วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

5 องค์กรและการบริหารงานในองค์กร



องค์กรและการบริหารงานในองค์กร
Organization and management of the organization
ด้านความรู้
Knowledge
1. ความหมายขององค์กร
2. วงจรชีวิตขององค์กร
3. หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
ด้านทักษะ
Skill
1. ประยุกต์ใช้การบริหารงานในองค์กรในการดำรง ชีวิตประจำวันได้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
Moral & Ethics.
1. ความรับผิดชอบ
2. ความสนใจใฝ่รู้
สาระสำคัญ
การบริหารและการบริหารจัดการ รวมทั้งคำอื่น ๆ อีก  เป็นต้นว่า การปกครอง (government) การบริหารการพัฒนา การจัดการ และการพัฒนา (development) หรือแม้กระทั่งคำว่า การบริหารการบริการ (service administration) การบริหารจิตสำนึกหรือการบริหารความรู้ผิดรู้ชอบ (consciousness administration) การบริหารคุณธรรม (morality administration) และการบริหารการเมือง (politics administration) ที่เป็นคำในอนาคตที่อาจถูกนำมาใช้ได้ คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัยจะนำคำใดมาใช้โดยอาจมีจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ทุกคำที่กล่าวมานี้เฉพาะในภาครัฐ ล้วนหมายถึง (1) การดำเนินงาน การปฏิบัติงาน แนวทาง (guideline) วิธีการ (method) หรือมรรควิธี (means) ใด ๆ (2) ที่หน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐนำมาใช้ในการบริหารราชการหรือปฏิบัติงาน (3) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (4) เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทาง (end หรือ goal) หรือการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางเบื้องต้น (primary goal) คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ หรือช่วยเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติราชการให้เป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางสูงสุด (ultimate goal) คือ การพัฒนาประเทศที่ประเทศชาติและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน เป็นต้น และทุกคำดังกล่าวนี้ อาจมองในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (process) ที่มีระบบและมีหลายขั้นตอนในการดำเนินงานก็ได้

สมรรถนะอาชีพประจำหน่วย
ประยุกต์ใช้การบริหารงานในองค์กรในการดำรง ชีวิตประจำวันได้

เนื้อหา
1. ความหมายขององค์กร
2. การจัดโครงสร้างองค์กร
3. วงจรชีวิตขององค์กร
4. โครงสร้างขององค์กร แบบสูง แบบกว้าง
5. หน้าที่ขององค์การธุรกิจ
6. ความสำคัญขององค์กร
7. องค์กรที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
8. ระดับการจัดการองค์กร และขนาดการจัดการ
9. การบริหาร
10. หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร

จุดประสงค์การสอน/การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ องค์กรและการบริหารงานในองค์กร  (ด้านความรู้) 
2. เพื่อให้มีทักษะในการใช้งาน องค์กรและการบริหารงานในองค์กร  (ด้านทักษะ)
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมด้าน วัสดุ  อุปกรณ์  และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด มีเหตุและผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านคุณธรรม จริยธรรม)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1. อธิบายความหมายขององค์กรและการจัดโครงสร้างองค์กรได้ (ด้านความรู้) 
2. เขียนวงจรชีวิตขององค์กรและโครงสร้างองค์การ แบบสูง และแบบกว้าง ได้  (ด้านทักษะ)
3. ชี้แจงการบริหาร และหลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กรได้ (ด้านทักษะ)
4. แยกแยะองค์กรที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้ (ด้านทักษะ)
5. ลำดับระดับการจัดการองค์กร และขนาดการจัดการได้ (ด้านทักษะ)
6. ชี้แจงการบริหาร และหลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กรได้ (ด้านทักษะ)
7. การเตรียมความพร้อมด้านการเตรียม วัสดุ  อุปกรณ์นักศึกษาจะต้องกระจายงานได้ทั่วถึง  และตรงตามความสามารถของสมาชิกทุกคน   มีการจัดเตรียมสถานที่  สื่อ  วัสดุ อุปกรณ์ไว้อย่างพร้อมเพรียง  (ด้านคุณธรรม จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)
8. ความมีเหตุมีผลในการปฏิบัติงาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  นักศึกษาจะต้องมีการใช้ เทคนิคที่แปลกใหม่ใช้สื่อและเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอที่น่าสนใจนำวัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้   อย่างคุ้มค่าและประหยัด (ด้านคุณธรรม จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)
เนื้อหาสาระการสอน/การเรียนรู้ 
  ด้านความรู้ (ทฤษฎี)
1 . อธิบายความหมายขององค์กรและการจัดโครงสร้างองค์กรได้  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ  1)
1. ความหมายขององค์กร
Implication
องค์กร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้นิยามความหมายของ "องค์กร" ไว้ว่า องค์กรเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์กรบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์กรบริหารธุรกิจ
ในทางเศรษฐศาสตร์ องค์การ หรือ องค์กร (อังกฤษ: Organization) หมายถึง บุคคล กลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือ เป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนิน กิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์นั้น โดยมีทั้งองค์การที่แสวงหาผลกำไร คือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทาง เศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่าง ๆ และองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือ องค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลักไม่หวังผลกำไร เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น
2. อธิบายความหมายขององค์กรและการจัดโครงสร้างองค์กรได้  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ  2)

