วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ส1 ส1ชยA อังคาร 15 พค 55


โปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ
3000-0201

โครงการสอน
รหัสวิชา 3000-0201

ชื่อวิชา โปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ
คาบ-หน่วยกิต 4 ชั่วโมง 3 หน่วยกิต 
กลุ่มชั้น ปวส.
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

คำอธิบายรายวิชา
 ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในงานอาชีพ การจัดการเอกสาร การจัดการฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ สื่อผสมและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการผลิตสื่อประเภทต่างๆ การสืบค้นข้อมูล สารสนเทศ สื่อพัฒนางานอาชีพด้วยคอมพิวเตอร์

จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างและการใช้งานของโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานอาชีพ
2. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการจัดทำเอกสาร การจัดการฐานข้อมูลการเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลงานและการผลิตสื่อในงานอาชีพ
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

มาตรฐานรายวิชา
1. ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการจัดการเอกสาร
2. ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น
3. ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
4. ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการผลิตสื่อและการนำเสนอผลงาน
5. ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนางานอาชีพ

สมรรถนะของรายวิชา
1. จัดทำเอกสารเพื่องานอาชีพด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ
2. สร้างตารางทำการเพื่องานอาชีพด้วยโปรแกรมตารางทำงาน
3. สร้างสไลด์นำเสนอผลงานด้วยโปรแกรมการนำเสนอ
4. สร้างฐานข้อมูลเพื่องานอาชีพด้วยโปรแกรมฐานข้อมูล
5. สืบค้นข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตและรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

สื่อการเรียนการสอน
1. โปรแกรมนำเสนองานเรื่องที่เกี่ยวข้อง
2. การนำเสนองานโดยโปรแกรม e-book ที่เกี่ยวข้อง
3. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
4.  โปรเจคเตอร์และจอภาพ
5. กระดานไวท์บอร์ด และปากกาเขียนไวท์บอร์ด
6. สื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง
7. anothai573.blogspot.com
8. anothai573@gmail.com
9. facebook

เอกสารประกอบการเรียนการสอน
1. โปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ เรียบเรียงโดย ดรุณีย์ พัฒศรีเมือง และคณะ  2548 บริษัท
ศูนย์หนังสือเมืองไทย จำกัด
2. โปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ เรียบเรียงโดย ศรีวิไล คำเมือง วารินทร์ ผลละมุด 2549 บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด
3. การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ Ms Word 2007 เรียบเรียงโดย ผศ.รัชฏาวรรณ นิ่มนวล และ
วิภาวัลย์ พันธ์คำ
2553 สำนักพิมพ์วังอักษร
4. การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ Ms Word 2007 เรียบเรียงโดยอำภา กุลธรรมโยธิน 2553
ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
5. การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ เรียบเรียงโดย อ.ปิยะ ศุภวราสุวัฒน์ และคณะ 2550 บริษัท
ซัคเซส มีเดีย จำกัด
6. การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เรียบเรียงโดย ศิรินันท์ เหลืองอภิรมย์ 2553 บริษัท
ศูนย์หนังสือเมืองไทย จำกัด
7. การใช้โปรแกรมตารางงาน เรียบเรียงโดย รัตติยา วานิชกลาง 2553 บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด
8. การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล เรียบเรียงโดย ผศ.ศิริภัทรา เหมือนมาลัย 2549 บริษัท สำนักพิมพ์
เอมพันธ์ จำกัด
9. การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล เรียบเรียงโดย เริงชัย เรืองกิจวณิชกุล  2549 ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
10. ระบบฐานข้อมูล เรียบเรียงโดย บุญสืบ ศรีโพธิ์ และคณะ 2547 สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ
11. Microsoft Office 2007 All-in-one Desk Reference Dummies By Peter Weverka

เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
รวม 100 คะแนน ในสัดส่วนทักษะ : ความรู้  (80 : 20)
ระหว่างภาคเรียน  จิตพิสัย                                                                     10 คะแนน
คุณธรรม/จริยธรรม/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง               10  คะแนน
ทดสอบระหว่างภาค(ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ)                                    10 คะแนน
ฝึกปฏิบัติเน้นทักษะดูได้จากใบงาน                                   40 คะแนน
ปลายภาคเรียน    จิตพิสัย                                                                      10 คะแนน
คุณธรรม/จริยธรรม/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง               10  คะแนน
ทดสอบปลายภาค(ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ)                           10 คะแนน
เกณฑ์การการตัดสินผลการเรียน
หน่วยกิต 3 หน่วยกิต
คะแนน        ระดับ             เกรด              ผลคะแนน * 3
80            4                  A                 12
75            3.5               B+                10.5
70            3                  B                  9
65            2.5               C+                7.5
60            2                  C                 6
55            1.5               D+                4.5
50            1                  D                 3
49            0                  F                  0
เกณฑ์การประเมินผลคุณธรรม /จริยธรรม /ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2%
          …….1.  มีมนุษยสัมพันธ์
          ……. 2.  ความมีวินัย การเข้าเรียนตรงเวลา          
          ……. 3.  ความรับผิดชอบ การส่งงานตรงเวลา งานที่มอบหมาย
          ……..4.  ความซื่อสัตย์สุจริต       
          ……. 5.  ความเชื่อมั่นในตนเอง     
          ……..6.  การประหยัด
          ……. 7.  ความสนใจใฝ่รู้   การซักถาม การตอบข้อคำถาม    
          ……. 8.  การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน           
          ……. 9.  ความรักสามัคคี           
          ……..10. ความกตัญญูกตเวที      
          ……. 11.  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          ……. 12. การพึ่งตนเอง
          ……. 13.  ความอดทนอดกลั้น ความมุมานะ พยายาม                  
          ……..14. อื่น ๆ ………………………………….

เวลาเรียน
เวลาเรียน     18     สัปดาห์  /  ภาคเรียน   
ประกอบด้วย
เรียนทฤษฎี       1  ชั่วโมง  /  สัปดาห์
เรียนปฏิบัติ       3   ชั่วโมง  /  สัปดาห์  
          รวม               4  ชั่วโมง  /  สัปดาห์
รวมทั้งสิ้น 72 ชั่วโมง  ตลอดภาคเรียน 
เข้าห้องเรียนสาย
2 ครั้ง ถือเป็นขาดเรียน 1 ครั้ง
เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนตามเกณฑ์ที่ตกลงกัน ขาดเรียนได้ 4 ครั้ง

นิยามอาชีพ
          ผู้ปฏิบัติงานช่างเทคนิคเครื่องยนต์-ช่างประกอบเครื่องกล-Machinery-Technician-
Machine-Assemblers ได้แก่ ผู้ประกอบ และติดตั้งเครื่องจักร เครื่องยนต์ และอุปกรณ์เครื่องกล
รวมถึงการประกอบชิ้นส่วน และเครื่องประกอบต่างๆ การตั้ง และติดตั้ง หรืออำนวยการตั้ง และ
ติดตั้งเครื่องยนต์ และอุปกรณ์เครื่องยนต์อื่นๆ ซึ่งโดยปกติเป็นเครื่องยานยนต์ รถจักรยานยนต์
และรถจักรยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ รถสินค้า รถบรรทุก

ตัวอย่างเกี่ยวกับช่างยนต์
ลักษณะของงานที่ทำ
          ปฏิบัติงานในลักษณะผู้ควบคุมงานโดยทำงานภายใต้การแนะนำ และควบคุมของวิศวกรเครื่องกลรถยนต์ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ ติดตั้ง ซ่อมบำรุง ตรวจสอบ และวิเคราะห์ระบบเครื่องยนต์เล็ก/ใหญ่ ระบบไฟฟ้า ในยานยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบช่วงล่างรถยนต์ ระบบการทำงานเครื่องมือ เครื่องจักรที่ ควบคุมด้วยนิวเมติกส์ และไฮดรอลิกส์
(นอกจากนี้มีงานพิเศษเฉพาะอย่าง เช่น ระบบเครื่องยนต์เรือ ระบบเครื่องยนต์ และเครื่องกลการเกษตร และระบบเครื่องจักรกลไอน้ำ)
-ควบคุมการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ระบบจุดระเบิด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(ไดนาโม) กระปุกเฟือง
 พวงมาลัยกระปุกเกียร์ และห้ามล้อ
-ควบคุมการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ระบบจุดระเบิด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(ไดนาโม) กระปุกเฟือง
พวงมาลัย กระปุกเกียร์ และห้ามล้อ
-ตรวจสอบระบบที่ติดตั้ง รวมทั้งระบบส่งถ่ายกำลัง ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ
-ตรวจสอบเครื่องยนต์ และปรับเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-อาจให้บริการ และซ่อมเครื่องยนต์ และอุปกรณ์เพื่อให้คงอยู่ในสภาพที่ทำงานได้ดี

ช่างเทคนิคเครื่องยนต์-ช่างประกอบเครื่องกล
Machinery-Technician-Machine-Assembler

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น