6. หลักการปฏิบัติตนในงานอาชีพ (4)
Practice their profession
ด้านความรู้
Knowledge
1. การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน
2. พฤติกรรมในการทำงาน
3. คุณลักษณะเฉพาะของผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน
ด้านทักษะ
Skill
1. ปฏิบัติตนในงานอาชีพได้เหมาะสมได้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
Moral & Ethics
1. ความรับผิดชอบ
2. ความสนใจใฝ่รู้
สาระสำคัญ
การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติ
งานเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับองค์กร ผู้บริหารจึงต้องคำนึงถึงการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี
เพื่อส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมี ประสิทธิภาพ
สมรรถนะอาชีพประจำหน่วย
ปฏิบัติตนในงานอาชีพได้เหมาะสมได้
เนื้อหา
1. การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน
2. การสร้างจิตสำนึกที่ดี
3. พฤติกรรมในการทำงาน
4. พฤติกรรมในองค์กร
5. มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
6.
คุณลักษณะเฉพาะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
7. การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา
8. วินัย
9. วินัยในการทำงาน
10. รูปแบบของวินัยในการทำงาน
จุดประสงค์การสอน/การเรียนรู้
• จุดประสงค์ทั่วไป / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ หลักการปฏิบัติตนในงานอาชีพ (ด้านความรู้)
2. เพื่อให้มีทักษะในการใช้งาน หลักการปฏิบัติตนในงานอาชีพ (ด้านทักษะ)
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเตรียมความพร้อมด้าน วัสดุ อุปกรณ์
และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด
มีเหตุและผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านคุณธรรม จริยธรรม)
• จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1. สร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานได้ (ด้านความรู้)
2. สร้างพฤติกรรมในการทำงานและพฤติกรรมในองค์กรได้ (ด้านทักษะ)
3. มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานได้
(ด้านทักษะ)
4. ชี้แจงคุณลักษณะเฉพาะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานได้
(ด้านทักษะ)
5. สร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชาได้
(ด้านทักษะ)
6. มีวินัยในการทำงาน (ด้านทักษะ)
7. ยกตัวอย่างรูปแบบของวินัยในการทำงานได้
(ด้านทักษะ)
8. การเตรียมความพร้อมด้านการเตรียม วัสดุ อุปกรณ์นักศึกษาจะต้องกระจายงานได้ทั่วถึง และตรงตามความสามารถของสมาชิกทุกคน มีการจัดเตรียมสถานที่ สื่อ
วัสดุ อุปกรณ์ไว้อย่างพร้อมเพรียง
(ด้านคุณธรรม จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)
9. ความมีเหตุมีผลในการปฏิบัติงาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษาจะต้องมีการใช้ เทคนิคที่แปลกใหม่ใช้สื่อและเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอที่น่าสนใจนำวัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ อย่างคุ้มค่าและประหยัด (ด้านคุณธรรม
จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)
เนื้อหาสาระการสอน/การเรียนรู้
• ด้านความรู้(ทฤษฎี)
1. สร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานได้
(จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ 1)
1. การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน
Raising awareness of good practice.
การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับองค์กร ผู้บริหารจึงต้องคำนึงถึงการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีเพื่อส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
มีเป้าหมายในการทำงานชัดเจน มีความรับผิดชอบในการทำงาน
งานที่ทำออกมาก็จะเป็นงานที่มีคุณภาพสูงสุด
อีกทั้งพนักงานก็ยังมีจิตสำนึกที่ดีในการช่วยดูแลทรัพยากรและทรัพย์สินของบริษัทเสมือนหนึ่งเป็นของตนเอง
คนที่เป็นผู้จัดการจึงต้องมีความอดทน รอบคอบ มีทักษะในการฝึกและสอนคนให้เป็น
รู้จักที่จะติดตามผลงานกับพนักงาน
เมื่อคุณได้มอบความรับผิดชอบในการทำงานเป็นที่เรียบร้อยและชัดเจน
ควรตรวจสอบความคืบหน้าของงานที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งก็เท่ากับว่าได้กระตุ้นให้พนักงานเกิดความคิดริเริ่ม
และรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด
สุดท้ายองค์กรของคุณก็จะเข้าสู่องค์กรที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน
ประโยชน์ที่จะได้รับก็คือจะสามารถลดภาระในการควบคุมงานลง
พนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีความคิดริเริ่มใหม่ๆในการทำงาน
องค์กรจะมีพนักงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี
และมีศักยภาพที่จะพัฒนาองค์กรของให้ประสบความสำเร็จ
2. การสร้างจิตสำนึกที่ดี
consciousness
2.1• ให้พนักงานมีอิสระในการทำงานในแบบของเขามากที่สุด
หมายถึงให้พนักงานเป็นผู้ตั้งเป้าหมายในการทำงาน
และกำหนดวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายโดยพนักงานผู้นั้นเป็นผู้ระบุขึ้นมาตามสายงายของตนเอง
รวมทั้งกระบวนการในการแก้ปัญหาในการผลิต และข้อเสนอแนะต่างๆในการทำงาน โดยไม่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และระเบียบของการทำงาน
2.2• มอบอำนาจให้กับพนักงานในการตัดสินใจตามกรอบงานที่เขารับผิดชอบ
จะเป็นการพัฒนาความมั่นใจและความเคารพนับถือในตัวเอง
นั่นเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความคิดริเริ่มที่จะทำให้งานสำเร็จอย่างไรโดยได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะผู้จัดการคุณก็ต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
โดยการมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้อย่างเต็มที่
เพื่อให้เขาได้ทำงานได้สำเร็จลุล่วง
2.3• การจัดการต้องมีระบบที่ระบุถึงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
เพื่อให้พนักงานรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน
พนักงานจะต้องทราบว่าความรับผิดชอบของตนคืออะไร
อำนาจของตนเองมีแค่ไหนและต้องสามารถระบุถึงความสำเร็จในงานที่ตนเองรับผิดชอบได้
2.4• สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้วิธีการของตัวเองในการตัดสินใจ
เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าคุณพร้อมที่จะสนับสนุนในการตัดสินใจและการกระทำของเขา
เขาก็พร้อมที่จะทุ่มเทแรงใจและแรงกายให้กับการทำงาน
เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพมากที่สุด
2.5• มอบหมายให้เขาเรียนรู้งานในหน้าที่ที่สูงขึ้น
โดยเรียนรู้จากหัวหน้างาน และพยายามให้เขาได้ฝึกหรือมีโอกาสในการทำงานนั้นให้มากที่สุด
รวมถึงการมอบหมายความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาจะเป็นการทำให้พนักงานมีจิตสำนึกต่อการทำงานได้มากขึ้น
ขณะเดียวกันจะทำให้องค์กรมีพนักงานที่มีความสามารถหลากหลายและมีองค์ความรู้จากการเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
3.พฤติกรรมในการทำงาน
Behavior at work.
1. พฤติกรรมในการทำงาน
พฤติกรรมในการทำงานที่ดี จะ เป็นพฤติกรรมที่เราสมควรที่จะทำในการทำงานเช่น
การตรงต่อเวลา ไม่โต้เถียงเจ้านายโดยไม่ใช้เหตุผล แก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยดี
นั่งฟังการประชุมอย่างตั้งใจ พฤติกรรม ในการทำงานที่ไม่ดี
จะเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในองค์กร เช่น
เล่นเกมส์ในที่ทำงานหรือพูดคุยกันเสียงดัง นอนหลับในที่ประชุม
ไม่มีความรับผิดชอบและไม่ตรงต่อเวลา
2. จริยธรรมในการทำงาน
จริยธรรม ในการทำงานที่ดี จะเป็นหลักการเหตุผลที่ดีที่พึงปฏิบัติในการทำงาน เช่น
การทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง ไม่นำความลับของทางบริษัทไปเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกรู้
ไม่ยักยอกเงินบริษัทไปเป็นของตนเอง จริยธรรม ในการทำงานที่ไม่ดี
จะทำให้ส่งผลเสียต่อองค์กร เช่น
การขายความลับให้บริษัทคู่แข่งเพราะมันอาจจะทำให้บริษัทของเราถึงกับล้ม ละลายก็ได้
ทำให้ส่งผลเสียต่อทุกฝ่ายและทุกคนอาจจะตกงานได้
3. การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การทำงานร่วมกับผู้อื่นในทางที่ดี จะเป็นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เช่น
เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ง่าย ชอบ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยกัน
แบ่งปันสิ่งของให้กัน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันได้ ยิ้มแย้มแจ่มใส
ทักทายเพื่อนร่วมงานเสมอที่เข้ามาทำงาน การ ทำงานร่วมกันผู้อื่นที่ไม่ดี
เป็นการที่ไม่มีความมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น
การไม่ทักทายเพื่อนร่วมงาน ไม่ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยกัน
หลีกหนีปัญหาหรือแก้ปัญหาเพียงลำพังไม่ปรึกษาเพื่อนร่วมงาน
ชอบทำงานคนเดียวคือเข้ากับผู้อื่นไม่ได้
4. บุคลิกภาพในการทำงาน
บุคลิกภาพ ในการทำงานที่ดี คือ จะเป็นการแสดงบุคลิกภาพในการทำงานที่ดี เช่น
การนั่งอย่างสำรวมในห้องประชุม ไม่เดินหลังค่อม ไม่กัดแทะเล็บต่อหน้าผู้อื่น
ไม่นั่งเอามือเท้าคางในที่ประชุม บุคลิกภาพ ในการทำงานที่ไม่ดี คือ
การแสดงกิริยาไม่สุภาพในการทำงาน เช่น นั่งไขว้ห้าง แต่งตัวสกปรก ไม่รีดเสื้อผ้า
เมามาทำงาน นั่งเอามือเท้าคางในที่ประชุม นอนในเวลาทำงาน
การสร้างจิตสำนึกที่ดี
• ให้พนักงานมีอิสระในการทำงานในแบบของเขามากที่สุด
หมายถึงให้พนักงานเป็นผู้ตั้งเป้าหมายในการทำงาน และกำหนดวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายโดยพนักงานผู้นั้นเป็นผู้ระบุขึ้นมา
ตามสายงายของตนเอง รวมทั้งกระบวนการในการแก้ปัญหาในการผลิต
และข้อเสนอแนะต่างๆในการทำงาน โดยไม่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และระเบียบของการทำงาน
• มอบอำนาจให้กับพนักงานในการตัดสินใจตามกรอบงานที่เขารับผิดชอบ
จะเป็นการพัฒนาความมั่นใจและความเคารพนับถือในตัวเอง
