• ด้านความรู้(ทฤษฎี)
1.
อธิบายความหมายของการเลือกอาชีพได้
(จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ 1)
ความหมายของการเลือกอาชีพ
การเลือกอาชีพ (Choosing a
Vocation) หมายถึง การตัดสินใจเลือกประกอบ อาชีพเป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับทุกคน
บุคคลที่กำลังศึกษา และกำลังมองหางาน จะก้าวเดินไปใน ทิศทางใดจึงประสบความสำเร็จในการศึกษา
และประกอบอาชีพได้ ควรปฏิบัติดังนี้
|
รูป 2.1 การแนะแนวการศึกษา
1.
วิเคราะห์ตนเอง
ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกอาชีพ
จะต้องมีความเข้าใจในตนเองอย่างลึกซึ้งโดย วิเคราะห์ตนเองว่ามีความถนัดเกี่ยวกับงานลักษณะใด
ซึ่งดูได้จากผลงานที่ทำ ความสนใจและ ความสามารถในการทำงาน ความกระตือรือร้นที่จะประกอบอาชีพ
เงินทุน อุปนิสัยใจคอ บุคลิกภาพ และสุขภาพอนามัย ด้วยการวิเคราะห์จุดด้อยจุดเด่นของตนเองได้
เพื่อให้รู้ว่าอาชีพใด มีความเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเลือกอาชีพในอนาคตได้เป็นอย่างดี
(ใช้เทคนิค SWOT)
รูปที่ 2.2 การเลือกอาชีพ
2.วิเคราะห์อาชีพ
หลังจากการวิเคราะห์ตนเองทำให้รู้จักตนเอง
ขั้นต่อไปจะต้องมีความรู้อย่าง กว้างขวางเกี่ยวกับงานอาชีพ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่าง
ๆ ลักษณะของอาชีพ และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่อาชีพ เวลาและค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนประกอบอาชีพ
โอกาสของงานอาชีพ ความก้าวหน้า และความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะ ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในอาชีพ
ความก้าวหน้าของงานอาชีพพิจารณาได้จาก
1.
ประสบการณ์ในงานอาชีพ
2.
โอกาสเกี่ยวกับงานอาชีพ
3.
การเลือกประกอบอาชีพ
4.
การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ
5.
การเข้าทำงาน
6.
การปรับตัวให้เข้ากับงาน
รูป 2.3 การค้นหาความถนัด
การวิเคราะห์อาชีพเพื่อต้องการ แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการ ทำงาน
และประโยชน์ในการบริหารงาน กำหนดขอบข่ายการทำงานเป็นการแบ่ง งานกันทำตามความรู้ความสามารถ
รายได้ หรือค่าตอบแทน เช่น ช่างอุตสาหกรรม แบ่งเป็นตำแหน่งวิศวกร ช่างเทคนิค ช่างกึ่งฝีมือ
และช่างไร้ฝีมือ
รูป 2.4 อาชีพ
3.การตัดสินใจเลือกอาชีพ
เมื่อวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์อาชีพ จะได้ข้อมูลเพียงพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกอาชีพที่
เหมาะสม ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของงานอาชีพให้ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์อาชีพ
2.
ยกตัวอย่างองค์ประกอบของการตัดสินใจเลือกอาชีพได้
(จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ 2)
กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ
กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ คือ กระบวนการที่บุคคลจะพิจารณาเพื่อประกอบ
การตัดสินใจ เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เช่น ต้องพิจารณาค่านิยม ความสนใจ ความถนัด
และคุณสมบัติอื่น ๆ การตัดสินใจสัมพันธ์กับ ทักษะที่ได้เรียนรู้ ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของ
บุคคล เช่น หลักในการตัดสินใจ เป็นการสำรวจ หนทางที่จะเป็นไปได้ กำหนดว่าจะทำอะไร จะเกิดผลอะไร
ในการตัดสินใจต้องรู้จักความ สามารถ ความสนใจ ค่านิยมของตนเอง และรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
นำความรู้ไปพิจารณาตัว เลือกต่าง ๆ ถ้าได้ข้อมูลมากเท่าใด บุคคลนั้นก็มี โอกาสได้ผลที่พึงปรารถนามากขึ้นเท่านั้น
ข้อมูล จากการประเมินนำไปสู่การอภิปรายลักษณะพิเศษ ของบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงกับความต้องการ
ทางการศึกษาและอาชีพ
3.1
มีตัวเลือกในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นในการตัดสินใจเลือก
3.2
มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกรวดเร็วขึ้น
3.3
ตัดสินใจด้วยตัวเอง
3.4
เมื่อมีอิสระในการเลือกมากขึ้นจะมีประสบการณ์การเลือกมากขึ้น
3.5 นำประสบการณ์ในตัดสินใจเดิมมาใช้ในการตัดสินใจครั้งต่อไป
รูปที่ 2.5 อาชีพ
3.
วิเคราะห์ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพได้ (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อ 3)
ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ
4.1
ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ขาดทักษะและราย
ละเอียดข้อมูล เกี่ยวกับโลกอาชีพ
4.2
ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวอาชีพ การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
4.3
ขาดการรู้จักตนเอง ด้านความสามารถ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจใน
อาชีพที่เหมาะสมกับตัว
4.4 ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ จะต้องมีความรู้ในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ
ซึ่งมีผลตั้งแต่ การเลือกเรียนต่อหรือศึกษาเพิ่มเติมในสาขาวิชาที่ใช้เงินทุนจำนวนน้อย
และเมื่อสำเร็จการศึกษา แล้ว เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนการฝึกพัฒนาฝีมือตนเองเพิ่มเติมเพื่อให้มี
คุณลักษณะเด่นในการสมัครงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น