วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

8 สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน



8 สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน  (6)
Environmental and safety in the workplace
ด้านความรู้
1. ความหมายสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
2. การออกแบบสำนักงานและสถานที่ทำงาน (Office and Workplace Design)
3. ประเภทสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4. ลักษณะของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
5. ความปลอดภัยในการทำงาน
6. พื้นฐานความปลอดภัย
7.วัตถุประสงค์ของการบริหารความปลอดภัย
8.การป้องกันอุบัติภัย
ด้านทักษะ
ป้องกันอันตรายในการทำงานได้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1. ความรับผิดชอบ
2. ความสนใจใฝ่รู้
สาระสำคัญ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความ เสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายในการทำงาน
สมรรถนะอาชีพประจำหน่วย
ป้องกันอันตรายในการทำงานได้
จุดประสงค์การสอน/การเรียนรู้
·     จุดประสงค์ทั่วไป / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง    
1.  เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน(ด้านความรู้) 
2.  เพื่อให้มีทักษะในการใช้งาน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน(ด้านทักษะ)
3.  เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมด้าน วัสดุ  อุปกรณ์  และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด มีเหตุและผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านคุณธรรม จริยธรรม)
·     จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.  อธิบายความหมายของสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้ (ด้านความรู้) 
2.  ออกแบบสำนักงานและสถานที่ทำงาน (Office and Workplace Design) ได้  (ด้านทักษะ)
3.  แยกแยะประเภทของสภาพแวดล้อมในการทำงานได้
4.  วิเคราะห์ลักษณะของสภาพแวดล้อมในการทำงานได้
5.  ปฏิบัติงานตามความปลอดภัยในการทำงาน ได้ (ด้านทักษะ)
6.  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นฐานความปลอดภัยได้
7.  ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการบริหารความปลอดภัยได้
8.  ป้องกันอุบัติภัยในการทำงานได้ (ด้านจริยธรรม)
·     จุดประสงค์ประชาคมโลก
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน(ด้านความรู้) 
2. เพื่อให้มีทักษะในการใช้งาน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน(ด้านทักษะ)
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมด้าน วัสดุ  อุปกรณ์  และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด มีเหตุและผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านคุณธรรม จริยธรรม)
·      จุดประสงค์จิตอาสา
1.  เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน(ด้านความรู้) 
2.  เพื่อให้มีทักษะในการใช้งาน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน(ด้านทักษะ)
3.  เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมด้าน วัสดุ  อุปกรณ์  และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด มีเหตุและผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านคุณธรรม จริยธรรม)



เนื้อหาสาระการสอน/การเรียนรู้ 
  ด้านความรู้(ทฤษฎี)
1.อธิบายความหมายของสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ  1)

1.ความหมายของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
 The meaning of the work environment
สภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หรือที่สามารถจับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและที่เป็นนามธรรม สภาพ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะกดดัน ซึ่งมีผลต่อผู้ปฏิบัติงานในขณะที่ทำงาน


 









รูปที่ 8.1 แสดงสภาพแวดล้มในการทำงานที่ดี

2.            ออกแบบสำนักงานและสถานที่ทำงาน (Office and Workplace Design) ได้  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ  2)

2. การออกแบบสำนักงานและสถานที่ทำงาน
Office and Workplace Design

ระดับแสงสว่าง (Illumination)
ระดับของความสว่างของแสง หรือความเข้มของแสง คือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ ให้แสงสว่าง ระดับความเข้มของแสงสว่างที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ตามประเภทของงานและอายุ ของคนงาน พนักงานที่อายุมากแล้วมักที่จะต้องการ แสงสว่างมากกว่าคนงานที่มีอายุน้อย เพื่อให้เกิด ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานที่มี ลักษณะที่ต้องใช้ความแม่นยำในการควบคุม ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น งานที่ต้องผลิตอุปกรณ์ ไฟฟ้าต้องการแสงสว่างที่มากกว่างานผลิตในโรงงาน บรรจุขวด วิศวกรได้แนะนำระดับความสว่างของ แสงในแต่ละพื้นที่ทำงานต่าง ๆ ไว้ดังนี้


 