2. การจัดโครงสร้างองค์การ
The Organization
โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน (Functional Organization Structure)
หมายถึงโครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภทหรือหน้าที่การงาน เพื่อ แสดงให้เห็นว่าในแต่ละแผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทำ ซึ่งผลดีก่อให้เกิดการได้คนมีความสามารถ ทำงานในแผนก ทั้งยังฝึกบุคลากรในแผนกนั้น ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญกับหน้าที่ของงานนั้น อย่างลึกซึ้ง สำหรับฝ่ายบริหารระดับสูงนั้นก็เป็นเพียงแต่กำหนดนโยบายไว้กว้าง ๆ เพราะมี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านป้อนข้อมูลที่ถูกต้องให้พิจารณาตัดสินใจและให้มีความผิดพลาดได้น้อยมาก อีกประการหนึ่งในแต่ละแผนกนั้น เมื่อทุกคนมีความเชี่ยวชาญงานในหน้าที่ชนิดเดียวกัน ย่อมก่อ ให้เกิดการประสานงานได้ง่ายเนื่องจากแต่ละคนมีความสนใจในงานและใช้ภาษาเดียวกัน ทำให้ สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีได้ง่าย นอกจากนั้นการบริหารงานก็เกิดความประหยัดด้วย เพราะแต่ละแผนกได้ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสร้างผลิตผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้ เครื่องจักรและแรงงานก็ใช้ได้ผลคุ้มค่า การจัดรูปแบบองค์การแบบนี้มีผลเสียในทางการบริหารหลาย ประการ เช่น การแบ่งงานออกเป็นหลายแผนกและมีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ทำให้การวางแผนงาน ยุ่งยากขึ้น อาจมีการปัดความรับผิดชอบได้ นอกจากนั้น การจัดองค์การรูปแบบนี้มักเน้นที่การรวม อำนาจไว้ ณ จุดที่สูงที่สุด ไม่มีการกระจายอำนาจในการบริหารให้ลดลงไป
โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก (Line Organization Structure)
http://www.logistics-nvc.net/02/6/pic/6-4.jpg
หมายถึงการจัดรูปแบบโครงสร้างให้มีสายงานหลัก และมีการบังคับบัญชาจาก บนลงล่างเป็นขั้น ๆ ไม่มีการสั่งการแบบข้ามขั้นตอนในสายงาน ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เหมาะสม สำหรับองค์การต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการขยายตัวในอนาคตได้ เพราะเพียงแต่เพิ่มเติมโครงสร้างใน บางสายงานให้มีการควบคุมบังคับบัญชาลงไป การจัดองค์การแบบนี้อาจจะคำนึงถึงสภาพของ งานที่เป็นจริง เช่น แบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือแบ่งตามอาณาเขต หรือแบ่งตามประเภท ของลูกค้า หรือแบ่งตามกระบวนการ ผลดีของโครงสร้างแบบนี้มีหลายประการ เช่น การจัด โครงสร้างด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่าย การบังคับบัญชาตามสายงานเป็นขั้นตอน ฉะนั้นจุดใดที่มีการ ปฏิบัติงานล่าช้าสามารถตรวจสอบได้รวดเร็ว จากผู้บังคับบัญชาในระดับนั้นได้ง่าย นอกจากนั้นผู้ ปฏิบัติงานได้พบกับสภาพของปัญหาที่เป็นจริงและเกิดขึ้นเสมอ ทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ มีข้อมูลที่แน่นอน และสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็ว ซึ่งส่งผลสะท้อนให้มีการปกครองบังคับบัญชาที่อยู่ ในระเบียบวินัยได้ดี การติดต่อสื่อสารและการควบคุมการทำงานทำได้ง่าย ตลอดจนเมื่อต้องการจะ เปลี่ยนรูปโครงสร้างขององค์การสามารถที่จะเปลี่ยนได้สะดวก เพราะการจัดรูปแบบองค์การนี้ไม่มี อะไรสลับซับซ้อนมากนัก สุดท้าย องค์การนี้เหมาะสำหรับการจัดรูปแบบองค์การขนาดเล็ก แต่ไม่ เหมาะที่จะจัดในลักษณะองค์การขนาดใหญ่ที่มีการปฏิบัติงานสลับซับซ้อน ส่วนข้อเสียของ โครงสร้างแบบนี้นั้นได้ก่อให้เกิดปัญหาดังนี้คือ ประการแรก ไม่ได้สนับสนุนให้ผู้ทำงานมีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นอกจากนั้นบางขณะปริมาณของงานมีมาก จนต้องใช้เวลาทำงานประจำให้ เสร็จ ไม่มีเวลาที่จะมาศึกษาถึงระบบการทำงานที่ดีกว่า อีกประการหนึ่งลักษณะของโครงสร้างเช่นนี้ เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เพราะไม่สามารถครอบคลุมขอบข่ายของงานได้ทั้งหมดได้ และ ประการสุดท้าย ผู้บริหารระดับสูงอาจไม่ยอมมอบหมายงานให้ผู้บริหารงานระดับรองๆ ลงมา หรือ พยายามกีดกัน หรือส่งเสริมคนอื่นให้ขึ้นมาแทนตน ทำให้ขวัญของผู้ปฏิบัติงานในระดับรอง ๆ ไปไม่ดี หมดกำลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากโครงสร้างแบบนี้ให้อำนาจควบคุมโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชา ระดับสูงเท่านั้น
โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา (Staff Organization Structure)

