วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา และใช้กระดานข่าว


กล่องข้อความ: จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา





                บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลาย
คำสั่งเช่น
write, talk หรือมีการสนทนา เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือ
เปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
  • ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญ
    ที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจ
    สร้างปัญหาให้ได้
  • ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการ
    เรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่าย
    ถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้
      เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp
    ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
  • หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจ
    ติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจอ
    อย่างแน่นอนแล้ว
  • ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน
    ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
กล่องข้อความ: จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์







                ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์
(UseNet News)ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสาร
ที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า 
Mailing  lists
ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปรายเรื่อง    ต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่น
ข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก
ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ   ข่าวจะต้องเคารพ
กฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่
  • ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม
    ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้
  • ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียว
    ต่อเรื่อง
  • ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้าง
    ความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
  • ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือ
    ข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
  • จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะ
    หลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
  • ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียน
    ข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยัง
    ผู้รายงานข่าวผู้แรก
  • ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะ
    ของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า
  • การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ
    ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลข
    โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่น
    ที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือ
    การแสดงความไม่พอใจในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย 
    ข้อความแทน
  • ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
  • ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคาย
    ในการเขียนข่าว
  • ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
  • ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและ
    เมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
  • ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
  • เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
    • IMHO-in  my  humble /  honest  opinion
    • FYI-for  your  information
    • BTW-by  the  way
  • การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่า
    ข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก
     และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
  • ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น
    และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
  • ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้อง
    อ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน 
    (พีซีหรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่
    หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ
    เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก




ที่มา http://home.kku.ac.th/regis/student/Unnamed%20Site%201/Untitled-4.htm
        http://www.nukul.ac.th/it/content/10/10.6-Netti.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น