จริยธรรมในการประกอบอาชีพ
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ
Definition of terms related to the occupation.
Definition of terms related to the occupation.
การที่ต้องทำความเข้าใจกับความหมายของกลุ่มคำต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ อาชีพ เพราะกลุ่มคำเหล่านี้มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะถ้าเป็นคำที่มาจากภาษาต่าง
ประเทศและยังไม่มีการให้คำจำกัดความที่เป็นภาษาไทยในความหมายที่ชัดเจนอาจก่อให้เกิดความ
สับสนเข้าใจผิดและนำมาใช้ด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ
มีดังนี้
งาน (work) นวลศิริ เปาโรหิตย์ (2528 : 12) ได้อธิบายลักษณะของ “งาน” ไว้ ดังนี้ “งาน คำ ๆ นี้มีความหมายกว้างขวาง มาก ใช้กันตั้งแต่ การปัดกวาด ถูบ้าน ไปจน กระทั่งถึงงานที่ทำในสำนักงาน ที่มีระยะเวลา กำหนดไว้แน่นอน เช่น 9.00 . ถึง 17.00 เป็นต้น”
นอกจากนี้
นักจิตวิทยาชื่อ เทมเม (Temme) ได้อธิบายลักษณะของงานไว้ ดังนี้
1. กิจกรรมที่บุคคลต้องทำอยู่เป็นประจำ
(Routine) โดยภาพรวมกิจกรรมจะต้อง ประกอบไปด้วยเนื้อหาและหน้าที่ ตัวอย่างเช่น
พนักงานบัญชี เนื้อหาของงาน คือ วิชา ความรู้ เกี่ยวกับการเงิน การบัญชีประเภทต่าง
ๆ ส่วนหน้าที่อาจมีหลายลักษณะ เช่น จัดเก็บเงินตามบัญชี จัดทำบัญชีรายได้ จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย
เป็นต้น
2. เงื่อนไขที่จำเป็นที่บุคคลจะต้องมีในการทำงาน
(Requisite) ในที่นี้หมายถึง ระดับความรู้ ความสามารถทางกายภาพของบุคคลผู้ที่จะทำงาน
หรือสถานภาพทางสังคมของงาน สำหรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่นำมาใช้พิจารณาในการจะทำงาน มีดังนี้
2.1 ความสามารถของบุคคลในการทำงาน การพิจารณาความสมารถของบุคคล
จะคำนึงถึงความเหมาะสมกับงานแต่ละชนิด เพราะงานแต่ละชนิดต้องการความสามารถในการ ทำงานต่างกันไป
งานบางอย่างเพียงแต่ใช้ความสามารถทั่ว ๆ ไปก็ทำได้ งานบางอย่างต้องให้ผู้ที่มี ความสามารถเฉพาะทางเท่านั้นจึงจะทำได้
2.2 เงื่อนไขทางกายภาพ หมายถึง เงื่อนไขหรือข้อจำกัดที่เป็นสิ่งแวดล้อมทาง
กายภาพของงาน เช่น งานที่ต้องออกภาคสนาม หรือติดต่อพบปะกับบุคคลอื่นตลอดเวลา งานที่ทำ
อยู่ภายในสำนักงาน เป็นต้น
2.3 ความต้องการของสังคม หมายถึง เงื่อนไขความต้องการของงานที่ขึ้นอยู่
กับสภาพทางสังคม งานบางชนิดอาจรับผู้สมัครที่เป็นเพศชายเท่านั้น งานบางชนิดต้องการผู้สมัคร
ที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น งานบางตำแหน่งต้องการผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าผู้ที่เพิ่งจะสำเร็จ
การศึกษา เป็นต้น
2.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน ตลาดแรงงานมีความต้องการงานแต่ละชนิด
ไม่เหมือนกัน เช่น งานบางชนิดตรงกับความต้องการของตลาด แต่ผู้มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับ
สายงานมีน้อย จึงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จึงมีผลทำให้แรงงานขาดตลาด แต่ในขณะที่
งานบางอย่างสามารถสรรหาผู้มีความรู้ความสามารถได้ง่าย เพราะผู้มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับ
สายงานสำเร็จการศึกษาออกมามาก สภาวะเช่นนี้ถือว่าเป็นการอิ่มตัวของตลาด หรือแรงงานมีมาก
เกินความจำเป็น
3.