นั่นเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความคิดริเริ่มที่จะทำให้งานสำเร็จอย่างไรโดยได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะผู้จัดการคุณก็ต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
โดยการมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้อย่างเต็มที่
เพื่อให้เขาได้ทำงานได้สำเร็จลุล่วง
• การจัดการต้องมีระบบ
ที่ระบุถึงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อให้พนักงานรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน
พนักงานจะต้องทราบว่าความรับผิดชอบของตนคืออะไร
อำนาจของตนเองมีแค่ไหนและต้องสามารถระบุถึงความสำเร็จในงานที่ตนเองรับผิดชอบได้
• สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้วิธีการของตัวเองในการตัดสินใจ
เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าคุณพร้อมที่จะสนับสนุนในการตัดสินใจและการกระทำของเขา
เขาก็พร้อมที่จะทุ่มเทแรงใจและแรงกายให้กับการทำงาน เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพมากที่สุด
• มอบหมายให้เขาเรียนรู้งานในหน้าที่ที่สูงขึ้น
โดยเรียนรู้จากหัวหน้างาน
และพยายามให้เขาได้ฝึกหรือมีโอกาสในการทำงานนั้นให้มากที่สุด
รวมถึงการมอบหมายความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาจะเป็นการทำให้พนักงานมีจิตสำนึกต่อการทำงานได้มากขึ้น
ขณะเดียวกันจะทำให้องค์กรมีพนักงานที่มีความสามารถหลากหลายและมีองค์ความรู้จากการเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
2. มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานได้
(จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ 2)
4. พฤติกรรมในองค์กร
Behavior in Organizations
ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ
Organization Behavior (OB)
o “เป็นสาขาวิชาที่มีทฤษฎีวิธีการและหลักการซึ่งได้มาจากศาสตร์หลายแขนงวิชาด้วยกันเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของบุคคล
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มตลอดจนพฤติกรรมที่เป็นภาพรวมระดับองค์การ
มีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอกต่อองค์การโดยเฉพาะส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์
ภารกิจ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ” (Gibson et.al., 1997)
ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ
1. เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในองค์การแบ่งเป็น
3 ระดับ
- พฤติกรรมมนุษย์ระดับบุคคล
- ระดับกลุ่ม
- ระดับองค์การ
2. เป็นการผสมของศาสตร์แขนงต่าง
ๆ (พหุวิชา)
3. มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ
เช่น เจตคติ การรับรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ เป้าหมายที่บุคคลมีต่อองค์การ
4. เน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ (Performance
oriented)
“เพราะเหตุใดผลการปฏิบัติงานจึงต่ำ/สูง”
“ถ้าต้องการเพิ่มผลงานให้สูงขึ้น
จะต้องทำอย่างไร”
5. ให้การยอมรับว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลกระทบอย่างมากต่อองค์การ
6. มีแนวคิด
หลักการและแนวทางปฏิบัติที่เป็นผลจากการวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือได้
7. มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ (Applications
orientation) ได้จริงภายในองค์การ
5. มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
Human relations in the workplace
1. การมีท่าทางที่ดี (Handsome)
เช่น กิริยามารยาทเรียบร้อย การพูดคุยสนุกสนาน
ทำให้ผู้คบหาด้วยก็มีความสบายใจ
2. บุคลิกภาพ (Personality)
หมายถึง รูปร่าง หน้าตา การแต่งตัว การเคลื่อนไหว กิริยาท่าทาง
3. ความเป็นเพื่อน (Friendliness)
คือ เป็นกันเองกับบุคคลอื่น ๆ
4. มีความอ่อนน้อม (Modesty)
รวมทั้งกิริยามารยาทสุภาพ พูดจาอ่อนน้อมถ่อมตน
5. การมีน้ำใจช่วยเหลือ (Helpful)
คือ เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่น โดยทั้งกำลังกาย กำลังความคิด เป็นต้น
6. การให้ความช่วยเหลือ (Cooperation)
คือ สามารถให้การช่วยเหลือในการทำงาน ร่วมกับผู้อื่นไม่เห็นแก่ตัว
7. มีความกรุณา (Kindness)
มีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ผู้ได้รับความทุกข์ยาก
8. เป็นคนมีประโยชน์ (Contribution)
คือ ให้ความช่วยเหลือกิจการแก่คนโดยทั่วไป โดยมิหวังประโยชน์ใด ๆ
มนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยพฤติกรรมของบุคคลที่มาเกี่ยวข้องกันในการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน
เพื่อให้การทำงานดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานก็คือ
สร้างความราบรื่นในการทำงานร่วมกัน
สร้างความเข้าใจอันดีและความสามัคคี
ก่อให้เกิดความรักใคร่และความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน
เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิต และเป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้ง