หมายถึงการจัดโครงสร้างโดยการให้มีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยการบริหารงาน เช่น ที่ ปรึกษานายก ฯ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เป็นต้น เพราะว่าที่ปรึกษามีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาช่วยหรือคอยแนะนำ ทำให้องค์การ มองเห็นความสำคัญของการมีที่ปรึกษาขึ้น พวกที่ปรึกษาไม่มีอำนาจในการสั่งการใด ๆ นอกจาก คอยป้อนข้อมูลให้ผู้บริหารเป็นผู้ชี้ขาดอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการจัดองค์การรูปแบบนี้มีผลดีคือ ทำให้การ ดำเนินงานต่าง ๆ มีการวางแผนและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ มีที่ปรึกษาคอยให้ความกระจ่างและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ และทำให้การทำงานใช้หลักเหตุและผลมากขึ้น มีการใช้ เครื่องมือที่ทันสมัย และคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังทำให้งานตามสายงานและงาน ของคณะที่ปรึกษาสัมพันธ์กัน และเข้าใจบทบาทซึ่งกันและกัน แต่ผลเสียของการใช้ที่ปรึกษาอาจมี การปีนเกลียวกัน เนื่องจากความเห็นไม่ลงรอยกัน และฝ่ายคณะที่ปรึกษาอาจท้อถอยในการทำงาน ได้ เพราะมีหน้าที่เพียงเสนอแนะแต่ไม่มีอำนาจสั่งการ
โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร (Committees Organization Structure)
หมายถึงการจัดโครงสร้างองค์การโดยให้มีการบริหารงานในลักษณะคณะ กรรมการ เช่น คณะกรรมการบริหารงานรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการ อสมท. และคณะ กรรมการบริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น การบริหารงานองค์การโดยให้มีคณะกรรมการบริหาร เช่นนี้ ผลดี จะช่วยขจัดปัญหาการบริหารงานแบบผูกขาดของคนคนเดียว หรือการใช้แบบเผด็จการ เข้ามาบริหารงาน นอกจากนั้น การตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลมาจากหลาย ๆ ฝ่ายจะ ทำให้ทุกคนเข้าใจปัญหาและก่อให้เกิดการยอมรับในปัญหาที่ฝ่ายอื่นเผชิญอยู่ทำให้การประสานงาน เป็นไปได้ง่ายขึ้น ข้อเสียของการใช้ระบบคณะกรรมการ คือ เกิดการสูญเสียทรัพยากร เนื่องจาก เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการประชุมกว่าจะได้ข้อยุติอาจไม่ทันการต่อการวินิจฉัยสั่งการได้ หรืออาจ เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในระดับคณะกรรมการหรือยอมประนีประนอมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติที่ รวดเร็ว ทำให้การตั้งคณะกรรมการไร้ผล
โครงสร้างองค์การงานอนุกร (Auxiliary)
คือ หน่วยงานช่วย หรือเรียกว่าหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับธุรการ และอำนวยความสะดวก เช่น งานเลขานุการ และงานตรวจสอบภายใน เป็นต้น
3. ชี้แจงการบริหาร และหลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ได้  (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ  3)

