4. มาตรฐานอาชีพ
Professional standards
ด้านความรู้
1. โครงสร้างการจัดประเภทอาชีพ
2. ระดับมาตรฐาน
3. มาตรฐานอาชีพ (Occupational
Standards : OS)
ด้านทักษะ
1.
ประยุกต์ใช้มาตรฐานอาชีพในการดำเนินชีวิตได้
ด้านคุณธรรม
จริยธรรม
1. ความรับผิดชอบ
2. ความสนใจใฝ่รู้
สาระสำคัญ
มาตรฐานอาชีพ
เป็นมาตรฐานที่ กำหนดโดยเจ้าของอาชีพหรือองค์กรทางวิชาชีพ
โดยกำหนดสมรรถนะในงานหลักหรือความ สามารถในการปฏิบัติงาน (Competency
Based) ของอาชีพนั้น ๆ ในหลักการหรือ
เทคนิคที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์
สมรรถนะประจำหน่วย
ประยุกต์ใช้มาตรฐานอาชีพในการดำเนินชีวิต
เรื่องที่ศึกษา
1. โครงสร้างการจัดประเภทอาชีพ
2.ความหมายของคำต่างๆ ที่เกี่ยวกับการมาตรฐาน
3. ระดับมาตรฐาน
4. หลักการของการมาตรฐาน
5. ประโยชน์ของการมาตรฐาน
6. มาตรฐานอาชีพ
7.แนวคิดในการเป็นวิชาชีพ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายโครงสร้างการจัดประเภทอาชีพได้
2.เปรียบเทียบมาตรฐานต่าง ๆ ได้
3. ลำดับระดับมาตรฐานได้
4. ชี้แจงหลักการของการมาตรฐานได้
5. ยกตัวอย่างประโยชน์ของการมาตรฐานได้
6. ปฏิบัติตามมาตรฐานอาชีพได้
7.แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดในการเป็นวิชาชีพได้
1.
โครงสร้างการจัดประเภทอาชีพ
Structure
of Classification of Occupation
กรมการจัดหางาน ได้จัดแบ่งโครงสร้างการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งประเภทอาชีพ เช่นเดียวกับ
การจัดประเภท มาตรฐานอาชีพสากล ปี 2531 (International Standard
Classification of Occupations 1988 : ISCO) โดย ISCO จะจัดแบ่งจัดประเภทอาชีพ ออกเป็น หมวดใหญ่ (Major) หมวดย่อย
(Sub Major) หมู่ (Group) และหน่วย
(Unit) เท่านั้น ในระดับตัวอาชีพ (Occupation) จะเป็นหน้าที่ของแต่ละประเทศในการ พิจารณาจัดจำแนกและจัดทำรายละเอียดอาชีพ
ซึ่งจะแตกต่าง ไปตามโครงสร้างเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของแต่ละประเทศ
รูป 4.1 สัญลักษณ์กรมจัดหางาน
การจัดจำแนกประเภทอาชีพจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มในระดับต่าง
ๆ และกำหนดเลขรหัสใน แต่ละระดับด้วยเลขตั้งแต่ 1-6 หลัก โดยเลขรหัสอาชีพแต่ละหลักจะแสดงถึงความสัมพันธ์
ระหว่างอาชีพและกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกัน
หลักการจัดทำโครงสร้างการจัดประเภทอาชีพ และวิธีการให้เลขรหัส
มีดังนี้
หมวดใหญ่
(Major) เป็นกลุ่มอาชีพที่ใหญ่ที่สุด จัดแบ่งออกเป็น 10 หมวดใหญ่ แทนด้วยเลขรหัสหลักที่ 1
หมวดย่อย
(Sub Major) เป็นกลุ่มอาชีพที่แบ่งย่อยจากหมวดใหญ่ จัดแบ่งออกเป็น
28 หมวดย่อย แทนด้วยเลขรหัสหลักที่ 1 และ
2
หมู่
(Group) เป็นกลุ่มอาชีพที่แบ่งย่อยจากหมวดย่อย จัดแบ่งออกเป็น
116 หมู่ แทนด้วยเลขรหัสหลักที่ 1 ถึง
3 หน่วย (Unit) เป็นกลุ่มอาชีพที่แบ่งย่อยจากหมู่
จัดแบ่งออกเป็น 391 หน่วย แทน ด้วยเลขรหัสหลักที่ 1 ถึง 4
ตัวอาชีพ
(Occupation) เป็นอาชีพที่ถูกจำแนกเข้าไว้ในกลุ่มอาชีพระดับหน่วย แทนด้วยเลขรหัสหลักที่
1-6 โดยแยกตัวเลขหลักที่ 5 และ 6 ออกจาก 4 หลักแรกด้วยจุดทศนิยม ซึ่งตัวอาชีพถูกจัดรวมเข้าไว้ในหน่วยอาชีพนั้น
เช่น อาชีพนักออกแบบเว็บไซต์หรือเว็บมาสเตอร์สามารถแจกแจงโครงสร้างได้ดังนี้
ตาราง
4.1 แสดงกลุ่มอาชีพระดับหน่วย
หมวด
|
ชื่ออาชีพ
|
เลขรหัส
|
หมวดใหญ่
|
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง
ๆ
|
2
|
หมวดย่อยในหมวดใหญ่
|
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านฟิสิกส์, คณิตศาสตร์
และวิศวกรรมศาสตร์
|
21
|
หมู่ในหมวดย่อย
|
นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์