รูปที่ 8.2 แสดงแสงสว่างไม่เพียงพอจะทำให้เกิดอาการเครียด

ตาราง 8.1 แสดงความสัมพันธ์ของงานและแสงสว่าง
งาน
หน่วยวัดความสว่างของแสง
อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน
                   2000
หน่วยงานผลิตชิ้นส่วน
                   1000
อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า สิ่งทอ
                    500
สินค้าเครื่องใช้ประจำวัน
                    200
งานจัดแบ่งประเภทใบยาสูบ
                    200
เจ้าหน้าที่ธนาคารที่หน้าเคาน์เตอร์
                    150
ผลิตและออกแบบทอฟฟี่
                    100
ร้านตัดผมหญิง ชาย/หญิง
                    100
แกะสลักรูป
                      50
ห้องรับรองของโรงแรม
                      50
พนักงานจัดตกแต่งภายใน
                      30
ร้านซักรีด
                      30
โรงงานผลิตเหล็ก
                      20
ทางเดินระหว่างตึกและบันได
                      20
ที่นั่งของผู้โดยสารบนเครื่องบิน
                        5



ตารางที่ 13.1 ประเภทการส่องสว่างและค่าการส่องสว่างแนะนำสำหรับกิจกรรมทั่วไปภายในอาคาร
ประเภทการส่องสว่าง
ชนิดกิจกรรม
ลักซ์
วิธีส่องสว่าง
A
พื้นที่สาธารณะซึ่งบริเวณโดยรอบมืด
20-30-50
ส่องสว่างทั่วทั้งพื้นที่
B
การบรรยายสรุปสำหรับการเยี่ยมดูงาน
50-70-100
C
พื้นที่ปฏิบัติงานซึ่งใช้สายตาเพียงครั้งคราว
100-150-200
D
งานที่ใช้สายตาซึ่ง contrast สูง หรือชิ้นงานใหญ่
200-300-500
ส่องสว่างเฉพาะจุดงาน
E
งานที่ใช้สายตาซึ่ง contrast ปานกลางหรือชิ้นงานขนาดเล็ก
500-750-1000
F
งานที่ใช้สายตาซึ่ง contrast ต่ำ หรือชิ้นงานขนาดเล็กมาก
1000-1500-2000
G
งานที่ใช้สายตาซึ่ง contrast ต่ำ หรือชิ้นงานขนาดเล็กมากเป็นเวลานาน
2000-3000-5000
ส่องสว่างทั่วทั้งพื้นที่และเสริมด้วยเฉพาะจุดงาน
H
งานที่ทำต่อเนื่องนานมาก และใช้สายตาอย่างเที่ยงตรง
5000-7500-10000
I
งานที่ต้องใช้สายตามากเป็นพิเศษซึ่งมี contrast ต่ำมากและขนาดชิ้นงานเล็ก
10000-15000-20000

การกระจายของแสง (Distribution of Light)
ปัจจัยสำคัญในการให้แสงสว่าง คือ การกระจายแสงสว่างครอบคลุมทุกพื้นที่ในการ ทำงาน แสงสว่างในที่ทำงานถ้ามีความจ้ามากกว่าปกติจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าตา เพราะตาม ธรรมชาติของตาได้ถูกเปลี่ยน เมื่อมองไปที่แสงสว่างจ้ามากๆต่อมาหันไปยังแสงสว่างน้อยจะทำให้ ม่านตาขยายใหญ่ขึ้น และเมื่อหันกลับไปมองในส่วนที่แสงสว่างมากอีกครั้งทำให้ม่านตาเมื่อยล้าได้ เมื่อนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน ควรจะเปิดไฟเพื่อทำงานหรือเปิดโคมไฟ ทำให้มีแสงสว่างเพียงพอกับสายตา มันจะทำให้ความเมื่อยล้าของสายตาลดลงเมื่อเราเปิดไฟเพียงพอ





 







รูป 8.2 แสดงเมื่อนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน ควรจะเปิดไฟเพื่อทำงานหรือเปิดโคมไฟ