3. วงจรชีวิตขององค์กร
The life cycle of the organization
การจัดการองค์การในแต่ละช่วงวงจรชีวิตขององค์การ พิทยา บวรวัฒนา. ได้กล่าวถึงวงจรชีวิตขององค์การไว้ดังนี้ (พิทยา บวรวัฒนา. (2544). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร: โรง. พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
1. ช่วงก่อนคลอด ช่วงอยู่ในท้อง (courtship stage)
ทิศทางองค์การ ผลิตผลงานบ้าง มุ่งบริหารบ้าง มุ่งสร้างสรรค์งานเป็นสำคัญ มีความสามัคคีภายในสูง
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ เลิกความคิด
การรักษาและเลี้ยงดู ใช้คณะกรรมการที่ไม่เข้มแข็งนัก และมักประกอบด้วยคนกันเอง
2.ช่วงเด็กทารก (infant organization)
ทิศทางองค์การ มุ่งผลิตผลงานเป็นหลัก มุ่งบริหารบ้าง มีการสร้างสรรค์บ้าง มีความสามัคคีภายในสูง
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ ผู้ก่อตั้งเลิกทำงานเงินทุนที่หาได้ไม่พอ
การรักษาและเลี้ยงดู ใช้คณะกรรมการที่ไม่เข้มแข็งนัก และมักประกอบด้วยคนกันเอง
3. ช่วงเด็ก (the go-go stage)
ทิศทางองค์การ มุ่งผลิตผลงานเป็นหลัก มุ่งบริหารบ้าง มุ่งสร้างสรรค์ มีความสามัคคีภายใน
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ ทำงานมากไปผูกพันกับผู้ก่อตั้งมากไป
การรักษาและเลี้ยงดู ใช้คณะกรรมการที่เข้มแข็งทำหน้าที่วางแผนจัดตั้งกลไกการทำงานขององค์การ
4. ช่วงวัยรุ่น (the adolescent organization)
ทิศทางองค์การ ผลิตผลงานบ้าง มุ่งการบริหารเป็นสำคัญ มุ่งสร้างสรรค์งานสูง มีความสามัคคีภายใน
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ มีความขัดแย้งภายในองค์การระหว่างกลุ่มสูง เน้นบริหารและเน้นการผลิตงาน
การรักษาและเลี้ยงดู ทำงานมุ่งที่งาน พยายามให้คนในองค์การลืมความขัดแย้ง เน้นเรื่ององค์การส่วนรวม
5. ช่วงหนุ่มสาว (the prime organization)
ทิศทางองค์การ มุ่งผลิตผลงานมาก มุ่งบริหารเป็นสำคัญ มุ่งการสร้างสรรค์สูง มีความสามัคคีภายในสูง
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ เน้นการสร้างสรรค์น้อยๆจนกลายเป็นมุ่งผลิตผลงานมุ่งบริหาร มีการสร้างสรรค์บ้าง
การรักษาและเลี้ยงดู รักษาระดับการสร้างสรรค์โดยการกระจายอำนาจ(Decentralization) ให้ฝ่ายจัดการรองลงมามีโอกาสเสนอความคิดใหม่ ๆ
6. ช่วงผู้ใหญ่ (the mature organization)
ทิศทางองค์การ มุ่งผลิตผลงานเป็นหลัก มุ่งบริหาร มีการสร้างสรรค์บ้าง มุ่งความสามัคคี
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ สมาชิกองค์การขาดความกระตือรือร้นที่จะผลิตผลงาน
การรักษาและเลี้ยงดู การรักษาใช้วิธีให้ฝ่ายจัดการมาประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา คอยตรวจองค์การอย่างสม่ำเสมอและปรับให้องค์การตื่นตัวที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (คล้ายคนที่มีร่างการสมบูรณ์ตลอดเวลา)
7. ช่วงศักดินา(the aristocratic organization)
ทิศทางองค์การ ผลิตผลงานบ้าง มุ่งบริหาร มีการสร้างสรรค์บ้าง มุ่งความสามัคคี
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ ขึ้นราคาสินค้า ปริมาณการขายมีการลดลง
การรักษาและเลี้ยงดู การรักษาใช้วิธีให้ฝ่ายจัดการมาประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา คอยตรวจองค์การอย่างสม่ำเสมอและปรับให้องค์การตื่นตัวที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (คล้ายคนที่มีร่างการสมบูรณ์ตลอดเวลา)
8. ช่วงราชการ (กลาย ๆ) (the early bureaucracy)
ทิศทางองค์การ มุ่งบริหาร มีความสามัคคีบ้าง
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ ความขัดแย้งภายในระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอด
การรักษาและเลี้ยงดู ผ่าตัดเปลี่ยนฝ่ายจัดการ เสร็จแล้วใช้วิธี A'S/M อย่างเต็มที่
9. ช่วงราชการ (bureaucracy)
ทิศทางองค์การ มุ่งการสร้างสรรค์
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ เลิกอนุญาตให้องค์การผูกขาดงานและบริการ
การรักษาและเลี้ยงดู
10.ช่วงมรณภาพ (death)
ทิศทางองค์การ ไม่มุ่งด้านใด ไม่ผลิตผลงาน ไม่บริการ
สาเหตุการตายและเสื่อมขององค์การ สมาชิกองค์การไม่ทำงานอะไรเลย
การรักษาและเลี้ยงดู
4. โครงสร้างองค์กรแบบสูง และแบบกว้าง
Organizational structure and wide
การออกแบบโครงสร้างองค์การ ( สมคิด บางโม, 2538) มีสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึง คือ ความสูง และความกว้างของโครงสร้าง ถ้าโครงสร้างขององค์การมีการบังคับบัญชากันหลายชั้นหลายระดับ กระบวนการทำงานย่อมช้า แต่ถ้าโครงสร้างองค์การมีระดับการสั่งการน้อยกระบวนการทำงานย่อมรวดเร็วกว่า  ช่วงของการควบคุม (span of control) หมายถึง จำนวนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ถูกควบคุมหรือสั่งการจากผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คุณวิสนี เป็นประธานบริษัท และมีคุณกำชัยเป็นรองประธานบริษัทเพียงคนเดียว แสดงว่าช่วงของการควบคุมของประธานคือมีเพียง 1 แต่ถ้าบริษัทนี้มีรองประธาน 3 คน แสดงว่าช่วงของการควบคุมของประธานมีเท่ากับ 3 เป็นต้น