หลักของมนุษยสัมพันธ์คือ การตอบสนองความต้องการของมนุษย์
โดยใช้หลักปฏิบัติที่ว่าเมื่อเราต้องการสิ่งใด
ผู้อื่นก็มีความต้องการสิ่งนั้นเช่นกัน
ส่วนในด้านจิตใจก็ให้ยึดหลักที่ว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา
โดยมนุษยสัมพันธ์นั้นเกี่ยวข้องศาสตร์สาขาต่างๆเช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ จิตวิทยา จิตวิเคราะห์ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
การสร้างมนุษยสัมพันธ์
การสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก
เมื่อทำได้แล้วจะอำนวยประโยชน์ให้กับการดำรงชีวิต ครอบครัวและการทำงาน
สำหรับในด้านการทำงานนั้นมีข้อที่ควรปฏิบัติคือ
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในองค์กร มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
การสร้างความเชื่อมั่นให้กับเพื่อนร่วมงาน
การเอาใจใส่เพื่อนร่วมงาน
การปรับตัวเองให้เข้าได้กับเพื่อนร่วมงาน
การควบคุมพฤติกรรมและเจตนารมณ์ผู้อื่น
เมื่อต้องการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมีสิ่งที่ควรต้องปฏิบัติคือ การสร้างความประทับใจให้กับเพื่อนร่วมงาน การสร้างความเป็นมิตร
มองหาส่วนดีและยอมรับความสามารถของเพื่อนร่วมงาน
คำนึงถึงเสมอว่าเพื่อนร่วมงานทุกคนเป็นผู้มีคุณค่า
การสั่งหรือติดต่องานไม่ควรใช้วิธีพูดผ่านกับคนอื่น
วิธีการสร้างเสน่ห์ในบุคลิกภาพ
การเป็นคนมีเสน่ห์จะช่วยให้บุคคลที่อยู่รอบข้างอยากเข้ามาชิดใกล้
และปรารถนาจะร่วมงานด้วย การสร้างเสน่ห์สามารถทำได้โดย การใช้น้ำเสียงหรือคำพูด
การแสดงออกทางร่างกาย
การใช้ภาษากายที่เหมาะสม
การพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างาม การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะและการมีความมั่นใจในตนเอง
การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
การปฏิบัติงานในองค์กรผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาจำเป็นต้องการการสื่อสารเพื่อร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุภารกิจขององค์กร
โดยผู้บังคับบัญชาจะทำหน้าที่อำนวยการให้นโยบายและข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่พนักงาน
และในทางตรงกันข้ามก็ต้องรับฟังข่าวสารข้อมูล ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของพนักงาน
เพื่อให้สามารถประสานงานงานในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ในการวินิจฉัยตัดสินใจก็เป็นหน้าที่ๆสำคัญประการหนึ่งของผู้บังคับบัญชาและเป็นศิลปะอันหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้บริหารควรต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการวินิจฉัยสั่งการที่เกิดขึ้น
ภาระหน้าที่ๆสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการสั่งการ
โดยในการสั่งการนั้นสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ
เช่นการสั่งงานด้วยวาจาและการสั่งงานเป็นลายลักษณ์อักษร
ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม และยังสามารถสั่งโดยใช้การบังคับหรือออกคำสั่ง การสั่งงานแบบขอร้อง การสั่งงานแบบแนะนำ
การสั่งงานแบบอาสาสมัคร
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวผู้บริหารจะเลือกใช้การสั่งงานแบบใด
หลักปฏิบัติในการเป็นผู้ช่วยที่ดี
การปฏิบัติตัวเป็นผู้ช่วยที่ดีนั้นจะใช้หลัก 3 ประสานก็คือ
มือดี ใจดี ความคิดดี
ซึ่งมือดีก็คือมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์
บุคลิกภาพและลักษณะท่าทางดี
ใจดีก็คือมีความมั่นคงทางจิตใจ มีความรับผิดชอบ เอาใจใส่ในงาน มีความขยันหมั่นเพียรและอดทน ส่วนคิดดีก็คือ มีความคิดริเริ่ม มีความเป็นผู้นำ
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้จักกาลเทศะ
รู้จักช่องทางในการติดต่อสื่อสารและเป็นผู้รู้จักประมาณตน
การแก้ไขข้อขัดแย้งในการทำงาน
การปฏิบัติงานในองค์กรร่วมกันของบุคลากรจำนวนมาก
ย่อมจะมีทั้งความคิดเห็นในการปฏิบัติงานที่เหมือนกันและต่างกัน ความคิดเห็นที่ต่างกันนั้นสามารถนำไปสู่ความขัดแย้งในการทำงานได้
ซึ่งถ้าปล่อยให้ดำเนินต่อไปจะเป็นผลเสียดต่อการดำเนินการขององค์กรในภาพรวม
ดังนั้นจึงควรป้องกันและขจัดความแย้งออกไปเพื่อประสิทธิภาพขององค์กร
ความขัดแย้งในการทำงาน
ความขัดแย้งในการทำงานเกิดจากความคิดเห็นบางอย่างที่ไม่ตรงกัน ไม่เข้าใจกันทั้งระดับบุคคลต่อบุคคล
บุคคลต่อกลุ่มหรือแม้กระทั่งระดับกลุ่มต่อกลุ่ม
ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการเข้าใจข้อมูลไม่ตรงกัน
การเลือกวิธีการปฏิบัติที่ต่างกัน ค่านิยมต่างกัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
ซึ่งถ้าสรุปแล้วความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นความขัดแย้งทางความคิด
และความขัดแย้งที่เกิดจากผลประโยชน์
ผลของความขัดแย้ง
ผลที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งอาจก่อให้เกิดผลทั้งด้านบวกและด้านลบ เช่น ในทางบวกได้แก่ ป้องกันการหยุดอยู่กับที่
กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ขจัดปัญหาที่เลื่อนลอย เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วนในทางลบได้แก่ การทำงานร่วมกันไม่ได้
ลดความเป็นมิตรระหว่างบุคลากร
หมดความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน ต่อสู้กันอย่างไร้เหตุผล
เกิดการทำงานเพียงเพื่อเป็นการเอาชนะกัน
การแก้ไขความขัดแย้งวิธีการแก้ไขความขัดแย้งของคนเราจะต่างกัน
แต่ละคนย่อมจะมีวิธีการแก้ไขความขัดแย้งของตนเอง ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่มักจะใช้กันได้แก่ การหลีกหนีปัญหา
การกลบเกลื่อนหรือถ่วงเวลาเพื่อคลี่คลายปัญหา การต่อรองประนีประนอม การเผชิญหน้าโดยการเผชิญหน้านั้นอาจมีหลายรูปแบบตั้งแต่
การลงโทษ กลั่นแกล้ง
การใช้กำลังเข้าต่อสู้เพื่อให้เกิดการแพ้ชนะ
การเจรจาทำความตกลงซึ่งเป็นวิธีการที่ดีและสร้างสรรค์
เทคนิคการแก้ไขปัญหาการแก้ไขปัญหานั้นมีเทคนิคอยู่หลายประการด้วยกัน
การแก้ไขปัญหาที่ดีเกิดจากการประยุกต์เทคนิคต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ก็คือ การรับฟัง
การให้คำแนะนำผู้อื่นให้สามารถคิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
การทำให้ผู้อื่นสามารถคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบ การเจรจาหาทางแก้ไขเมื่อมีปัญหา การมองตัวปัญหาเพื่อหาสาเหตุ
หน้าที่ความรับผิดชอบและจรรณยาบรรณในการทำงาน
ผู้นำและผู้ตาม หน้าที่
ความรับผิดชอบและจรรณยาบรรณในการทำงานประกอบด้วยหน้าที่และคุณสมบัติของบุคคล 2 ฝ่ายคือ ผู้นำและผู้ตาม
โดยการดำเนินงานในองค์กรจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีความสามารถและมีคุณสมบัติที่เหมาะสม
ซึ่งลักษณะของผู้นำอันพึงประสงค์ได้แก่ มีความรอบรู้ในเชิงวิชาการ
กล้าหาญทางจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ เด็ดขาดเมื่อจำเป็น
เยือกเย็นเมื่อประสบปัญหา ท่วงท่าน่านับถือ กระตือรือร้นในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์สูงส่ง
มั่นคงและรอบคอบ อยู่ในกรอบของศีลธรรม
ส่วนในทางตรงกันข้ามก็คือลักษณะของผู้นำที่ไม่พึงประสงค์อันได้แก่ ตั้งอยู่ในความประมาท ขาดความเห็นอกเห็นใจ
ชอบใช้อำนาจลงอาญา
ไม่กล้าทางจริยธรรม
ไม่ปฏิบัติตามความถูกต้อง เห็นแก่พวกพ้องของตน มืดมนอยู่กับอบายมุข
ผิดถูกไม่รู้แน่ ไม่เข้าใจถ่องแท้ในการทำงาน ขาดการประมาณตน
ความประพฤติของผู้ประกอบอาชีพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในรัชกาลปัจจุบันได้ทรงตรัสไว้ว่าในการทำงานควรมีความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่มีอคติ ทำงานด้วยความตั้งใจที่ดี ใช้หลักวิชาการที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ดูแล้วก็สามารถใช้เป็นคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพได้คือ
ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีความยุติธรรม
ให้ทำงานด้วยความตั้งใจที่ดีและใช้หลักวิชาการให้ถูกต้อง
มนุษย์สัมพันธ์จึงสรุปได้ 4 ประการคือ
1. บุคคลต้องการผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
(Mutual interest) หมายถึง ผลประโยชน์ของคนที่ทำงานในองค์การ
กับผลประโยชน์ขององค์การนั้น ๆ
ซึ่งการที่คนจะเข้าไปทำงานในองค์การใดหรือการที่องค์การใดจะรับคนเข้าไปทำงานนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกหรือความเชื่อว่าตนจะได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
2. บุคคลย่อมมีความแตกต่างกัน
(Individual difference)มนุษย์มีความแตกต่างกัน (Man
is different) ยากที่จะเข้าถึงจิตใจของคนทุกคนได้เพราะนานาจิตตัง “จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง” เมื่อแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดหรือทำเหมือนคนอื่นไปเสียทุกอย่างด้วย
ความแตกต่างของบุคคลนี้มีความสำคัญมากสำหรับมากสำหรับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้
เพื่อที่จะได้เข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นได้บ้าง
โดยเฉพาะผู้บริหารจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องความแตกต่างของบุคคลเพื่อการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้เหมาะสม
3. มนุษย์ทุกคนมีแรงจูงใจ (Motivation)
ต้องจูงใจผู้อื่นให้มีเจตคติตรงกัน มีจุดหมายร่วมกัน
เพื่อจุดประสงค์ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนมีการจูงใจตนเองให้มีระเบียบและความรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ ที่วิชามนุษย์สัมพันธ์ครอบคลุมเป็นการตอบสนองทั้งหมดของเอกัตบุคคลต่อพลังการจูงใจต่าง
ๆ (The total response of individuals to various motivation forces) นั่นก็คือ
การที่บุคคลในองค์การมีความสัมพันธ์กันตามที่เป็นอยู่เป็นเพราะเขาถูกกระตุ้นโดยพลังทางจิตวิทยา
ทางสังคม
และทางเศรษฐกิจซึ่งมีอำนาจที่จะกระตุ้นให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในลักษณะนั้น ๆ
โดยเฉพาะ เมื่อเกิดมีการขัดแย้งในแรงจูงใจในคนงาน องค์การจะเกิดการแตกร้าว
เป็นที่ประจักษ์ว่า
