วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานอาชีพช่างสถาปัตย์


ชื่ออาชีพ
ช่างเขียนแบบ(สถาปัตยกรรม) Draftsman Architectural , Draftsman


นิยามอาชีพ
ผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำหน้าที่เขียนแบบรายละเอียด และรูปแบบทางด้านเทคนิค
จากภาพสเก็ตซ์ หรือจากบันทึกการแสดงรายการต่างๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร
แต่เพียงบางส่วนหรือ ทั้งหมด ปฎิบัติงานหลักขั้นมูลฐานเช่นเดียวกันกับช่างเขียนแบบ
ทั่วไป แต่ชำนาญงานเขียนออกแบบอาคาร


ลักษณะงานที่ทำ
1. เขียนแบบสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมก่อสร้าง ปฏิบัติงานด้านเทคนิคกับสถาปนิก
    วิศวกรโยธา มัณฑนากรในการเขียนแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคจาก
    ภาพร่างหรือจากบันทึกแสดงรายการต่างๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง
2. เขียนแบบจากภาพร่าง และรายละเอียดที่จัดทำโดยสถาปนิก และวิศวกรเพื่อนำไปใช้
   ในการ ก่อสร้าง ต่อเติม และซ่อมแซมอาคารโดยใช้เครื่องมือเขียนแบบ และอุปกรณ์
   ประกอบหรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเขียน สร้างมิติรูปทรงต่างๆอันเป็นงานซับซ้อน
   ในการเขียนแบบ เช่น แบบแปลนรูปด้านต่างๆ รูปตัด แบบขยาย แบบทัศนียภาพแบบ
   ตกแต่งภายใน หรือเขียนแบบทางวิศวกรรม เช่น แบบฐานราก แบบการผูกเหล็ก
   โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถใช้มาตราส่วนหรือสัญญลักษณ์ได้อย่างถูกต้อง
   ใช้พิกัดมูลฐานและการประสานหาพิกัด และการวางแผนผังอาคารด้วยตารางพิกัด
    เป็นต้น
3. การทำหุ่นจำลองด้านสถาปัตยกรรมการถ่ายสำเนาแบบ และการจัดเก็บรักษา
   แบบพิมพ์เขียว ชี้แจงรายละเอียดของแบบให้แก่ช่างก่อสร้าง และปฏิบัติงานอื่นๆ
  ที่เกี่ยวข้อง
4. ช่วยประมาณค่าก่อสร้าง




สภาพการทำงาน
ผู้ที่ปฏิบัติงานในอาชีพนี้จะทำงานในสำนักงานหรือห้องที่มีแสงสว่าง มีระบบ
ปรับอากาศโดยนั่งอยู่กับโต๊ะเขียนแบบ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดวันใช้สายตา
และการเคลื่อนไหวของมือมาก มีพรสวรรค์การขีดเขียนต้องประณีต ต้องระมัดระวัง
การเขียนให้ได้มาตรฐานทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมและต้องออก
ภาคสนามเพื่อร่วมตรวจงานตามที่ออกแบบไว้


คุณสมบัติ
ผู้ที่ปฏิบัติงานในอาชีพนี้จะทำงานในสำนักงานหรือห้องที่มีแสงสว่าง มีระบบ
ปรับอากาศโดยนั่งอยู่กับโต๊ะเขียนแบบ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดวันใช้สายตา
และการเคลื่อนไหวของมือมาก มีพรสวรรค์การขีดเขียนต้องประณีต ต้องระมัดระวัง
การเขียนให้ได้มาตรฐานทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมและต้องออก
ภาคสนามเพื่อร่วมตรวจงานตามที่ออกแบบไว้



โอกาสการทำงาน
ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. สำเร็จการศึกษาระดับประโยควิชาชีพ ประโยควิชาชีพชั้นสูง สาขาช่าง
เขียนแแบบสถาปัตยกรรม สาขาที่เกี่ยวข้อง เช่นศิลปกรรม
2. มีความรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเพื่อการออกแบบ
(Computer Aided Design) และเทคโนโลยีการเขียนแบบก่อสร้าง
3. มีความรู้เรื่องรายละเอียดของวัสดุก่อสร้างและหน้าที่การใช้สอย
4. มีมนุษยสัมพันธ์ดี และสามารถทำงานเป็นทีมได้
5. มีความเข้าใจในงานสร้างสรรเชิงพาณิชย์


ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ควรเตรียมความพร้อมดังนี้คือ :
ผู้ที่จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าสามารถเข้ารับการศึกษาต่อในระดับ
ประโยควิชาชีพ 3 ปี สาขาช่างเขียนแบบ จากสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา และ
อาจศึกษาต่อจนจบประโยควิชาชีพชั้นสูงอีก 2 ปี 

ผู้ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า สนใจที่จะประกอบอาชีพนี้
สามารถเข้ารับ การฝึกอบรมในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนา
ฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) เป็นเวลประมาณ 14 เดือน เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับ
วุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพช.) โดยหลักสูตรการอบรมจะเน้นภาคการปฏิบัติ
และมีเนื้อหาหลักสูตรดังนี้ การอ่านแบบเขียนแบบก่อสร้าง เขียนแบบตกแต่งภายใน
การเขียนภาพทัศนียภาพ เทคนิคการก่อสร้างอาคารการประมาณราคา และการทำ
หุ่นจำลอง



โอกาสมีงานทำ
ปัจจุบันผู้ประกอบอาชีพนี้ยังสามารถประกอบอาชีพได้ในระดับปานกลางเนื่องจาก
เศรษฐกิจ ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้างถดถอยตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ธุรกิจ
ในด้านการก่อสร้างต่อเติมดัดแปลงอาคาร และซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนให้มั่นคง
แข็งแรง ยังสามารถดำเนินได้อยู่อีกทั้งผู้ประกอบอาชีพนี้อาจมีโอกาสได้รับทำงาน
ส่วนตัว หรือเป็นนายหน้าขายสินค้าจากสายสัมพันธ์ทางธุรกิจเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเอง
ถ้ามีความสนใจทางด้านการตลาดสินค้าของที่ระลึก ของใช้ในบ้านหรือครัวเรือน
อาจหันมาประกอบอาชีพ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้หุ่นจำลองต่างๆ เช่น
แบบอาคารบ้านสัตว์ตัวการ์ตูนหรือผลิตนวัตกรรมทางศิลปะ เพื่อจำหน่าย
ในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น



โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
สำหรับผู้ประกอบอาชีพนี้ ในภาคราชการจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปตามขั้นตอน
และผู้ที่มีการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือเข้ารับ
การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นถึงขั้นวิศวกร หรือสถาปนิกอาจเข้ารับการอบรมและทักษะ
จากการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานที่ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพของกระทรวงแรงงานฯ ทั่วทุกจังหวัด
ในภาคเอกชนช่างเขียนแบบอาจพัฒนาตนเองเป็นผู้รับเหมา หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว


อาชีพที่เกี่ยวข้อง
ช่างเขียนแบบโครงสร้างวิศวกรรม ช่างเขียนแบบแผนที่ นายช่างเทคนิค สถาปนิก
วิศวกร มัณฑนากร ออกแบบศิลปของใช้ ของที่ระลึกหรือของขวัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น