แสงสว่าง (Glare)
แสงที่สว่างเกินไปส่องเข้าตาจะทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลงและทำให้เกิด อาการเมื่อยล้าตา แสงที่สว่างเกินไปคือแสงที่มีปริมาณเกินกว่าที่ตาคุ้นเคย ความสว่างของแสงนั้น อาจจะเกิดจากที่แสงไปกระทบกับ พื้นผิว แสงสว่างเกินไปทำให้เพิ่ม ความผิดพลาดในการทำงานได้ เพียงเวลาสั้น ๆ 20 นาที ทำให้ การมองเห็นไม่ชัดเจนได้ เป็น ลักษณะเดียวกับการขับรถในเวลา กลางคืนแล้วไปเจอไฟสูงจากรถ คันอื่นที่วิ่งสวนมา แสงที่มากเกิน ไปอาจมาจากแสงของคอมพิวเตอร์
แสงธรรมชาติ (Natural Light)
แสงสว่างธรรมชาติและแสงที่สร้างขึ้น คนที่ทำงานในห้องที่ไม่มีหน้าต่างหรือมีแสงธรรมชาติเข้าถึงได้น้อยจะต้องการให้มีหน้าต่างในห้องทำงาน เป็นอย่างมาก ถึงแม้จะมีแสงสว่างของหลอดไฟเพียงพอ เพราะทุกคนยังต้องการเห็นบรรยากาศข้างนอก หรือได้รับ แสงธรรมชาติ และเชื่อว่าแสงธรรมชาติมีผลดีต่อตามากกว่า แสงที่สร้างขึ้น คนยุโรปจำนวนมากได้เรียกร้องให้พนักงานที่ ทำงานได้รับแสงธรรมชาติที่สว่างเพียงพอต่อพนักงานเพื่อ เพิ่มบรรยากาศให้พนักงาน
 









เสียง (Noise)
เสียงดังเป็นเหตุการณ์ที่ เป็นปกติในปัจจุบัน เสียงดังนั้นอาจ ทำให้ฉุนเฉียวและหงุดหงิดได้รบกวนไป ถึงเวลานอน และยังมีผลกระทบต่อการ ได้ยิน ตัวอย่างเช่น การสูญเสียการ ได้ยิน เสียงดังเป็นอันตรายอย่างหนึ่งใน การประกอบอาชีพของพนักงานใน โรงงานอุตสาหกรรม เช่น คนตอกหมุด ช่างซ่อมเครื่องบิน คนงานที่ทำงานเกี่ยว กับสิ่งทอ เจ้าของธุรกิจจะพบปัญหาการ เรียกร้องค่าเสียหายของพนักงานจากการ ได้รับอันตรายจากการได้ยินเป็นจำนวนเงินมาก
หน่วยในการวัดมาตรฐานของเสียง คือ เดซิเบล โดยเป็นหน่วยวัดความเข้มของเสียง 0 เดซิเบลเป็นเสียงที่จะได้ยินเพียงเบาๆ ตารางจะแสดงให้เห็นถึงระดับของเสียงในสถานการณ์ที่ พบบ่อย ๆ ระดับของเสียงที่จะเป็นอันตรายต่อการได้ยิน คือ 85 เดซิเบล ระดับเสียงขนาดนี้จะ สามารถทำให้สูญเสียการได้ยินหากได้ยินเสียงในระดับนี้เป็นเวลานาน ๆ ระดับเสียงที่มากกว่า 120 เดซิเบล สามารถทำให้เกิดการหูหนวกชั่วคราวได้ และระดับเสียงที่เกิน 130 เดซิเบลเป็นเหตุที่ ทำให้หูหนวกถาวรได้ รัฐบาลของสหรัฐมีการกำหนดระดับของเสียงที่มากที่สุด ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับดังต่อไปนี้ ระดับ 90 เดซิเบล สำหรับคนทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน 100 เดซิเบล สำหรับคนทำงาน 2 ชั่วโมงต่อวัน และ 110 เดซิเบล ได้เป็นระยะเวลา 30 นาทีเท่านั้น
เสียงที่ดังและรบกวนการติดต่อสื่อสาร ถ้าเสียงดังรอบๆ ในที่ทำงานที่มีระดับต่ำ (ระดับที่ 50-60 เดซิเบล) จะทำให้การคุยการสื่อสารของคน 2 คน ต้องตะโกนใส่กันถึงจะอยู่ห่างกันแค่ 5 ฟุต ถ้าระดับเสียงมีความดังเพิ่มมากขึ้นพนักงานต้องคุยกันเสียงดังมากขึ้นหรือเข้ามาคุยกันใกล้ๆ เพื่อจะให้ได้ยินการสนทนากันของฝ่ายตรงกันข้าม ระดับเดซิเบลของเสียในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแบบต้องตะโกนสั่งงานกันและตะโกนคุยกันระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง การตะโกนอาจทำให้ข้อมูลในการสนทนาการส่งข่าวเกิดการสูญหายผิดพลาดในขณะที่สนทนาได้
แหล่งที่มาของเสียง
ระดับความดัง (เดซิเบล)
เสียงการหายใจ
10
การกระซิบในระยะ 5 ฟุต
30
สำนักงานที่เงียบ
40
การสนทนาในระยะ 3 ฟุต
70
การจราจรในเมือง
80
เสียงอุปกรณ์ทำครัว
95
ระดับเสียงในโรงงาน
100
เครื่องตัดหญ้า
110
เสียงเด็กทารกร้อง
110
เสียงค้อนในระยะ 3 ฟุต
120
วงดนตรีร็อก
140
เสียงเครื่องบินขณะเครื่องขึ้น
150