ผลตอบแทน (Returns of work) ผู้ที่ทำงานก็ย่อมต้องการผล
ตอบแทน ผลตอบแทนของงานมีได้หลาย รูปแบบ ได้แก่ รายได้ เกียรติยศ อำนาจ เป็นต้น
วิชาชีพ (Professional)
วิชาชีพนั้นเป็นการทำงานอาชีพ ที่ต้องใช้ทักษะและการฝึกในขั้นสูงเท่านั้น
กิจกรรมที่เรียกว่าวิชาชีพจะต้องได้รับการพัฒนา และปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
โดย วิธีการจัดระบบงานให้สอดคล้องกับระบบวิธีทาง วิทยาศาสตร์ นอกจากวิชาชีพยังมีความเกี่ยวข้อง
กับอุดมการณ์และองค์ความรู้ โดยอาศัยแนว ความคิดสร้างสรรค์มาประกอบกัน รวมทั้งมีการ
ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่าง ๆ เหล่านั้นไปยัง คนรุ่นต่อไป
นอกจากนี้ วิชาชีพยังมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากอาชีพธรรมดาทั่ว ๆ ไป
ดังนี้ (ดำรง ฐานดี, 2536 : 5)
1. ต้องเป็นกิจกรรมที่อาศัยการฝึกหัดทางเทคนิคอย่างเป็นทางการจากสถาบัน
การศึกษาที่สังคมยอมรับ การฝึกหัดและการเรียนรู้ต้องใช้เวลานานพอที่จะทำให้ผู้รับการฝึกหัดได้รับ
ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้น ๆ การฝึกหัดอาจแบ่งเป็นระดับ
ตามลำดับขั้น คือ ระดับชั้นต้น และ ระดับชั้นสูง เป็นต้น และต้องมีเอกสารหลักฐานยืนยันถึง
ความรู้ ความเชี่ยวชาญหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรม
2. ต้องเป็นกิจกรรมที่จะต้องฝึกฝนด้านทักษะในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนอกเหนือ
ไปจากความรู้ที่จำเป็นจะต้องใช้ เพราะการฝึกฝนทางด้านทักษะจะก่อให้เกิดความชำนาญในการ
ปฏิบัติกิจกรรมนั้น ๆ แต่ก็จำเป็นต้องอาศัยความรู้เป็นพื้นฐานเบื้องต้น จึงจะถือว่าเป็นผู้ที่มีความ
เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ
3. การนำอาชีพไปใช้จะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ควรประพฤติตามที่สาขาอาชีพ
นั้น ๆ ได้กำหนดไว้ ข้อกำหนดดังกล่าวถือได้ว่ามีความสำคัญเทียบเท่ากับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
ที่ให้บุคคลในแต่ละสาขาอาชีพพึงประพฤติปฏิบัติตาม ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่กล่าวถึงนี้เรียกกันว่า
“จรรยาบรรณ”การมีจรรยาบรรณจึงทำให้วิชาชีพมีคุณลักษณะที่พิเศษแตกต่างไปจากอาชีพธรรมดา
ทั่ว ๆ ไป
สาเหตุของปัญหาจริยธรรมในอาชีพ
The
cause of the problem ethics in professional
1.
ความเห็นแก่ตัวก่อให้เกิดลักษณะความขัดแย้ง ระหว่างความเห็นแก่ตัวกับ
ผลประโยชน์ของผู้อื่นในเรื่องนี้มักมีการแก้ปัญหาโดยให้ผลประโยชน์กับตนเองเนื่องจากต้องการ
สนองความต้องการของตนเอง
2.
แรงกดดันจากการแข่งขันเพื่อกำไรก่อให้เกิดลักษณะความขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของวิสาหกิจกับผลประโยชน์ของผู้อื่นจึงมีการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเน้นหลักการ
พื้นฐานของธุรกิจคือการแสวงหากำไรสูงสุด
3.
เป้าหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนตัวเกิดขึ้นระหว่างผลประโยชน์ของความขัดแย้ง
วิสาหกิจกับค่านิยมส่วนตัว จึงใช้แนวทางแก้ไขปัญหาแบบอำนาจนิยม โดยอาศัยทัศนคติการแก้
ปัญหาที่ให้พนักงานทำตามคำสั่งและนโยบายของ ผู้บริหาร
4. ความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรมเป็นความ ขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของวิสาหกิจกับวัฒนธรรม
ประเพณีและค่านิยมของต่างชาติโดยเน้นวิธีแก้ปัญหาที่ ความสำคัญของวิสาหกิจจากทัศนคติที่ดูถูกวัฒนธรรม
ต่างชาติ
ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
The importance of ethics in the profession.
จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างจรรยาคือความประพฤติ และธรรมคือเครื่องรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใด ๆ
ก็ตามผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมภายนอกเสมอ ทั้งนี้ก็คือจะต้องไม่ใช้
ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคม
และประเทศชาติ ฉะนั้น จริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
ความสำคัญ ของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีดังนี้
1.
ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
และเป็น ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
2. ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีความ สำนึกในหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานของตน
3. ช่วยส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและ
ไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี
4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนี้ ต้องยึดหลักโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ
5.
ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความ
เอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น