Keyword 
• เราจะได้หน้าต่างมาให้ใส่ keyword ตามภาพครับ โดย keyword นั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหา รายละเอียดของเว็บครับ เช่น เว็บผมสอนทำ flash เราก็คิดดูว่าคนหาจะใช้คำอะไรในการค้นหาเรื่องของ แฟลช เราก็ใช้คำนั้นเป็น keyword แต่อย่างไรก็ตามคงจะต้องไปเรียนรู้เรื่องของการทำ SEO จะทำให้ เราใช้วิธีที่ถูก
• เวลาคนที่สนใจจะหาข้อมูลเกี่ยวกับ Flash หลายคนจะใช้คำนี้
• แล้วเขาก็อาจจะหาเปิดเจอเราในหน้าของการค้นหาแบบนี้ หากเว็บเราถูกจัดอันดับที่ดีๆ ซึ่งอาจจะต้อง ใช้เวลาอยู่บ้าง
************


อ้างอิง
2.    ^ สัดส่วนผู้ใช้งานเสิร์ชเอนจิน ข้อมูลจากเสิร์ชเอนจินวอตช์ ปี 2548
3.    ^ Where Google Isn't Goliath BusinessWeek

ที่มา
http://th.wikipedia.org/
wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99

การสืบค้นข้อมูล

การใช้เครือข่ายอินเตอร์เนตสืบค้นข้อมูล
                บนเครือข่ายอินเตอร์เนตมีข้อมูลอยู่อย่างมากมาย  มีหลายประเภท  ในการสืบค้นข้อมูลด้วยวิธีทั่วๆ ไปจะทำได้ช้าระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตจึงมีโปรแกรมช่วยค้นหาข้อมูล ซึ่งจะอยู่ในเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Site) ในเว็บไซต์เหล่านี้จะจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                1. โปรแกรมค้นหา (Search Engine)  เป็นการค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ  เหมาะกับการค้นหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง  เช่น Yahoo, Lycos, Google ฯลฯ
                2. สารบบค้นหา (Search Directory)  เป็นเว็บไซต์ที่ค้นหาข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่แบบกว้าง ๆ เช่น Yahoo, Sanook ฯลฯ


การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

ที่มาแะได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

การใช้อินเตอร์เน็ต

การใช้อินเตอร์เน็ต
1. ให้ Click (คลิก) ที่ Webborwser  Internet Explorer http://www.mcp.ac.th/online/internet/ie/ie.jpg เพราะว่าจะมีมากับระบบปฏิบัติการ Windows อยู่แล้ว

                                                                       http://www.mcp.ac.th/online/internet/ie/address.png 

2.เลือกเมนู Address ถ้ามีชื่อเวปอยู่ให้ลบทิ้ง แล้วพิมพ์ชื่อเวปที่ต้องการลงไป เช่น www.cmtc.ac.th

                                                       
                 

*
แต่ถ้าเกิดว่าเวปที่เราเคยเข้าแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ต้องพิมพ์ให้ให้กดที่      http://www.mcp.ac.th/online/internet/ie/selec.gif    หรือกด    F4    ก็ได้จะมีชื่อเวปออกมาให้เลือก


                                                 

*
จะได้เวปที่เราพิมพ์ชื่อออกมา 
             


3.
ถ้าเปิดเวปขึ้นมาแล้ว ถ้าต้องการเข้าไปยังเวปหรือหน้าอื่นให้นำเมาส์ (Mouse) ไปชี้ข้อความ หรือรูปภาพ ถ้าเป็นรูปมือ http://www.mcp.ac.th/online/internet/ie/link1.png สามารถที่จะเข้าไปได้อีก

                                                                                              

 
*
ก็จะแสดงหน้าเวปที่มีการ Link ออกมา