สี (Color)
สีของบ้าน สำนักงาน และโรงงาน ถ้าใช้สีได้เหมาะสมจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานได้ ลดอุบัติเหตุในการทำงาน ลงได้ เพราะอาจจะยังมีความไม่แน่นอนหรือ ไม่ถูกต้องในบางความสัมพันธ์ระหว่างสี เฉพาะกับผลการผลิต ความเมื่อยล้าอ่อนล้า หรือความพึงพอใจในการทำงาน
ในที่ทำงานมีกฎของการใช้สี สี ช่วยทำให้บรรยากาศที่ทำงานเป็นที่น่าพอใจ กับคนทำงานขึ้น สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ ช่วยในการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย สีเป็นตัวบ่ง บอกอย่างหนึ่งถึงความปลอดภัยในโรงงาน ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟใช้สีแดง พื้นที่อันตรายใช้สีเหลือง และสถานที่รักษาพยาบาล เบื้องต้นใช้สีเขียว สีจะทำให้เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ของสีได้อย่างรวดเร็ว สีสามารถที่จะป้องกัน อาการเมื่อยล้าของตาได้ เพราะสีที่แตกต่างกันมี ลักษณะสะท้อนกลับที่แตกต่างกันด้วย กำแพงสีขาวจะ สะท้อนแสงได้ดีกว่าสีดำ ดังนั้นจะเลือกใช้สีสว่างเพื่อ จะทำห้องทำงานเพื่อให้สถานที่ทำงานดูสว่างขึ้น นอกจากนั้นสียังทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของขนาด วัตถุได้ ถ้าห้องสีทึบ ๆ มืด ๆ จะทำให้ดูว่าห้องมีขนาด เล็กกว่าปกติ ถ้าผนังห้องสีอ่อนๆสว่างๆจะทำให้ห้องดู มีพื้นที่กว้างและโปร่งได้ ถ้าพื้นที่ห้องทำงานสกปรกอาจมีการเปลี่ยนสีที่ทำงาน ทาสีใหม่อาจจะทำให้ เพิ่มความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานมากขึ้น เมื่อทาสีสว่างสดใสจะช่วยทำให้บรรยากาศ ในการทำงานดีขึ้น
 







อุณหภูมิและความชื้น (Temperature and Humidity)
อุณหภูมิและความชื้นมีผลต่อความรู้สึกที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและต่อ ร่างกาย บางคนมีความสุขและสดชื่นเมื่อได้อยู่กับอากาศเย็น ในขณะที่บางคนอาจจะชอบอากาศร้อน บางคนจะเกิดความ รู้สึกเศร้าเมื่อฝนตก และบางคนแทบไม่รู้ถึงผลกระทบบุคคล ส่วนใหญ่ชอบทำงานในบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่สะดวกเพื่อ ที่จะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
3.ปฏิบัติงานตามความปลอดภัยในการทำงาน ได้  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ  3)

3. ประเภทของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Type of work environment

สภาพแวดล้อมในการทำงานสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หมายถึง ภูมิอากาศ พื้นที่ ภูมิประเทศ และอุณหภูมิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตมีอยู่ทั่วไป เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญในแง่ของการเป็นรูปแบบการปฎิสัมพันธ์กับมนุษย์ในอันดับแรกๆ
2. สภาพแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) หมายถึง ผู้คนที่อยู่ล้อมรอบบุคคลโดยทั่วไป และมีอิทธิพลต่อบุคคลนั้น อาจจะมีกิจกรรมร่วมกันหรือไม่มีก็ได้
3. สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม (Cultural Environment) มีความสำคัญมากที่สุด เพราะได้รวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมด เช่น เครื่องมือ ที่อยู่อาศัย กฎหมาย เครื่องจักร ความเชื่อ ประเพณี และกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นต้น
4. สภาพแวดล้อมย่อย (Segmented Environment) ได้แก่ สภาพชนบท และสภาพเมืองในสังคม
4.      ลักษณะของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ANd9GcTpmz_b68mC3RK4lxi3bmkT3uWYsh31svuAqRPYDROTddV-a0RZ


4. ลักษณะของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Characteristics of the work environment.

ลักษณะของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานสามารถ แบ่งได้ 10 ด้าน คือ
1. ความมั่นคงปลอดภัย (Security) ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน การที่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชาทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความอบอุ่นใจและปลอดภัย ที่จะได้ทำงานในองค์การ คนที่มีพื้นฐานความรู้น้อยหรือขาดความรู้ย่อมเห็นว่าความมั่นคงในงานนี้มีความสำคัญสำหรับเขามาก แต่คนที่มีความรู้สูงจะรู้สึกว่าไม่มีความสำคัญมากนัก
2. โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน (Opportunity for Advancement) ได้แก่ การได้มีโอกาสเลื่อตำแหน่งสูงขึ้น องค์การสนับสนุนให้พนักงานมีความก้าวหน้าในการทำงาน โดยพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนอย่างเป็นธรรม พิจารณาเลื่อนตำแหน่งอย่างเหมาะสมให้บำเหน็จรางวัลแก่ผู้ปฎิบัติงานที่ดี ยอมรับและยกย่องชมเชยพนักงาน เมื่อปฏิบัติงานดีส่งเสริมสนับสนุนพนักงานให้ศึกษาต่อ และมีการฝึกอบรมให้เรียนรู้มากขึ้น
3. องค์กรและการจัดการ (Company and Management) ได้แก่ ลักษณะการจัดโครงสร้างขององค์กร การวางนโยบาย แนวทางปฏิบัติภายในองค์กร ชื่อเสียงขององค์กรและการดำเนินงานขององค์กร
4. ค่าจ้าง (Wages) ได้แก่ เงินเดือนซึ่งเป็นค่าตอบแทนการทำงาน โดยพิจารณาในเรื่องของจำนวนค่าจ้างที่เหมาะสมกับปริมาณของผลงาน และมีวิธีการจ่ายค่าจ้างที่ยุติธรรมเสมอภาค
5. คุณลักษณะเฉพาะของงาน (Intrinsic Aspects of the job) เป็นเรื่องของงานที่ทำอยู่เป็นงานที่ทำให้รู้สึกว่ามีคุณค่า มีความภาคภูมิ มีสถานภาพ มีศักดิ์ศรี และได้รับการยอมรับนับถือ เป็นงานบริการสาธารณะเป็นงานที่ตรงตามความรู้ความสามารถ เป็นงานที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม เป็นงานท้าทายและทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลง
6. การนิเทศงาน (Supervision) คือ การได้รับการเอาใจใส่ได้รับการตรวจ แนะนำงานอย่างใกล้ชิด และได้รับทราบการทำงานที่ถูกต้องจากผู้บังคับบัญชาหรือ หัวหน้างาน การนิเทศงานมีความสำคัญที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจต่องานที่ทำได้ การนิเทศงานไม่ดีอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจย้ายงานหรือลาออกจากงาน
7. คุณลักษณะทางสังคมของงาน (Social Aspects of the Jobs) คือ การได้ทำงาน อยู่ในกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกับตน ได้รับการยอมรับและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทำงาน มีความสามัคคี รู้จักหน้าที่ของตน มีกลุ่มทำงานที่ฉลาดมีประสิทธิภาพ
8. การติดต่อสื่อสาร (Communication) คือ การให้ข่าวสารในองค์กร เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาและความก้าวหน้าขององค์กร ข่าวสารเกี่ยวกับแผนงานที่องค์กรกำลังทำอยู่และกำลังจะทำให้อนาคต การรับรู้เกี่ยวกับสายการทำงานและอำนาจบังคับบัญชา การรับรู้ข่าวสารด้านนโยบายและกระบวนการทำงาน และข่าวสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานขององค์กรและบุคคลต่างๆ ในองค์กร
9. สภาพการทำงาน (Working Conditions) คือ สภาพที่มีความสะอาด มีระเบียบ มีความปลอดภัย เครื่องมือ เครื่องจักร จัดไว้อย่างเหมาะสมและเตรียมพร้อมที่จะใช้เสมอมีอากาศถ่ายเทดี ไม่มีเสียงรบกวนและแสงสว่างพอเหมาะ ระยะเวลาทำงานแต่ละวันเหมาะสม มีสถานที่ให้ออกกำลังกาย มีโรงอาหารใกล้ๆ มีศูนย์อนามัย มีสถานที่จอดรถ
10. สวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับ(Benefit) คือ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่นๆ นอกเหนือไปจากค่าจ้างที่บุคคลได้รับ ได้แก่ เบี้ยบำเหน็จบำนาญ วันหยุดพักผ่อนประจำปี การลา ค่ารักษาพยาบาล การจัดประกันภัย เป็นต้น