ถ้าหัวหน้าและคนงานต่างก็มีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการทำงานแล้วผลผลิตจะเพิ่มขึ้น
4. บุคคลทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
( Human dignity )เสมอกัน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางปรัชญามากกว่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์
มนุษย์นับเป็นสัตว์ประเสริฐที่มีความคิด มีสมอง มีความรู้ผิดชอบชั่วดี มีวัฒนธรรม
มีสามัญสำนึก เป็นสิ่งที่อยู่เหนือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น
การติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน จึงต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ
และตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร
มีสถานภาพหรือฐานะอย่างไร เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา
ซึ่งต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของแต่ละคน ศักดิ์ศรีของมนุษย์ (Human dignity)
เป็นรากฐานปรัชญา
จริยศาสตร์และศีลธรรมที่จะบังเกิดผลดีในแง่มนุษย์สัมพันธ์
การวิจัยหลายกรณีแสดงว่ามนุษย์ต้องการการยอมรับการให้เกียรติกันหรือการกระทำด้วยการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน
มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
3. ชี้แจงคุณลักษณะเฉพาะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานได้ (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ 3)
6. คุณลักษณะเฉพาะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
A unique feature of the human relations in the workplace
ผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานนั้น
จะมีลักษณะเฉพาะที่พึงประสงค์ อันจะช่วยในการ ทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ดังนี้
1.
หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสในการติดต่อ สัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา
2. เต็มใจทำงานร่วมกับคนอื่น
ไม่หลบหนี สังคม
3. มีจิตใจกว้างขวาง
พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ๆ แม้จะเป็นเรื่องของตนเอง
4. ยินดีเสียสละผลประโยชน์
หรือความสุขส่วนตัวเพื่อผลงานส่วนรวม
5.
ชอบเรียนรู้นิสัยใจคอของผู้อื่น เช่น หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน
หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
และพยายามนำความรู้เหล่านี้มาปฏิบัติในการติดต่อสัมพันธ์กับคนเหล่านี้ให้เป็นผลดี
6.
ยินดีเต็มใจที่จะเข้าร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานและหน่วยงาน
โดยถือว่าเป็นความสุขและพอใจที่จะได้รู้จักคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
7. เสนอตัวเข้าช่วยเหลือการงาน
โดยไม่คิดว่าเป็นการเสียเปรียบ หรือเหนื่อยยากโดย ไม่จำเป็น
8. ให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีปัญหา
หรือต้องการความช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ
9. คบหาคนอื่น ๆ
ด้วยความเต็มใจ และบริสุทธิ์ใจ ไม่มีการถือเขา ถือเรา หรือ
เปรียบเทียบว่าคนที่ดีกว่านั้นในเรื่องการเงิน ความรู้ ครอบครัว ฯลฯ
10.
แสดงน้ำใจแก่เพื่อนร่วมงานในวาระและโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น
การส่งบัตรอวยพรในวาระต่าง ๆ การไปร่วมแสดงความยินดี ฯลฯ
11. มีความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
คือ ความมีชีวิตจิตใจ ไม่เชื่องช้า
12. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
ต่อการทำงาน คำพูด คำมั่นสัญญา รักษา เวลา มีความซื่อตรง เป็นต้น
13. มีความอดทน (Patient)
อดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบาก อดทน
ต่อกิริยาท่าทางคำพูดที่ไม่สบอารมณ์ เป็นต้น
14. มีความขยันขันแข็ง (Diligent)
คือ ขยันต่อการทำงาน ภาระหน้าที่ ความ รับผิดชอบ
ไม่เป็นคนเกียจคร้าน
15. มีความพยายาม (Attempt)
คือ ความพยายามพากเพียรที่จะฝึกฝนตนให้มี คุณสมบัติทางมนุษยสัมพันธ์
พยายามปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ พยายามแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ได้
16. มีปฏิภาณ (Intelligence)
หมายถึง การมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างบรรยากาศ
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การพูดคุย การเสนอความคิดเห็น เป็นต้น
7. การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา
Creating relationships between subordinates
การเป็นผู้นำต้องสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา
เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
และผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มใจที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
วิธีการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชามีหลัก ดังนี้
1. รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง มีพรหมวิหาร 4
อยู่ในจิตใจ มีเมตตากรุณา มุทิตา และรู้จักอุเบกขา