|
213
|
หน่วยในหมู่
|
โปรแกรมเมอร์,
นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
|
2132
|
ตัวอาชีพในหน่วย
|
นักออกแบบเว็บไซด์, เว็บมาสเตอร์
|
2132.20
|
ความเป็นมา
การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ
(ประเทศไทย) เดิมเป็นภารกิจของกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย
จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งหมวดหมู่ และกำหนดรหัสตามการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล
(International Standard Classification of Occupations : ISCO) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International Labour Organization : ILO) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บสถิติด้านแรงงาน
และสามารถ เปรียบเทียบข้อมูลกับนานาประเทศได้อย่างเป็นสากล
ปัจจุบันการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ
(ประเทศไทย)
เป็นภารกิจของกระทรวงแรงงาน โดยกรมการ จัดหางานที่เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำข้อมูล
และกำหนดรหัสหมวดหมู่อาชีพตามหลักเกณฑ์เดียวกับการ จัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล
(ISCO) ซึ่งทาง ILO ได้ ทำการปรับปรุง
ISCO มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือปี
1988 ซึ่งเป็นฐานของการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพของไทย ในปัจจุบัน
รูป 4.2
ตราสัญลักษณ์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
วัตถุประสงค์
การจัดทำการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ
(ประเทศไทย) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
เพื่อปรับปรุงข้อมูลอาชีพของประเทศไทยให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อ
ให้สอดคล้องกับการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลที่ได้มีการปรับปรุงใหม่
- เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ
เอกชน และบุคคลทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อมูลอาชีพ และสะดวกแก่การนำไปใช้ประโยชน์
ประโยชน์
กรมการจัดหางานได้
ดำเนินการจัดทำการจัดประเภทอาชีพ เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันใน
เรื่องอาชีพ และเพื่อการนำข้อมูลไป ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารงานด้านแรงงาน
เช่น การกำหนดค่าจ้าง การแนะแนวอาชีพ การฝึกอบรม การจ้างงาน รวมถึง การวิเคราะห์การเจ็บป่วย
หรือเสียชีวิต ที่เกิดขึ้นจากอาชีพ การที่มีระบบฐาน ข้อมูลเดียวกันสามารถจะนำข้อมูลสถิติไปอ้างอิงและเปรียบเทียบได้ทั้งในระดับหน่วยงานและกับระดับประเทศ
รูป 4.3
แสดงการฝึกอบรมผู้ประกอบการใหม่
การดำเนินงาน
เนื่องจากองค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศ (International Labour Organization) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ได้มีการ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัด ประเภทมาตรฐานอาชีพ (ISCO)
ประกอบกับ การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมของประเทศไทย
ทำให้ประเทศ ไทยต้องทำการปรับปรุงข้อมูลอาชีพให้ทันสมัย และสอดคล้องกับการจัดประเภทมาตรฐานสากล
การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพประเทศไทยฉบับนี้ใช้เอกสารการจัดประเภทมาตรฐาน
อาชีพสากล ฉบับปี 1988 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เป็นหลักและแนวทางในการ
ดำเนินงาน โดยกรมการจัดหางานได้ดำเนินการดังนี้
-
แปลและศึกษาข้อมูลจากเอกสาร International Standard
Classification of Occupation (ISCO) ปี ค.ศ.