ข้อดีของโครงสร้างแบบสูง
1.การบริหารงานใกล้ชิด
2.การควบคุมใกล้ชิด
3.การติดต่อสื่อสารรวดเร็วระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
4.งานมีคุณภาพเพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ชำนาญการเฉพาะ
ข้อจำกัดของโครงสร้างแบบสูง
1.ค่าใช้สูงสำหรับหัวหน้าแต่ละระดับ
2.มีระดับการจัดการมาก
3.ระยะทางระหว่างระดับสูงถึงระดับต่ำห่างเกินไป
4. หัวหน้ามีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของลูกน้องมากเกินไป


ข้อดีของโครงสร้างแบบกว้าง
1.ลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร
2.ลูกน้องมีอิสระสูงในการทำงาน เนื่องจากหัวหน้ามีผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากจึงมีการควบคุมน้อย
ข้อจำกัดของโครงสร้างแบบกว้าง
1.ต้องการผู้บังคับบัญชาที่มีความสามารถมา
2.ผู้บังคับบัญชาอาจจะควบคุมงานทุกอย่างได้ไม่ทั่วถึง
หลักการจัดองค์การ
หลักการจัดองค์การ OSCAR ของ Henri Fayol มาจากคำว่า Objective, Specialization, Coordination, Authority และ Responsibility ซึ่ง Fayol ได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ เมื่อนำเอาตัวอักษรตัวแรกของคำทั้ง 5 มาเรียงต่อกัน จะทำให้สะกดได้คำว่า OSCAR สำหรับรายละเอียด ทั้ง 5 คำจะขอกล่าวไว้ใน " หลักในการจัดองค์การที่ดี " 
หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536)
1.    หลักวัตถุประสงค์ (Objective) กล่าวว่า องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นตำแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย ซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม
2.    หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization) กล่าวว่า การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน ควรจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนเดียว 
3.    หลักการประสานงาน (Coordination) กล่าวว่า การประสานงานกัน คือ การหาทางทำให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันและทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ 
4.    หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า Scalar Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ) บางทีเรียกว่า Chain of command (สายการบังคับบัญชา) การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง
5.    หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หลักของความรับผิดชอบ กล่าวว่า อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ คือบุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี
6.    หลักความสมดุล (Balance) จะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทำงานให้สมดุลกันกล่าวคือปริมาณงานควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอำนาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย
7.    หลักความต่อเนื่อง (Continuity) ในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง ยิ่งถ้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านคงจะไปไม่รอดแน่ 
8.    หลักการโต้ตอบและการติดต่อ (Correspondence) ตำแหน่งทุกตำแห่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและติดต่อสื่อสารกัน องค์การจะต้องอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ 
9.    หลักขอบเขตของการควบคุม (Span of control) เป็นการกำหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจำนวนหน่วยงานย่อยมากเกินไป โดยปกติหัวหน้าคนงานไม่เกิน 6 หน่วยงาน  
10.  หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) ในการจัดองค์การที่ดี ควรให้เจ้าหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าง่านเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One man one boss"  
11.  หลักตามลำดับขั้น (Ordering) ในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคำสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ควรปฏิบัติการตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคำสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง เช่น อธิการจะสั่งการใด ๆ แก่หัวหน้าภาควิชาควรที่จะสั่งผ่านหัวหน้าคณะภาควิชานั้นสังกัดอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้แจ้งหัวหน้าคณะวิชานั้น ๆ ทราบด้วย เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และอาจจะเป็นการทำงายขวัญและจิตใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ตั้งใจ 
12.  หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) ในการพิจาความดีความความชอบและการเอนตำแหน่งควรถือหลักว่า ผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับใต้บังคับบัญชาของตนโดยใกล้ชิดและย่อมทราบพฤติกรรมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่น ดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิมีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ใต้บังคับบัญชาของเขา และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของบุคคลในองค์การด้วย
5. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ
Duties of enterprise
หน้าที่ขององค์การธุรกิจที่สำคัญ มีดังนี้
1. องค์การและการจัดการ (Organization and Management : O & M)
องค์การ (Organization) เป็นระบบการจัดการที่ออกแบบและดำเนินงานให้บรรลุวัตถุ-ประสงค์เฉพาะอย่าง หรือหมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำงานร่วมกัน และประสานงานกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของกลุ่มประสบความสำเร็จ
การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยใช้การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organization) การชักนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) มนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเงิน ทรัพยากรข้อมูลขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operations) เป็นกิจกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ (Conversion Process) จากปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Output) เพื่อให้มีความสม่ำเสมอในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับการออกแบบทางวิศวกรรม โดยก่อให้เกิดผลเสียต่ำสุดและเกิดผลผลิตสูงสุดตลอดจนมีความรวดเร็วต่อการปรับเข้าหาความต้องการซื้อของลูกค้าได้
3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management : HRM) เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การและเป้าหมายเฉพาะบุคคล
4. การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการวางแผนและการบริหารแนวความคิดเกี่ยวกับการตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้า บริการหรือความคิดเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของบุคคลและบรรลุเป้าหมายขององค์การ
5. การบัญชี (Accounting) เป็นขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานหรือสรุปข้อมูลทางการเงิน หรือเป็นการออกแบบระบบการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานทางการเงิน โดยใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้และแปลความหมายของรายการนั้น
6. การเงิน (Finance) เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อความอยู่รอด ความเจริญเติบโต และความคล่องตัวทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดและความมั่งคั่งสูงสุด หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุน และการใช้เงินทุนด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดมูลค่าของธุรกิจสูง
7. ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หรือ ระบบสารสนเทศของกิจการ (Management Information System : MIS) เป็นระบบของกระบวนการข้อมูลที่ออกแบบเพื่อรวบรวม เก็บรักษา แยกแยะ และนำกลับมาใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม

6. ความสำคัญของการจัดองค์กร
The importance of organization
องค์กรเป็นที่รวมของคนและงานต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานขององค์กรปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ จึงจำเป็นต้องแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบหมายให้รับผิดชอบและความถนัดจึงเห็นว่าการจัดองค์กรมีความจำเป็น และก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน ดังนี้
- ต่อองค์กร
- ต่อผู้บริหาร
- ต่อผู้ปฏิบัติงาน

7. ประเภทขององค์การ
(Types of Organization)