5. ความปลอดภัยในการทำงาน
 Safety at work

5.1 ความปลอดภัย (Safety) คือ สภาพที่ไม่มีภยันตราย ดังนั้น ความปลอดภัยใน การทำงานจึงหมายถึง การทำงานที่ไม่มีอันตราย ไม่อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ มีเชื้อโรค โดยจะไม่ก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
- การบาดเจ็บ พิการ หรือตาย
- การเจ็บป่วย หรือโรค
- ทรัพย์สินเสียหาย
- เสียเวลา
- ขบวนการผลิตหยุดชะงักไม่สม่ำเสมอ
- คนงานเสียขวัญและกำลังใจ
- กิจการเสียชื่อเสียง
ความปลอดภัยในการทำงาน จะเกิดขึ้นได้เมื่อสภาพที่เป็นอันตรายหรือโอกาส เกิดอุบัติเหตุหมดไป โดยสามารถกำจัดสาเหตุมูลฐานของอุบัติเหตุ อันได้แก่
- การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts)
- สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions)
5.2 ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง สภาวการณ์ที่ปราศจากอันตรายจากการ เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ พิการ ตาย อันเนื่อง มาจากการทำงาน ทั้งต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การประสบอันตรายจากการทำงาน แต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งผล ต่อผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่ต้องได้ รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่าย กายและจิตใจ การสูญเสียรายได้ที่ เคยได้รับ การสูญเสียเงินในการ รักษาพยาบาล หรือสูญเสียโอกาส ในการประกอบอาชีพต่อไปได้อีกแล้ว สมาชิกในครอบครัวของผู้ประสบอุบัติเหตุก็ได้รับผลกระทบ






6. พื้นฐานความปลอดภัย
Security Basics

อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดจากการที่ไม่ได้ คาดคิดไว้ล่วงหน้า หรือไม่ทราบล่วงหน้า หรือขาดการควบคุม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดการ บาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยจากการทำงาน หรือการเสียชีวิต หรือความสูญเสียต่อทรัพย์สินหรือ ความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือต่อสาธารณชน
อุบัติการณ์ (Incident) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิด อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ
อันตราย (Hazard) หมายถึง สิ่งหรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือ ความเจ็บป่วยจากการทำงาน ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน หรือต่อสาธารณชน หรือสิ่งต่างๆ เหล่านี้รวมกัน
ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ผลลัพธ์ของความน่าจะเกิดอันตราย และผลจาก อันตรายนั้น
ประเภทของภัย มี 3 ประเภท ดังนี้ คือ ภัยจากอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ (อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด) และภัยจากฆาตกรรม (อาชญากรรม)
ประเภทของอุบัติภัย หรืออุบัติเหตุ เช่น ลื่นหกล้ม ตกจากที่สูง วัสดุตกใส่ ถูกความ ร้อน ถูกของมีคม ถูกกระแทก ไฟฟ้าดูด อากาศเป็นพิษ ขาดอากาศหายใจ ถูกสารเคมี ถูกรังสี
มายเหตุ  อุบัติภัย (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อนโดยไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้นเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน อันตรายต่อร่างกายและจิตใจ และ อาจทำให้เสียชีวิตได้ด้วย


 