1988 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เหมาะสมกับสภาพ ข้อเท็จจริง
- สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลอาชีพจากกิจการและสถานประกอบการต่าง
ๆ ใน ประเทศ
-
ศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น เอกสารหลักสูตรการเรียนการสอนใน
ระดับต่าง ๆ เอกสารประกอบการจัดทำโครงสร้างอัตรากำลังและตำแหน่งงาน ในหน่วยงานภาครัฐ
เอกชน รวมทั้งการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
-
วิเคราะห์และเขียนร่างนิยามอาชีพ
-
ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ
ที่ปรึกษา เพื่อการปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพเฉพาะสาขา เพื่อพิจารณาตรวจแก้ไขร่าง
และให้คำแนะนำ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนำเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัด
ประเภทมาตรฐานอาชีพและอุตสาหกรรม
รูป 4.4 แสดงการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่าง ๆ
2.
ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการมาตรฐาน
The meaning of the words
of the standard
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน
(International Organization for Standardization-ISO) ได้ให้นิยามศัพท์การมาตรฐาน
คือ
2.1
การมาตรฐาน (Standardization) หมายถึง กิจกรรมในการวางข้อกำหนดที่
เกี่ยวเนื่องกับปัญหาสำคัญที่มีอยู่หรือที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติ
วิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตาม ข้อกำหนดที่วางไว้
1. กล่าวโดยเฉพาะได้แก่ กิจกรรมที่ประกอบไปด้วยกระบวนการในการ
กำหนด การประกาศใช้ และการนำมาตรฐาน ต่าง ๆ ไปใช้
รูป 4.5 แสดงมาตรฐานจัดการคุณภาพ
2.
ประโยชน์ที่สำคัญของการมาตรฐาน ได้แก่ การปรับปรุงความเหมาะสมของ ผลิตภัณฑ์
กรรมวิธี และการบริการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ป้องกันไม่ให้มีอุปสรรคในทางการค้า
และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในทางเทคโนโลยี
2.2
มาตรฐาน (Standard) หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นตรงกันและได้
รับความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าววางกฎระเบียบแนวทาง
ปฏิบัติหรือลักษณะเฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้
กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้
หมายเหตุ
: มาตรฐานควรตั้งอยู่บนผลที่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และประสบการณ์
โดยมุ่งการส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2525 ได้ให้คำนิยามของมาตรฐานว่า มาตรฐาน คือ สิ่งที่ถือเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนด
พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511 ได้กำหนดคำว่า
"มาตรฐาน" ไว้ว่า มาตรฐาน คือ ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างเกี่ยวกับ
1.
จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำเครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ
ความทนทานและ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2.
วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธี เขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับ การทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3.
จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อ หรือสิ่งบรรจุชนิดอื่นรวมตลอดถึง การทำหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น
วิธีการบรรจุ หุ้มห่อหรือผูกมัด และวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย
4.
วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบและวิธีชั่ง
ตวง วัด อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5. คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และหน่วยที่ใช้ใน
ทางวิชาการอันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
6.