การจำแนกองค์การโดยยึดโครงสร้าง (สมคิด บางโม, 2538) แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
7.1 องค์การแบบเป็นทางการ (formal organization) เป็นองค์การที่มีการจัดโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบแบบแผนแน่นอน การจัดตั้งมีกฎหมายรองรับ บางแห่งเรียกว่า องค์การรูปนัย ได้แก่ บริษัท มูลนิธิ หน่วยราชการ กรม โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ ซึ่งการศึกษาเรื่ององค์การและการจัดการจะเป็นการศึกษาในเรื่องขององค์การประเภทนี้ทั้งสิ้น
7.2 องค์การแบบไม่เป็นทางการ (informal organization) เป็นองค์การที่รวมกันหรือจัดตั้งขึ้นด้วยความพึงพอใจและมีความสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัว ไม่มีการจัดระเบียบโครงสร้างภายใน มีการรวมตัวกันอย่างง่ายๆ และเลิกล้มได้ง่าย องค์การแบบนี้เรียกว่า องค์การอรูปนัย หรือ องค์การนอกแบบ เช่น ชมรมต่างๆหรือกลุ่มต่างๆ อาจเป็นการรวมกลุ่มกันตามความสมัครใจของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งเนื่องมาจากรายได้ อาชีพ รสนิยม ศาสนา ประเพณี ตำแหน่งงาน ฯลฯ

8. ระดับการจัดองค์กร และขนาดการจัดการ
The organization And management
ระดับการจัดองค์กร และขนาดการจัดการ จุดประสงค์ของการจัดองค์กร คือ การที่ผู้บริหารต้องการให้พนักงานในระดับต่าง ๆ ได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าองค์กรมีขนาดใหญ่และซับซ้อน การทำงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความขัดแย้ง และมีอุปสรรค ทำให้ผู้บริหารมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจำกัดระดับการบังคับบัญชา และขนาดขององค์กรให้มีขนาดที่เหมาะสม องค์กรที่มีขนาดใหญ่จะมีข้อเสียในเรื่องของการปรับตัวล่าช้า ไม่สามารถจะแข่งขันกับผู้อื่นได้ แต่ถ้าหากองค์กรมีขนาดเล็กเกินไป ต้นทุนในการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ จะมีน้อยองค์กรก็จะมีการขยายตัวได้ช้า

