ส7 จันทร์ที่5- ศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 (หยุดวันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม สำหรับผู้เรียนวันจันทร์ให้
การทำรายงาน
คือ การเขียนรายงาน คือ การเขียนเรียบเรียงสิ่งที่พบเห็นหรือได้กระทำมา เพื่อรวบรวมข้อมูลนำเสนอ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ การเขียนรายงานทางวิชาการ หรือการเขียนรายงานจากการศึกษาค้นความข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้ศึกษามาทำการเรียบเรียงเป็นเรื่องราวตามเค้าโครง ที่วางไว้ เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่น เข้าใจ ก่อนที่จะเขียนรายงานได้นั้น ผู้เขียนต้องทำความเข้าใจ ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่จะเขียน รายงานก่อน การทำรายงานจะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะเป็นการเรียบเรียงความรู้ ความคิดให้เป็นระเบียบ
ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน
- หน้าปก อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ
- หน้าชื่อเรื่อง ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน
- คำนำ ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ
- สารบัญ หมายถึง บัญชีบอกบท
- สารบัญตาราง ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่" มาเป็น "ตารางที่"
- สารบัญภาพประกอบ เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น
- ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท
- อัญประกาศ เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน
- เชิงอรรถ คือ ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ
- ตารางภาพประกอบ ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย
- บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า
- ภาคผนวก คือ ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
- ดรรชนี คือ หัวข้อย่อย หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฎอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- หน้าปก อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ
- หน้าชื่อเรื่อง ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน
- คำนำ ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ
- สารบัญ หมายถึง บัญชีบอกบท
- สารบัญตาราง ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่" มาเป็น "ตารางที่"
- สารบัญภาพประกอบ เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น
- ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท
- อัญประกาศ เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน
- เชิงอรรถ คือ ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ
- ตารางภาพประกอบ ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย
- บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า
- ภาคผนวก คือ ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
- ดรรชนี คือ หัวข้อย่อย หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฎอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ปกหน้า
รูปแบบการจัดหน้ากระดาษ
การใช้ตัวอักษร ใช้ตัวอักษรชนิด TH SarabunPSK ขนาด 16
การจัดระยะห่างระหว่างบรรทัด ใช้ หนึ่งเท่า และระยะห่างก่อน หรือหลัง เป็น ศูนย์
คำสั่ง
หน้าแรก > ย่อหน้า ตัวเลือกระยะห่าง ก่อน หลัง ใช้ 0 ระหว่างบรรทัด ใช้ หนึ่งเท่า
(ให้สังเกต การแสดงตัวอย่าง ว่าตรงตามที่เรากำหนดหรือไม่)
การตั้งค่าหน้ากระดาษ ในหน้าปกติ ปกหน้า และหน้าอื่นๆ
การตั้งค่าหน้ากระดาษ หน้าที่เริ่มต้นบทใหม่เท่านั้น
การเขียนเอกสารอ้างอิง (แนบเอกสาร ส7 reference – writeting)
ใช้รูปแบบเดียวกับการทำรายงานอื่นๆ
คือ
1. การอ้างอิงจากหนังสือ
2. การอ้างอิงจากวราสาร
3. การอ้างอิงจากสื่อสิ่งพิมพ์อื่น
4. การอ้างอิงจากเว็บไซด์ Chicago
เป็น รูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในทุกสาขาวิชา นิยมใช้ในการลงรายการหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่อ้างอิงเป็นเอกสารที่ไม่เป็นวิชาการมากนัก การอ้างอิงมีข้อกำหนดตามแหล่งที่มาของเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงดังนี้
การอ้างอิงจากบทความในวารสาร
ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร ปีที่ (ฉบับที่): เลขหน้า.ตัวอย่าง
Wilcox, Rhonda V. 1991. Shifting roles and synthetic women in Star
trek: The next generation. Studies in Popular Culture 13 (2): 53-65.
การอ้างอิงบทความในนิตยสาร
ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อนิตยสาร, วัน เดือน.
ตัวอย่าง
Smith, Jane. 1996. There is no resisting the Borg queen. Maclean's,
December 2.
การอ้างอิงบทความจากหนังสือพิมพ์
ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, วันเดือน, หน้า.
ตัวอย่าง
Di Rado, Alicia. 1995. Trekking through college: Classes explore
modern society using the world of Star trek. Los Angeles Times,
March 15, sec. A.
การอ้างอิงจากหนังสือ
ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. ตัวอย่าง
Okuda, Michael, and Denise Okuda. 1993. Star trek chronology: The
history of the future. New York: Pocket Books.
การอ้างอิงจากบทความในหนังสือประเภทสารานุกรม
การอ้างอิงจากบทความในหนังสือประเภทสารานุกรม
ในกรณีที่สารานุกรมนั้น เป็นชื่อที่รู้จักกันดี เช่น Encyclopedia Americana ในการอ้างอิง ควรอ้างอิงในเนื้อหาของรายงาน จะไม่นำไปเป็นรายการอ้างอิงท้ายรายงาน แต่หากบทความนั้นเป็นบทความที่นำมาจากหนังสืออ้างอิงที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไรนัก ให้อ้างอิงเช่นเดียวกับ บทความในหนังสือ (Articles from less well known reference books can be treated as a Book Article or Chapter)
ตัวอย่างเช่น
•§ In his article on science fiction in the 1995 edition of the
Encyclopedia Americana, Theodore Sturgeon says that the
phrase, science fiction, was created by Hugo Gernsback.
•§ Theodore Sturgeon says that the phrase, science fiction, was
created by Hugo Gernsback (Encyclopedia Americana, 1995 ed.,
s.v. "Science fiction.").
การอ้างอิงบทความในหนังสือ
(กรณีที่เป็นหนังสือชุด ให้ลงข้อมูลหมายเลขเล่มก่อนหมายเลขหน้า เช่น 3:26-27)
ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ในชื่อหนังสือ, บรรณาธิการ, เลขหน้า. สถานที่พิมพ์:
สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
James, Nancy E. 1988. Two sides of paradise: The Eden myth
according to Kirk and Spock. In Spectrum of the fantastic,
ed. Donald Palumbo, 219-223. Westport, CT: Greenwood.
การอ้างอิงจากบทความในฐานข้อมูล
ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ไฟล์ข้อมูล, หมายเลข
ตัวอย่าง
Fuss-Reineck, Marilyn. 1993. Sibling communication in Star trek: The next generation: Conflicts between brothers. Miami, FL: Speech Communication Association, text-fiche, ED364932.
การอ้างอิงจากเว็บไซต์
ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทความ. ผู้รับผิดชอบ. URL (วันที่ เดือนปีที่สืบค้น)
ตัวอย่าง
Lynch, Tim. 1996. Review of DS9 trials and tribble-ations. Psi Phi:
Bradley's Science Fiction Club. http://www.bradley.edu/campusorg/
psiphi/DS9/ep/503r.html (accessed October 8, 1997).
080 อรัญวุธ ส1ชยB รายงานตัวคับ...
ตอบลบ