ข้อกำหนดรายการอย่างอื่นอันเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามที่รัฐมนตรีประกาศหรือตามพระราชกฤษฎีกา
2.3
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง สิ่งหรือเกณฑ์ทางเทคนิคที่กำหนดขึ้น
สำหรับผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม เกณฑ์ทางเทคนิคนี้จะระบุคุณลักษณะที่สำคัญ ของผลิตภัณฑ์
ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของ วัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งจะรวมถึงวิธีการทดสอบด้วย
เพื่อใช้ เป็นเครื่องตัดสินว่าคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นไปตาม มาตรฐานหรือไม่
2.4
มาตรฐานชุมชน กำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุน การนำภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นมาพัฒนา
และยกระดับการผลิตให้มีคุณภาพเพื่อสร้างรายได้ให้ ชุมชนอย่างยั่งยืน ตามโครงการ
"หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล
โดยสำนักงานฯ ให้การรับรองและแสดงเครื่องหมายรับรองคุณภาพ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่
ผู้บริโภคและสามารถขยายตลาดส่งออกจำหน่ายในตลาดวงกว้างได้มากขึ้น
2.5
มาตรฐานสำหรับระบบการจัดการ นอกจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์แล้ว ยังมี มาตรฐานระบบการจัดการต่าง
ๆ ซึ่งสามารถขอการรับรองได้ เมื่อหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ มีการ พัฒนาระบบคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานแล้ว
ก็สามารถขอการรับรองเพื่อ เป็นการประกันความสามารถและคุณภาพที่เทียบเท่ามาตรฐานสากลได้
2.6
มาตรฐานระบบการจัดการ (Management System Standard) คือ ข้อกำหนดหรือขั้นตอนในการบริหารกระบวนการทำงานต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนา
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ปัจจุบันมาตรฐานระบบการจัดการที่สำคัญและหน่วยงานทั่วโลกนำไปใช้อย่าง
แพร่หลาย ได้แก่
1.
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 (Quality Management
System : QMS) เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการบริหารงาน ในองค์กรที่นำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ โดยสามารถนำไปใช้ได้
ทุกองค์กร ทุกขนาดทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและผู้ที่
เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบัน ISO 9000 : 2000 แบ่งเนื้อหาออกเป็น
4 ฉบับ คือ
ISO 9000 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - หลักการพื้นฐานและคำศัพท์
ISO 9001 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ – ข้อกำหนด
ISO 9004 : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - แนวทางการปรับปรุงสมรรถนะ
ISO 19011 : แนวทางในการตรวจประเมินระบบการบริหารงานคุณภาพ
และ/หรือระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
2.
มาตรฐานระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาตรฐานระบบการจัดการ
3.
สิ่งแวดล้อม (Environment Management System : EMS) เป็นมาตรฐานที่มี ความสำคัญมากเพราะกำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุน การรักษาสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน
หรือองค์กร ที่ครอบคลุมถึงการจัดระบบโครงสร้างองค์กร การกำหนด ความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน
ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการและการใช้ทรัพยากรที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการจัดการ
และสร้างจิตสำนึกที่ ดีร่วมกันในการรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งในหน่วย งานและรวมไปถึงชุมชนใกล้เคียง
เพื่อนำไปสู่การ พัฒนา
4. มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก.
18001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้เพราะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง หน่วยงานหรือองค์กรสมัยใหม่ในปัจจุบันใส่ใจในเรื่องอาชีวอนามัย
และความปลอดภัยของบุคลากรในกระบวนการทำงานต่าง ๆ กันมากขึ้น โดยการชี้บ่งอันตรายและ
ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรเองและชุมชนใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงและ
พัฒนาการดำเนินงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
5. มาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบความมั่นใจได้
ว่าสินค้ามีคุณภาพหรือไม่ จำเป็นที่จะต้องนำไปทดสอบจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือและมีเครื่องมือ
ในการทดสอบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งมาตรฐานที่นำมาใช้กับหน่วยงานที่
ให้บริการในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ มาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบตาม
มอก. 17025-2543 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC
17025
6. มาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิต
อาหาร มาตรฐานด้านอาหารนับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะประเทศไทยเป็น
ประเทศเกษตรกรรมและเป็นประเทศส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก การส่งออกอาหารไปจำหน่าย และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้นั้น
จำเป็นต้องมีระบบการจัดการด้าน อาหารที่เป็นที่ยอมรับ และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร
HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System) เป็น มาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
3.