2. รู้จักส่งเสริมและให้กำลังใจลูกน้อง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ยกย่องเมื่อเขาปฏิบัติดี เอาใจใส่ในความลำบากในการปฏิบัติงานของเขา
ดูทุกข์สุขในครอบครัวของเขาตามโอกาสอันควร
3. ยิ้มแย้มแจ่มใสกับลูกน้อง
รู้จักพูดคุยตามกาลเทศะ และจำชื่อลูกน้องได้
4. มีไมตรีและช่วยเหลือลูกน้องตามโอกาสอันสมควร
5. มีความจริงใจต่อลูกน้อง
มิใช่แสดงความจริงใจ แสดงออกโดยการพูดเท่านั้น แต่จะปรากฏทางสีหน้าท่าทางด้วย
6. รู้จักชมเชยลูกน้อง
เมื่อเขาได้กระทำความดี
7. รู้จักศิลป์ในการวิพากษ์วิจารณ์ลูกน้อง
คือ รู้จักติเพื่อก่อ ให้เกิดกำลังใจที่ดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
8. รู้จักการให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทน
อาจเป็นสิ่งของ เงินหรือคำขอบใจเพื่อแสดงน้ำใจหรือเป็นสินน้ำใจต่อเขา เมื่อเขาได้กระทำดี
แต่อย่าให้มากเกินไปจนกลายเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้แก่ลูกน้อง
9. รู้จักฟังความคิดเห็น
คำร้องขอหรือคำร้องเรียนของลูกน้อง และพิจารณาด้วยความเป็นธรรม
10. ต้องเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา
11. ควรสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นหรือตำแหน่งเงินเดือนที่สูงขึ้น
เพื่อเป็นแบบอย่างกับผู้ใต้บังคับบัญชาคนอื่น ๆ ที่จะได้มุ่งพยายามสร้างความดี
12. ชี้แจงความเคลื่อนไหวต่าง
ๆ ในวงงานให้ลูกน้องทราบ เช่น ชี้แจงนโยบายหรือข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว และความก้าวหน้าของหน่วยงาน เป็นต้น
8. วินัย
Discipline
วินัย หมายถึง แบบแผนความประพฤติ
ที่กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
พึงควบคุมตนเองและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ประพฤติหรือปฏิบัติตามที่กำหนดไว้
ซึ่งหากฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า วินัยคือ
การควบคุมความประพฤติให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่กำหนดนั่นเอง
“วินัย” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
Discipline หมายถึง เครื่องควบคุมพฤติกรรมของคน
ในทางการบริหารนั้น “วินัย” มีความหมายไปในหลายลักษณะ เช่น
ลักษณะที่เป็นการควบคุมตนเอง (Self Control) โดยมุ่งพิจารณาวินัยในแง่การพัฒนาตนเอง
เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการ ซึ่งเรียกว่า อัตวินัย (Self
Discipline)
วินัยอาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 ความหมาย คือ
1. หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์
แบบแผนความประพฤติที่ทางองค์กรกำหนดให้ยึดถือและปฏิบัติ
2. หมายถึง
ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่องค์กรแสดงออกมาในทางที่ถูกที่ควร
เป็นการควบคุมตนเองให้แสดงพฤติกรรมที่ถูกระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือแบบแผนที่องค์กรกำหนดไว้
ดังนั้น วินัยจึงหมายถึง
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ
หรือแบบแผนความประพฤติที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในองค์กรให้เป็นไปในแนวทางที่พึงประสงค์
คุณลักษณะผู้มีวินัยในตนเอง
1. มีความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่หลอกลวงตนเองและผู้อื่น
2. มีความรับผิดชอบ
ความตั้งใจที่จะทำงานและติดตามผลงานที่ได้กระทำ
3. เคารพในสิทธิของผู้อื่น
4.
มีระเบียบและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
5. มีลักษณะมุ่งอนาคต
6. มีความเป็นผู้นำ
7. มีความตรงต่อเวลา
รู้จักกาลเทศะ
8. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
9. มีความอดทนขยันหมั่นเพียร
10. รู้จักเสียสละ
และมีความเห็นใจผู้อื่น
หมายเหตุ วินัยในตนเองต้องเกิดจากสำนึกในตนเอง
มิอาจเกิดได้ด้วยข้อกำหนด ข้อบังคับจากภายนอก
9. วินัยในการทำงาน
Discipline to work
ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน
ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน
หมายถึง การรู้จักการทำงานอย่างมีขั้นตอน และมีความรับผิดชอบทุกขั้นตอนของการทำงาน
ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมตัวก่อนการทำงาน
ในการทำงานทุกอย่างต้องมีการเตรียมตัว
ก่อนการทำงาน
งานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งมีขอบข่ายการเตรียมตัวก่อนการทำงาน ดังนี้
1.1 จัดหาอุปกรณ์ เครื่องใช้
และตรวจทดลองว่าใช้การได้หรือไม่
1.2
ประสานกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความจำเป็นมาก ในการทำงาน
เพราะงานบางอย่างต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่น
1.3
วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่จะเกิดในการทำงานแต่ละครั้ง
รวมทั้งเตรียมเลือกแนวทางการแก้ปัญหาไว้หลาย ๆ แนวทาง
1.4
การเตรียมตนเองก่อนการทำงาน เช่น สุขภาพร่างกาย ตลอดจนความพร้อมด้านวิชาการ
หรือประสบการณ์ในงานที่จะทำ
1.5
การกำหนดแผนงานก่อนการทำงาน หมายถึง การเอาแผน ปฏิบัติงานมาปฏิบัติให้เป็นจริง
ต้องมีการเตรียมการก่อนการลงมือปฏิบัติ
2.