6.1 สาเหตุของการเกิดอุบัติภัย
1. สภาพที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) คือ สภาพทั่วไปรอบพื้นที่ ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะมีผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ยังคงมีสภาพที่เป็นอันตรายคงอยู่ ที่เสี่ยงต่อการเกิด อุบัติภัย สภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่น
- สภาพเครื่องจักร ไม่มีเครื่องป้องกันอันตราย ชำรุด ล่อแหลม มีส่วนหมุน เคลื่อนไหว มีชิ้นส่วนร้อน
- สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่มีสายดิน สายไฟชำรุด เปลือย มีกระแสไฟไหล ไม่มีอุปกรณ์นิรภัย
- สภาพพื้นที่มีคราบน้ำมัน จารบี โคลนเลน วัสดุกองกระจาย คับแคบ มีโครงสร้างกีดขวาง พื้นที่สูง หน้าผาสูงชัน มีหินแขวน
- สภาพแวดล้อม มีแสงสว่างน้อย มองไม่ชัดเจน อากาศอับทึบ ระบาย อากาศไม่ดี อุณหภูมิอากาศสูง มีฝุ่นมาก เสียงดังจากเครื่องจักร
- สภาพวัสดุ เป็นวัสดุวัตถุมีพิษ มีกัมมันตรังสี มีรังสี มีคลื่นกระแส แม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ผุชำรุดไม่แข็งแรง ระเบิดได้ ไวไฟ ไม่แข็งแรง มีเหลี่ยมคม
2. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) คือ การกระทำของบุคคลที่ ล่อแหลม ที่อาจจะเกิดอันตรายได้ เช่น
- วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย ได้แก่ ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัย ใช้เครื่องมือผิดวิธี การเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำงานผิดวิธี ปฏิบัติงานผิดวิธีนอกมาตรฐาน โดยหยอกล้อ ประหยัดเวลา (รีบเร่ง) ประหยัดแรงงาน (ขาดคน) ไม่ให้สัญญาณ ไม่สื่อสารให้ชัดเจน เดินเครื่องจักร โดย สับสวิตช์แล้วไม่ดูรอบ ๆ สูบบุหรี่ใกล้สารระเบิดหรือสารไวไฟ ขนวัตถุระเบิด แก๊ปและแท่งดินระเบิด พร้อม ๆ กัน ปฏิบัติงานใกล้สิ่งอันตราย โดยอยู่ใกล้เครื่องจักรที่หมุนหรือมีความร้อน อยู่ใกล้ หน้าผาสูงชัน หรือมีหินแขวนข้างบน


 







- สภาพจิตใจไม่พร้อม ได้แก่ ขาดความตั้งใจ ประมาท ตื่นเต้น ขวัญอ่อน ตกใจง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อารมณ์ไม่ดี ไม่พอใจงานที่ทำ ไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกัน
- สภาพร่างกายไม่พร้อม ได้แก่ เมื่อยล้า พิการ เจ็บป่วย เสพยา เมาสุรา กินยาแก้หวัด

7. วัตถุประสงค์ของการบริหารความปลอดภัย
The purpose of the Safety Management

วัตถุประสงค์ของการบริหารความปลอดภัย เพื่อลดการสูญเสีย รักษาชื่อเสียงและขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสูญเสียเมื่อเกิดอุบัติภัย แบ่งเป็นความสูญเสียที่ประเมินค่าได้ และความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้
ความสูญเสียที่ประเมินค่าได้ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียเวลาผลิตหรือทำงานของเพื่อนร่วมงานที่จะต้องหยุดงานเพื่อเข้าช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาล การพูดคุยที่เกี่ยวกับ อุบัติภัยในขณะทำงาน ค่าเสียเวลาของผู้บริหารในการสอบสวนหาสาเหตุ เสียค่าปรับเปรียบเทียบ ค่าขนย้ายผู้ป่วย ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ ค่าทดแทน ค่าเครื่องมือเครื่องจักรเสียหาย เวลาที่สูญเสียเวลาผลิต (ผลผลิตหายไป) ค่าเคลียร์สถานที่ ทำงานให้ปลอดภัยก่อนจะทำงานต่อไป
http://tsl.tsu.ac.th/courseware/math/lesson1/less1_2.htm

