วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มาตราฐาน iso

ใน อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้ธุรกิจของตนได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการบริการ อุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ คำว่า ISO ว่ามันคืออะไร และมีบทบาทสำคัญมากน้อยแค่ไหนในเชิงธุรกิจ
 
ไอเอสโอจริง ๆ แล้ว เป็นชื่อของหน่วยงานหนึ่ง ตั้งอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์เมื่อพูดคำว่า ISO ออกมาแล้ว คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ แต่อาจจะพอเห็น หรือได้ยินมาบ้างทาง โทรทัศน์ ตามป้ายโฆษณา หรือตาม web site ต่าง ๆ ก็ดี คงจะนึกไปถึงอะไรที่มันเกี่ยวกับสินค้า, เกี่ยวกับโรงงาน, เกี่ยวกับการผลิต ซึ่งจริง มันก็ใช่ แต่ก็ไม่ถูกต้องไปทั้งหมดเสียทีเดียว
 
ISO มาจากคำว่า International Standardization and Organization มีชื่อว่าองค์การมาตรฐานสากลหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีวัตถุประสงค์คล้ายๆกับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลกด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา ใครเข้าระบบกติกานี้ถึงจะอยู่ได้
ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆดังนั้นประเทศต่างๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของโดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกันจนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกันส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้นต่อมาอีก1ปีอังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสารหรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก
ตัวเลข 9000 เป็นชื่ออนุกรมหนึ่งที่แตกแยกย่อยความเข้มของมาตรฐานงานออกเป็นอีก 3 ระดับ คือ ISO 9001 , ISO 9001 และ ISO 9003 นอกจากนี้ยังมีอีกอนุกรมหนึ่งคือ ISO 14000 เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและระบบคุณภาพ   9000 เป็นแนวทางในการเลือกและกรอบในการเลือกใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม

ISO 9001
มีระดับความเข้มมากที่สุดคือหน่วยงานที่จะได้รับอนุมัติว่ามีระบบคุณภาพมาตรฐานสากลในระดับนี้จะต้องมีรูปแบบลักษณะการทำงานในองค์กรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 20 ข้อ โดยมีการกำกับดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิตและการบริการยกตัวอย่างชื่อหัวข้อที่พอจะเข้าใจ เช่น กลวิธีทางสถิติการตรวจสอบการย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บการเคลื่อนย้าย เป็นต้น

ISO 9002
ก็จะเหลือเพียง 19 ข้อ ดูแลเฉพาะระบบการผลิต การติดตั้งและการบริการ (ตัดกลวิธีทางสถิติออกไป)
ส่วน ISO 9003 เหลือแค่ 16 ข้อดูแลเฉพาะการตรวจสอบขั้นสุดท้าย

9004
เป็นแนวทางในการบริหารระบบคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นต้น
ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ISO 9000 ก็คือการกำหนดมาตรฐานสากลในการจัดระบบงานของหน่วยงานให้ตรงตามที่มาตรฐาน ISO 9000 กำหนดไว้   หน่วยงานที่คิดว่าตนเองจัดรูปแบบได้ตามที่ ISO 9000 กำหนดไว้แล้วจะมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบและออกใบรับรองให้อย่างเป็นทางการ คือสมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400โทร. 0-2202-3428 และ 0-2202-3431 อย่างไรก็ตามมีบริษัทต่างชาติที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบและสามารถออกใบรับรองให้ได้
ขั้นตอนการขอ ISO 9000 เริ่มจากการขอข้อมูล ยื่นคำขอ ตรวจประเมินออกใบรับรอง ตรวจติดตาม ตรวจประเมินใหม่  
 
ส่วนการเตรียมระบบคุณภาพมี 4 ข้อใหญ่ๆ
1.ทบทวนสถานภาพกิจการปัจจุบัน
2.จัดทำแผนการดำเนินงานและระบบเอกสาร
3.นำระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ
4.ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบคุณภาพ  
 
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องนี้ตกประมาณ 2-3 แสน ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการส่งออก รัฐบาลจะช่วยออกเงินให้ครึ่งหนึ่งส่วนเวลาดำเนินการจะประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี

ISO
ใช้วัดคุณภาพ ทั้งด้าน 1.โรงแรม ภัตตาคารและการท่องเที่ยว 2.กลุ่มคมนาคม สนามบิน และการสื่อสาร 3.สาธารณสุข โรงพยาบาล คลินิก 4.ซ่อมบำรุง 5.สาธารณูปโภคต่างๆ 6.การจัดจำหน่าย 7.มืออาชีพ การสำรวจ ออกแบบ ฝึกอบรม และที่ปรึกษา 8.บริหารบุคลากรและบริการในสำนักงาน 9.วิทยาศาสตร์ การวิจัยและพัฒนา
 
ISO 9000 สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรชนิดใดขนาดใหญ่ หรือเล็ก
ผลิตสินค้า หรือ ให้บริการอะไร           
            การนำระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000ไปใช้อย่างแพร่หลายจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. องค์กร/บริษัท
            - การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบและมีประสิทธิภาพ
            - ผลิตภัณฑ์และบริการเป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ
            - ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
            - ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
           2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท
          - มีการทำงานเป็นระบบ
          - เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
         - พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
       - มีวินัยในการทำงาน -พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถ
          พัฒนาตนเองตลอดจน   เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
       3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
       - มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ
       - สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ
      - ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน
 
สรุป : ISO ถือเป็่นสัญลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์/บริการ นั้น ๆ  ซึ่งถูกรับรองว่ามีมาตรฐานสากล และมีคุณภาพอย่างสูงต่อลูกค้า, แสดงถึงศักยภาพการบริหารงาน/การผลิตสินค้าขององค์กร ที่มีต่อบุคคลภายนอก, และยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะซื้อสินค้า หรือ บริการ พวกเราควรศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้นว่าผลิตภายใต้คุณภาพของ ISO หรือไม่

 มาตรฐานไอเอสโอ(ISO)คืออะไร มีกี่ประเภท
       ISO มาจากคำว่า International Standardization and Organization มีชื่อว่าองค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีวัตถุประสงค์คล้ายๆกับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลก ด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา ใครเข้าระบบกติกานี้ถึงจะอยู่ได้
ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆ ดังนั้นประเทศต่างๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของ โดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกัน
จนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกัน ส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้น
ต่อมาอีก1ปี อังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบ เอกสาร หรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก
ตัวเลข 9000 เป็นชื่ออนุกรมหนึ่ง ที่แตกแยกย่อยความเข้มของมาตรฐานงานออกเป็นอีก 3 ระดับ คือ ISO 9001 , ISO 9001 และ ISO 9003 นอกจากนี้ยังมีอีกอนุกรมหนึ่งคือ ISO 14000 เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและระบบคุณภาพ
9000 เป็นแนวทางในการเลือก และกรอบในการเลือกใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม
ISO 9001 มีระดับความเข้มมากที่สุด คือหน่วยงานที่จะได้รับอนุมัติว่ามีระบบคุณภาพมาตรฐานสากลในระดับนี้จะต้อง มีรูปแบบลักษณะการทำงานในองค์กรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 20 ข้อ โดยมีการกำกับดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิตและการบริการ ยกตัวอย่างชื่อหัวข้อที่พอจะเข้าใจ เช่น กลวิธีทางสถิติ การตรวจสอบการย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บการเคลื่อนย้าย เป็นต้น
ISO 9002 ก็จะเหลือเพียง 19 ข้อ ดูแลเฉพาะระบบการผลิต การติดตั้งและการบริการ (ตัดกลวิธีทางสถิติออกไป)
ส่วน ISO 9003 เหลือแค่ 16 ข้อ ดูแลเฉพาะการตรวจสอบขั้นสุดท้าย
9004 เป็นแนวทางในการบริหารระบบคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ISO 9000 ก็คือ การกำหนดมาตรฐานสากลในการจัดระบบงานของหน่วยงานให้ตรงตามที่มาตรฐาน ISO 9000 กำหนดไว้
หน่วยงานที่คิดว่าตนเองจัดรูปแบบได้ ตามที่ ISO 9000 กำหนดไว้แล้วจะมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบและออกใบรับรองให้อย่างเป็นทางการ คือ สมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2202-3428 และ 0-2202-3431
อย่างไรก็ตามมีบริษัทต่างชาติที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบและสามารถออกใบรับรองให้ได้
ขั้นตอนการขอ ISO 9000 เริ่มจากการขอข้อมูล ยื่นคำขอ ตรวจประเมิน ออกใบรับรอง ตรวจติดตาม ตรวจประเมินใหม่
ส่วนการเตรียมระบบคุณภาพมี 4 ข้อใหญ่ๆ คือ 1.ทบทวนสถานภาพกิจการปัจจุบัน 2.จัดทำแผนการดำเนินงานและระบบเอกสาร 3.นำระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ 4.ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบคุณภาพ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องนี้ตก ประมาณ 2-3 แสน ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการส่งออก รัฐบาลจะช่วยออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนเวลาดำเนินการจะประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี
ISO ใช้วัดคุณภาพ ทั้งด้าน 1.โรงแรม ภัตตาคารและการท่องเที่ยว 2.กลุ่มคมนาคม สนามบิน และการสื่อสาร 3.สาธารณสุข โรงพยาบาล คลินิก 4.ซ่อมบำรุง 5.สาธารณูปโภคต่างๆ 6.การจัดจำหน่าย 7.มืออาชีพ การสำรวจ ออกแบบ ฝึกอบรม และที่ปรึกษา 8.บริหารบุคลากร และบริการในสำนักงาน 9.วิทยาศาสตร์ การวิจัยและพัฒนา

