การใช้เครือข่ายอินเตอร์เนตสืบค้นข้อมูล
บนเครือข่ายอินเตอร์เนตมีข้อมูลอยู่อย่างมากมาย มีหลายประเภท ในการสืบค้นข้อมูลด้วยวิธีทั่วๆ ไปจะทำได้ช้าระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตจึงมีโปรแกรมช่วยค้นหาข้อมูล ซึ่งจะอยู่ในเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Site) ในเว็บไซต์เหล่านี้จะจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. โปรแกรมค้นหา (Search Engine) เป็นการค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ เหมาะกับการค้นหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เช่น Yahoo, Lycos, Google ฯลฯ
2. สารบบค้นหา (Search Directory) เป็นเว็บไซต์ที่ค้นหาข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่แบบกว้าง ๆ เช่น Yahoo, Sanook ฯลฯ
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com www.yahoo.com www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ
"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
"หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
"ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย
ที่มาแะได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์ เกื้อกมล พฤกษประมูล และโสภิต พิทักษ์. ภาษาไทย หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น