8. การป้องกันอุบัติภัย
Accident prevention
https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT0xGmbdMGH8104JekuGOiegNAsrtD4uvnL67JPNOI62tY1bfOEmw
การป้องกันอุบัติภัย ทำได้ 3 บริเวณ คือ การป้องกันที่สภาพแวดล้อมการทำงาน การป้องกันที่ตัวเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ และการป้องกันที่ตัวบุคคล
8.1 การป้องกันที่สภาพแวดล้อมการทำงาน ทำได้ดังนี้
- สร้างพื้นที่ปฏิบัติงานให้ปลอดภัย โดยการจัดคราบจารบี โคลนเลนที่บริเวณทางเดิน จัดเก็บวัสดุให้เป็นระเบียบ โครงสร้างกีดขวางให้หุ้มห่อด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม ปรับพื้นที่ไม่ให้สูงชัน ขจัดหินแขวน จัดพื้นที่ออกเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ทั่วไป จัดทำราวกั้น ทำ 5 ส ให้พื้นที่ปลอดภัย
- ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม จัดให้มีการระบายอากาศและแก๊สพิษออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน จัดให้มีห้องควบคุมแยกจากพื้นที่อันตราย
- จัดให้มีระบบการเตือนภัยโดยจัดให้มีป้ายเตือนภัย สัญญาณเตือนภัย และอุปกรณ์ตรวจจับแก๊สพิษ
- จัดให้มีระบบหนีภัยโดยจัดให้มีทางหนีไฟ อุปกรณ์แสงสว่างฉุกเฉินจัดให้มีอุปกรณ์ขจัดภัย เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง รถดับเพลิง รถเครน ผงฝุ่นดับเพลิง
8.2 การป้องกันที่ตัวเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ ทำได้ดังนี้
- จัดให้พื้นที่ใกล้เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ ปลอดภัยโดยการจัดทำราวกั้นตัวเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ ทาสีพื้นที่แสดงเขตเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ทางสัจจร
- จัดให้มีอุปกรณ์ครอบส่วนอันตรายโดยจัดให้มีท่อเหล็กครอบสำหรับลวดกว้าน มีท่อทางเดินสายไฟ ใช้ฉนวนหุ้มชิ้นส่วนร้อน มีตะแกรงเหล็กครอบดวงไฟตกจากเพดาน มีกระจกใส่ป้องกันเศษวัสดุร้อน หรือเศษวัสดุกระเด็นเข้าสู่ตาและร่างกาย
- ใช้อุปกรณ์ที่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายโดยมีระบบการตัดไฟฟ้าฉุกเฉิน ใช้สายไฟหุ้มฉนวน มีสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า มีลิ้นนิรภัยควบคุมแรงดัน มีสวิตช์นิรภัยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร มีอุปกรณ์ตัดไฟฟ้ากรณีไฟฟ้ากรณีไฟรั่วไฟเกินขนาด มีเหล็กป้องกันตัวรถและคนขับ มีสายดึงข้างสายพานลำเลียง ระบบตัดการทำงานเครื่องจักรกรณีฉุกเฉิน
- มีอุปกรณ์ลดมลภาวะ เช่น อุปกรณ์ดักฝุ่น
8.3 การป้องกันที่ตัวบุคคล ทำได้ดังนี้
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (หมวกนิรภัย) ใช้อุปกรณ์ป้องกันตา (แว่นตา โล่ หน้ากาก ตะแกรงลวด) ใช้เครื่องป้องกันมือ (ถุงมือหนัง ถุงมือผ้า ถุงมือไฟเบอร์ ถุงมือพลาสติกหรือยาง) ใช้เครื่องป้องกันเท้า (รองเท้าผ้าใบ รองเท้ายาง รองเท้าหัวเหล็ก) ชูชีพป้องกันจมน้ำ (ถุงลม แผ่นโฟม) ใช้เครื่องป้องกันระบบหายใจ (กระดาษกรอง กระดาษกรองสารเคมี ครอบจมูก) เครื่องช่วยหายใจ (ท่อออกซิเจน ท่ออากาศ) และเครื่องป้องกันหู (อุดหู ครอบหู หมวกปิดหู) โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
- การให้ความรู้แก่บุคคลโดยการสอนให้รู้วิธีการทำงานอย่างปลอดภัย สอนให้รู้จักวิธีการขจัดภัยการดับเพลิง สอนให้รู้วิธีการกู้ภัย ช่วยเหลือคนเจ็บออกจากสถานที่เกิดเหตุ และสอนให้รู้วิธีปฐมพยาบาล
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTNRjA91pMkfSHR-ZmExQ23EyOVFCF3JGWDKZnVfCvx_8-ArkwQ7A