9. การบริหาร
Administration
คำว่า การบริหาร (Administration) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “Administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ (Assist) หรืออำนวยการ (Direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมี ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “Minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สำหรับความหมายดั้งเดิมของคำว่า Administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่าง ๆ
การบริหาร หรือเรียกว่า การบริหารจัดการ หมายถึง การดำเนินงาน หรือการปฏิบัติ งานใด ของหน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ถ้าเป็นหน่วยงานภาคเอกชน หมาย ถึงของหน่วยงาน และ/หรือ บุคคล) ที่เกี่ยวข้องกับคน สิ่งของและหน่วยงาน โดยครอบคลุมเรื่อง ต่าง ๆ เช่น
1. การบริหารนโยบาย (Policy)
2. การบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority)
3. การบริหารคุณธรรม (Morality)
4. การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Society)
5. การวางแผน (Planning)
6. การจัดองค์การ (Organizing)
7. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing)
8. การอำนวยการ (Directing)
9. การประสานงาน (Coordinating)
10. การรายงาน (Reporting)
11. การงบประมาณ (Budgeting)
10. หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
(Quality Management System)
หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ประกอบด้วย
10.1 มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือการมุ่งเน้นที่ลูกค้า โดย
1. สำรวจตรวจสอบและทดสอบความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ความคาดหวัง ที่ลูกค้าต้องการจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จนถึงความพึงพอใจเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือ บริการ
2. ตรวจสอบความต้องการของ ลูกค้า โดยให้ความคาดหวังมีความสมดุลกับความ พอใจ
3. ประเมินผลความพึงพอใจของ ลูกค้าเท่ากับความคาดหวังหรือไม่ ต้องปรับปรุงในเรื่อง อะไร
4. สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับข้อมูล ความต้องการที่ถูกต้อง โดยการจัดระบบการบริหาร ลูกค้าสัมพันธ์
5. สร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ให้ทั่วทั้งองค์กรร่วมตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า)
10.2 บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership) ผู้นำขององค์กรใช้หลักการบริหาร อย่างเป็นผู้นำ เพื่อนำทางให้เพื่อนร่วมงานในองค์กรไปสู่เป้าหมายคุณภาพ ทั้งนี้ต้องคงไว้ซึ่ง บรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วย แนวทางการบริหารงานอย่างเป็นผู้นำ ได้แก่
1. กำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจนตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แล้วสร้างขวัญกำลังให้พนักงานมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย
3. สร้างค่านิยมส่งเสริมคุณภาพในองค์กรด้วยการฝึกอบรม
4. สร้างคุณค่าการทำงานด้วยการส่งเสริมระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายใน องค์กร
5. สร้างจริยธรรมที่ดีในการทำงานด้วยการเป็นแบบอย่างให้พนักงานเห็น
6. สร้างความเชื่อมั่นขจัดความกลัวและความไม่มั่นคงขององค์กร ด้วยการ สร้างความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
7. สร้างความสำเร็จด้วยการจัดทรัพยากรอย่างพอเพียง
8. สร้างความเข้าใจระหว่างพนักงานกับผู้บริหารด้วยระบบการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ
10.3 การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of People) สมาชิกทุกคนของ องค์กรมีความสำคัญ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้โดยเปิดโอกาสให้พนักงานร่วมคิด ร่วม สร้างสรรค์ หรือร่วมปรับปรุงแก้ไขปัญหาการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. องค์กรยอมรับความสามารถของพนักงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของ พนักงาน
2. พนักงานมีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร
3. สร้างกิจกรรมให้พนักงานมีส่วนร่วม
4. สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
5. เปิดโอกาสให้พนักงานได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ ทั้งจาก ภายในองค์กร และภายนอกองค์กร
6. ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน
7. ประเมินผลงาน โดยรวมเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน
10.4 การบริหารโดยกระบวนการ (Process Approach to Management) กระบวนการประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินการ และผลลัพธ์จากการดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ได้แก่