ระดับมาตรฐาน
Standard
ระดับของมาตรฐาน
มาตรฐานที่กำหนดขึ้นนั้น
หากจำแนกโดยระดับแล้วอาจมีได้หลายระดับ (Level) ทั้งนี้
โดยพิจารณาจากการกำหนดขึ้นและการนำไปใช้ ระดับของมาตรฐานดังกล่าวแยกได้เป็น 6 ระดับที่สำคัญ ดังนี้
1. มาตรฐานระดับบุคคล (Individual Standards)
เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยผู้ที่ต้องการใช้แต่ละบุคคล
รวมไปถึงการกำหนดโดยแต่ละหน่วยงานเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานนั้น
เช่น ข้อกำหนดในการทำเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้น การออกแบบบ้านแต่ละหลัง เขื่อนแต่ละแห่ง
การสร้างสะพาน การสร้างโรงงาน ทำผลิตภัณฑ์เฉพาะ ฯลฯ
2. มาตรฐานระดับบริษัท (Company Standards)
เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นจากการกำหนดขึ้นโดยการตกลงร่วมกันของแผนกในบริษัท
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการผลิต การซื้อขาย ฯลฯ
3. มาตรฐานระดับสมาคม (Association Standards)
เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นจากกลุ่มบริษัท
หรือโดยกลุ่มบุคคลที่อยู่ในวงการค้าเดียวกัน
หรือเกิดจากข้อตกลงของกลุ่มบริษัทหรือโรงงานที่มีกิจกรรมของอุตสาหกรรมเป็นอย่างเดียวกัน
หรือมีการผลิตของชนิดเดียวกัน เช่น กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น
4. มาตรฐานระดับประเทศ (National Standards)
เป็นมาตรฐานที่ได้จากการประชุมหารือเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในชาติ
โดยมีหน่วยงานมาตรฐานของชาตินั้น ๆ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งหน่วยงานมาตรฐานของชาตินี้
อาจเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนก็ได้
5. มาตรฐานระดับภูมิภาค (Regional Standards)
เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นจากการประชุมปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
แล้วกำหนดข้อตกลงร่วมกัน ส่วนมากจะเป็นการปรับมาตรฐานระดับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
ให้มีสาระสำคัญสอดคล้องกัน
6. มาตรฐานระดับระหว่างประเทศ (International Standards)
เป็นมาตรฐานที่ได้จากข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกต่าง
ๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น
มาตรฐานระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International
Organization for Standardization - ISO)
4.
หลักการของมาตรฐาน
Principles
of ISO
การมาตรฐานมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
หลักการที่ 1 หลักของการลดแบบและขนาด
หลักการนี้
สืบเนื่องมาจากความคิดของมนุษย์
ที่ต้องการให้การดำเนินชีวิตของคนเราเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การลดแบบและขนาดของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่มากมายให้เข้ารูปเข้าแบบที่เหมาะสม จึงเป็นการทำสิ่งที่ยุ่งยากให้ง่ายขึ้น
ขจัดความฟุ่มเฟือยของแบบและขนาดที่ไม่จำเป็น
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความยุ่งยากและซับซ้อนในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อป้องกันความยุ่งยากที่ไม่จำเป็นในอนาคตด้วย
หลักการที่ 2 หลักของการเห็นพ้องต้องกัน
การมาตรฐานเป็นกิจกรรมที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น ในการกำหนดมาตรฐานจึงต้องอาศัยความเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่าย
และต้องเป็นการเห็นพ้องกันที่เป็นที่ยอมรับด้วย