การรักษาระเบียบวินัยในระหว่างการปฏิบัติงาน เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
เพราะงานจะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุเป้าหมายของงานที่ทำ
ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
2.1 การเต็มใจทำงานโดยใช้ความรู้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่
ไม่ออมแรง
2.2
ปฏิบัติงานตามระเบียบหรือขั้นตอนในแผนปฏิบัติการที่วางแผนล่วงหน้าใน
ขั้นแรกไว้แล้ว โดยจัดลำดับความสำคัญของงานให้ชัดเจน ไม่ควรทำงานข้ามขั้นตอน
2.3
เมื่อเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติงาน ควรแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบทันที
ไม่ควรปล่อยปัญหาให้ล่วงเลยจนไม่สามารถแก้ไขได้
2.4
การประสานงานกับบุคคลอื่นในระหว่างการปฏิบัติงานร่วมกัน ควรเป็นไป ด้วยความราบรื่น
ไม่ควรนำเรื่องอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจต่อกันมาพูดใน
ระหว่างการปฏิบัติงาน
2.5 ในระหว่างการปฏิบัติงาน
ควรใช้ความอดทน อดกลั้น ต่อภาวะกดดันที่เกิดขึ้น ในระหว่างปฏิบัติงาน
โดยมุ่งมั่นให้งานได้เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้
2.6
ในระหว่างการปฏิบัติงานควรมีช่องว่างของการพักผ่อนในระยะเวลาอันสั้น
เพื่อลดความตึงเครียด ทำให้จิตใจสบาย
2.7 สรุปและนำเสนอผลงาน
เป็นช่วงสุดท้ายของการปฏิบัติงาน ควรมีการทำทุกวันก่อนเลิกงานและนำเสนอหัวหน้างาน
หรือบันทึกผลการสรุปงานไว้เป็นหลักงานเพื่อที่จะได้เริ่มงานในวันต่อไป
3.
การสร้างระเบียบวินัยหลังการปฏิบัติงาน หลังจากสรุปงานในแต่ละครั้งหรือแต่ละวัน
ก็จะต้องมีการเก็บงาน ซึ่งมีทั้งงานที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยกับงานที่กำลังดำเนินการ
ควรมีแนวทาง ในการปฏิบัติดังนี้
3.1 เก็บเครื่องมือ
วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ปฏิบัติงานให้อยู่ในสภาพปกติ ทำความสะอาด
และเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย
3.2
เก็บเอกสารงานที่ปฏิบัติให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะดำเนินการในวันต่อไปได้
3.3
สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อหาแนวทางแก้ไขในวันต่อไป
หรือสรุปเพื่อเป็นแนวทางให้บุคคลที่จะรับช่วงงานต่อจากตัวเราให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น
แนวทางการสร้างความมีระเบียบวินัยในการทำงานให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือหน่วยงาน
ความมีระเบียบวินัยในการทำงานเป็นอุปนิสัยส่วนบุคคลที่เกิดจาก
การให้การศึกษาและการอบรมเลี้ยงดูเมื่อเยาว์วัย แต่ก็สามารถให้การศึกษา
พัฒนาให้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้
โดยวิธีการดังนี้
1. การฝึกฝนด้วยตนเอง
โดยวิธีการเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ในแต่ละวันได้ทำอะไรบ้าง และจะทำอะไรก่อนหลัง
ก็จะเกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัยตลอดไป
2.
การฝึกฝนให้ตนเป็นคนเคารพต่อกฎเกณฑ์ของส่วนรวม หรือของหน่วยงาน
3. การฝึกฝนความรับผิดชอบ
ทำงานตรงต่อเวลา
4. การเอาใจใส่ในภารกิจส่วนตัวทุกเรื่อง
มีความคิดตริตรองรอบคอบ
5.
ฝึกเป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้ความเคารพ ต่อความคิดเห็นของผู้อื่น
6. ฝึกให้เป็นคนรักความสะอาด
ชอบสิ่งที่สวยงาม รู้จักการปรับสภาพ แวดล้อมให้สะอาดตา เจริญใจ จะทำให้ชีวิตสดชื่น
10. รูปแบบของวินัยในการทำงาน
Form of discipline in the workplace.
1. กฎหมายแรงงาน เช่น
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ลูกจ้างทำผิดร้ายแรงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย เป็นต้น
2. สัญญาจ้างแรงงาน
เป็นข้อกำหนดที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกัน ต้องถือปฏิบัติต่อกัน
3. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
เป็นวินัยหลักที่นายจ้างกำหนดขึ้นเพื่อให้ลูกจ้างถือปฏิบัติ
4. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เกิดจากการเจรจาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแล้วตกลงกันเป็นข้อที่ยึดถือปฏิบัติ
5. คำสั่งของนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
นายจ้างมีอำนาจสั่งลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม
6. ประกาศ เช่น
นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี ลูกจ้างถือปฏิบัติ
7. ประเพณีปฏิบัติ โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดเล็กไม่เคยมีกฎระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร
จะปฏิบัติต่อกันตามที่เคยทำกันมา ถือว่าเป็นระเบียบตามประเพณีที่เคยทำกันมา
8. กฎต่างๆ เช่น กฎความปลอดภัย
กฎว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
ขอบคุณ
ตอบลบ