1. ปัจจัยนำเข้า คือ ความต้องการของลูกค้า มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน วัดและ ประเมินตามข้อบ่งชี้ได้ นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ด้วย
2. กระบวนการดำเนินงาน มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง มีระบบการควบคุมงาน การฝึกอบรม อุปกรณ์ และ วัตถุดิบอย่างเพียงพอ มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่อย่าง ชัดเจน
3. ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน มีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ความเสี่ยงที่อาจจะ เกิดขึ้น และผลกระทบจากภายในและภายนอกขององค์กรที่ส่งผลต่อลูกค้า
10.5 การบริหารงานอย่างเป็นระบบ (System Approach to Management) คือ การมององค์กรจากโครงสร้างที่ประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะ แต่การบริหารงานอย่าง เป็นระบบ คือความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันให้ระบบความสัมพันธ์ ระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากพอจะสร้างผลงานคุณภาพขององค์กร การบริหารให้ ระบบความสัมพันธ์เกิดประสิทธิภาพทำได้โดย
1. วางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่าง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ แบ่งแยกหน้าที่แต่มีความเกี่ยวข้อง
2. สร้างระบบความสัมพันธ์ โดยตั้งจุดประสงค์คุณภาพร่วมกัน
3. กำหนดวิธีการดำเนินงาน ให้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น
4.การประเมินผลของฝ่ายและหน่วยงาน เป็นการประเมินโดยมองการ เชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงาน
5. การปรับปรุงงานของฝ่ายและหน่วยงานต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพ โดยรวมขององค์กร
10.6 การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) การปรับปรุงงาน อย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างมาตรฐานให้เกิดขึ้น โดยการปฏิบัติดังนี้
1. กำหนดนโยบายการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
2. สร้างระบบการบริหารให้มีกระบวนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
3. จัดการฝึกอบรมให้พนักงานทุกระดับ ใช้ระเบียบวิธี PDCA ในการปฏิบัติงาน และดำเนินการปรับปรุงงานทันทีที่เห็นปัญหา หรือจุดบกพร่อง
4. จัดกิจกรรมและปัจจัยสนับสนุนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีแผนการประเมิน มีเกณฑ์การประเมิน และมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ย่อมทำให้พนักงานเข้าใจในความจำเป็นต้องปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
10.7 ใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ การตัดสินใจใด ๆ ถ้าใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง และมีระบบการจัดเก็บที่เชื่อถือได้ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และถ้าผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาแล้ว อย่างเป็นระบบ ย่อมทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพ การใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ ทำได้โดย
1. จัดให้มีการรวบรวม และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
2. ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และใหม่เสมอ
3. มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ
4. เลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น
5. การตัดสินใจนอกจากจะให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องใช้ประสบการณ์ และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำด้วย
10.8 สัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้ส่งมอบหรือ ตัวแทนจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับองค์กร โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น สัมพันธภาพระหว่าง องค์กรกับผู้ส่งมอบจึงต้องส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันสร้างคุณภาพเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แนวทางการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่
1. คัดเลือกผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ
2. สร้างระบบความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
3. สร้างระบบการสื่อสาร หรือเครือข่ายการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ
4. ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความซื่อสัตย์โปร่งใส
5. ให้ความจริงใจกับการพัฒนาระบบความสัมพันธ์ โดยเน้นการสร้างคุณภาพ ให้กับทั้ง 2 ฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น