หลักการที่ 3 ต้องมีการนำมาตรฐานไปใช้ปฏิบัติได้
มาตรฐานแม้จะมีเนื้อหาดีเด่นเพียงใดก็ตาม
หากไม่มีใครนำเอามาตรฐานไปใช้แล้วก็ถือว่ามาตรฐานนั้นเป็นเพียงเอกสารที่ไม่มีคุณค่า
เพราะไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์จากมาตรฐาน ดังกล่าวได้
หลักการที่ 4 มาตรฐานต้องทันสมัยอยู่เสมอ
มาตรฐานควรจะได้รับการทบทวนและปรับปรุงให้ทันสมัย
เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันอยู่เสมอ ต้องไม่หยุดนิ่งเป็นเวลานาน
โดยทั่วไปมาตรฐานทุกเรื่องจะต้องได้รับการตรวจสอบ หรือการปรับปรุงแก้ไขทุกๆ 5 ปี
หลักการที่ 5 มาตรฐานต้องมีข้อกำหนดที่จำเป็น
ข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะมีการระบุคุณลักษณที่สำคัญของผลิตภัณฑ์
ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุดิบ ฯลฯ
โดยการกำหนดคุณลักษณะแต่ละรายการต้องชัดเจน
และต้องมีข้อกำหนดวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์ไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น
ๆ เป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานหรือไม่
หลักการที่ 6 มาตรฐานควรมีการนำไปใช้โดยเสรี
เชื่อกันว่าการนำมาตรฐานไปใช้โดยสมัครใจจะได้ผลดีกว่า
แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการ บังคับใช้มาตรฐาน
ก็ควรจะได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบในทุก ๆ ด้าน
5
ประโยชน์ของการมาตรฐาน
Benefits
of Standards
การมาตรฐานอำนวยประโยชน์แก่บุคคลหลาย ๆ
ฝ่ายทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และต่อเศรษฐกิจ ของชาติโดยส่วนรวมด้วย กล่าวคือ
1. ประโยชน์ของการมาตรฐานต่อผู้ผลิต ได้แก่
1.1 ลดจำนวนวิธีหรือทางปฏิบัติ
เพื่อให้ได้ผลอย่างเดียวกัน ให้เหลือเท่าที่จำเป็น
โดยมีการเปลี่ยนแปลงสายการผลิตให้น้อยลง ลดเครื่องมือ เครื่องจักรและเวลาที่ใช้
1.2 ลดจำนวนแบบและขนาดให้เหลือน้อยลง
ด้วยการใช้แบบและขนาดที่สับเปลี่ยน ทดแทนกันได้
ทำให้สามารถใช้เครื่องจักรช่วยในการผลิตได้มากขึ้น และสิ่งของที่ผลิตขึ้นมีความ
สม่ำเสมอ ในสายการผลิตเดียวกัน สามารถผลิตสิ่งของอย่างเดียวกันติดต่อกันได้นานขึ้น
เสียเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเปลี่ยนไปผลิตสิ่งของอย่างอื่นน้อยลง
และประหยัดทั้งเครื่องมือในการปรับตั้ง และวัสดุที่ใช้ในการทดลองผลิต
กับเปลี่ยนส่วนที่สึกหรอของเครื่องจักรได้ง่าย
1.3 ลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ
ควบคุมคุณภาพ ชดเชยอุบัติเหตุในการทำงานลดลง
1.4 ลดปริมาณวัสดุ ส่วนประกอบ อะไหล่
และสินค้าที่ต้องมีไว้สำหรับใช้และจำหน่าย
2. ประโยชน์ของการมาตรฐานต่อผู้อุปโภคบริโภค
2.1 ปลอดภัยในการใช้งาน และการบริโภค
2.2 สะดวก
ประหยัดเงินและเวลาในการเลือกซื้อ-เลือกใช้ เพราะผลิตภัณฑ์มาตรฐาน
สามารถสับเปลี่ยนทดแทนกันได้
2.3 ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์
เพราะผลิตภัณฑ์มาตรฐานจะมีคุณภาพสมราคา และสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
2.4 สามารถซื้อหาสินค้าที่มีคุณภาพ และสมรรถนะในการทำงานได้อย่างเดียวกันในราคาต่ำลง
2.5 สับเปลี่ยนทดแทนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือเสียได้
สะดวกและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่หมดทั้งชุด ซื้อหาส่วนประกอบและอะไหล่ที่ต้องการสับเปลี่ยนได้ง่าย
3. ประโยชน์ของการมาตรฐานต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวม หรือประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่
