วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุป จรรยาบรรณ

       “จริยธรรม” หรือ “จรรยาบรรณ” มีเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือต้องการให้คนแต่ละคน หรือองค์กรต่าง ๆ มีแนวปฏิบัติ และการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม หรือการประพฤติดีประพฤติชอบทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น เป็นเรื่องของการใช้เหตุผลและดุลยพินิจจึงเกิดคำถามต่อมาว่า “อะไรคือถูกและผิด ดีและเลว” ในอีกแนวความคิดหนึ่งมีความเห็นว่า “ได้แก่การกำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่ “ถูกต้อง” (right) “เหมาะสม” (proper) “ยุติธรรม” (justice) ซึ่งจะใช้กรณีที่พูดถึงจริยธรรมของผู้บริหารเน้นที่ความสัมพันธ์ของบริษัท หรือ องค์กรธุรกิจต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ 
        ส่วนคำว่า จรรยาบรรณ เรามักจะได้ยินใช้คู่กับอาชีพต่าง ๆ เช่น จรรยาบรรณแพทย์ จรรยาบรรณครู จรรยาบรรณของนักบัญชี จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
        สภาวิจัยแห่งชาติ ได้ให้คำจำกัดความคำว่า “จรรยาบรรณ” หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสมแสดง ถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาอาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพของตน



สรุป
        จริยธรรม คือ คุณสมบัติที่ประพฤติได้ จะเกิดความงดงาม หรือความสง่างามในสายตาผู้อื่น เป็นความงดงามทางจิตใจ วาจา และพฤติกรรม นำไปสู่ความร่วมมือ การช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้อื่นได้โดยง่าย และด้วยความเต็มใจ ซึ่งสังคมยอมรับ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
        “จรรยาบรรณ” คือ กรอบหรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามของการประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ หรือรูปแบบในการดำรงตนของคนในกลุ่ม สังคม หมู่คณะ หรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งนอกเหนือจากการแสดงออกในแนวทางที่ถูกต้องที่สังคมยอมรับแล้ว การมีจิตสำนักที่ดี มีจิตใจงาม มีความเมตตา โอบอ้อมอารี ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ประกอบสัมมาอาชีพ หรือ การดำรงตนที่จะส่งผลต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และความมีคุณธรรมของแต่ละบุคคล หรือ ผู้ประกอบการหรือกลุ่มสังคมนั้น ๆ ที่สามารถจะมองเห็นเป็นรูปธรรมได้

         การลงโทษผู้ประพฤติผิดจริยธรรม หรือจรรยาบรรณนั้น จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน ฝ่ายหนึ่งมองว่า “วินัย” กับ “จริยธรรม หรือ จรรยาบรรณ” เป็นเรื่องเดียวกัน จึงออกเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ และ “ต้องปฏิบัติตาม” หากผู้ใดประพฤติผิดหรือละเมิดจะถูกลงโทษตามลักษณะความผิด หรือกฎเกณฑ์การลงโทษที่กำหนดไว้ แต่อีกแนวความคิดหนึ่งมองว่า “จริยธรรม หรือ จรรยาบรรณ” เป็นเรื่อง “พึงปฏิบัติ หรือควรปฏิบัติ” ด้วยความสมัครใจไม่มีลักษณะเป็นการบังคับ ไม่มีบทลงโทษกำหนดไว้ แต่การลงโทษผู้ฝ่าฝืน “จริยธรรม หรือจรรยาบรรณ” คือการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) เช่น การถูกสังคมรังเกียจ การถูกตำหนิติเตียน หรือถูกคนในสังคมปฏิเสธหรือไม่ยอมรับการประพฤติปฏิบัติในลักษณะการกระทำนั้น ๆ หรืออีกนัยหนึ่งมักจะนิยมใช้คำว่า “จำเลยทางสังคม” ส่วน “วินัย” ซึ่งมีบทลงโทษ ด้วยนั้นจะแยกไว้อีกกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจน


ที่มา http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L3/3-1-1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น