3.1 ทำให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
เพราะมีความเข้าใจที่ตรงกัน
3.2 ประหยัดกำลังคน การใช้วัสดุและเวลา ลดค่าใช้จ่าย
ในการจัดหา การส่งสินค้าออกสู่ตลาดการใช้บริการ
ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายลงได้ การสร้างพื้นฐานในการเปรียบเทียบ
ก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขายและเป็นพื้นฐานการแข่งขันในเชิงการค้า
3.3 ประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
เพราะสามารถใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.4 สร้างความนิยมเชื่อถือในสินค้าที่ผลิตขึ้น แก่ผู้ใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรม
อันเป็นการสร้างพื้นฐานที่มั่งคงให้แก่กิจการอุตสาหกรรมและพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศ
6. มาตรฐานอาชีพ
(Occupational Standards : OS)
มาตรฐานอาชีพหมายถึงสมรรถนะงานหลัก และงานย่อยของแต่ละอาชีพ ประกอบด้วยเกณฑ์การปฏิบัติงาน
ขอบเขตของงาน ความรู้ที่ต้องใช้ และผลงานที่เป็นรูปธรรม มาตรฐานอาชีพเป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยเจ้าของอาชีพหรือองค์กรทางวิชาชีพ
โดยกำหนด สมรรถนะในงานหลัก หรือความสามารถในการปฏิบัติงาน (Competency Based) ของอาชีพนั้น ๆ ในหลักการหรือเทคนิคที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่
Functional Analysis เป็นกรอบแนวทาง ในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรมนักเรียนในอาชีพหนึ่ง
ๆ สามารถ กำหนดสมรรถนะต่าง ๆ ออกเป็นระดับหลายระดับตามที่คณะกรรมการกำหนด เช่น กำหนดเป็น
5 ระดับ โดยระดับ 1 เป็นงานประจำค่อนข้างง่าย และพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนถึงระดับ
5 ซึ่งเป็น ระดับที่ซับซ้อนของงานในอาชีพมากที่สุด
มาตรฐานอาชีพ (Occupational
Standard / professional
standards) เป็นการกำหนดมาตรฐานของสมรรถนะรวมทั้งความรู้และความเข้าใจที่คาดหวังว่าบุคลากรจะบรรลุสำหรับอาชีพหนึ่งมาตรฐานอาชีพนี้ใช้เป็นฐานในการกำหนดและประเมินเพื่อให้ได้คุณวุฒิวิชาชีพ
(Vocational Qualifications - VQ) มาตรฐานอาชีพทำโดยกลุ่มอาชีพเฉพาะนั้นๆ (บางครั้งเรียกมาตรฐานสมรรถนะ)
มาตรฐานอาชีพ
ซึ่งกำหนดโดยกลุ่มอาชีพหรือเจ้าของอาชีพคือ
การกำหนดมาตรฐานของสมรรถนะที่คาดหวังว่าบุคลากรจะบรรลุสำหรับอาชีพหนึ่ง
รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจ ส่วนสมรรถนะ
คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะปฏิบัติ และทักษะด้านความคิด
ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผลตามมาตรฐานที่ต้องการของอาชีพ
มาตรฐานอาชีพใช้เป็นเกณฑ์ในการหาคุณวุฒิวิชาชีพ (TVQ)
7
แนวคิดในการเป็นวิชาชีพ
Professional
แนวคิดในการเป็นวิชาชีพ
(Professional)
ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ
1. ความรู้
ทักษะ และสมรรถนะ (Competency)
ซึ่งอิงหลักวิชาการศึกษา หลักการอบรม
2. ระดับของการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ
ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับผู้ปฏิบัติงาน (Practitioner)
ระดับวิชาชีพ (Professional) และระดับวิชาชีพอาวุโส
(Senior Professional)
3.การทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ (ความรู้
ทักษะ และพฤติกรรม) โดยองค์กรรับรองวิชาชีพ
4.องค์กรวิชาชีพที่มีอำนาจกำหนดการเข้ามาประกอบอาชีพของบุคคล
5.มีองค์กรวิชาชีพที่มีอำนาจกำหนดการเข้ามาประกอบอาชีพของบุคคล
6.มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น