58-2 ส2 การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในการบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ของ บริษัท
1.2 เพื่อ ให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิภาพการใช้งาน ของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในกระบวนการผลิต ว่าจะมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งาน และไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในการผลิตสินค้า ทั้งเชิงประสิทธิผล และเชิงคุณภาพ

 2.     ขอบเขต
ครอบคลุมการบำรุงรักษา และซ่อมบำรุง เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ในสายการผลิตทั้งหมด

3.         นิยามศัพท์
-

4.         ผู้รับผิดชอบ
4.1 ผู้จัดการโรงงาน รับผิดชอบ รวบรวม และขึ้นทะเบียนเครื่องจักร
4.2 หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง รับผิดชอบ การจัดวางแผนงานการบำรุงรักษา ควบคุมการทำงานในการบำรุงรักษา
4.3 ช่างซ่อมบำรุง รับผิดชอบ บำรุงรักษาอุปกรณ์ และซ่อมบำรุง เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ในสายการผลิต ตามเอกสารที่กำหนด
4.2 หัวหน้าแผนกที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบ ในการแจ้งซ่อม หรือตรวจเช็คอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ประจำวัน ตามแผนการตรวจเช็คของแผนก 

5.         ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
การบำรุงรักษาเครื่องมือ (Preventive maintenance)
1.    ผู้จัดการโรงงาน ทำการรวบรวมรายชื่อเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตทั้งหมด
หลังจากนั้นขึ้นทะเบียนในแบบฟอร์มบัญชีทะเบียนเครื่องจักร (FM-PR-003)
2.    หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต โดย
ระบุรายละเอียดของแผนงานในแบบฟอร์ม  แผนงานการบำรุงรักษา (FM-PR-005)
3.  ช่างซ่อมบำรุง ดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ตามแผนบำรุงรักษาที่กำหนด พร้อมบันทึกผลการบำรุงรักษาใน Preventive Maintenance รหัสเอกสาร FM-PR-006
หมายเหตุ : เฉพาะอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต ทั้งในเชิงประสิทธิภาพของกระบวนการ และเชิงคุณภาพ หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุงต้องมีการตรวจเช็คอะไหล่สำรองของวัสดุอย่างเคร่งครัด
การซ่อมแซมเครื่องมือ (Breakdown Maintenance)
1.  กรณีหน่วยงานตรวจสอบพบความผิดปกติ , เสีย, หยุดชะงัก ของ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ในกระบวนการผลิต ดำเนินหยุดการใช้งาน พร้อมติดป้ายบ่งชี้การชำรุด หลังจากนั้นหัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานที่พบปัญหา ทำการเซ็นอนุมัติใบแจ้งซ่อมและแจ้งติดตั้งเพิ่มเติม รหัสเอกสาร FM-PR-007 และจัดส่งแผนกซ่อมบำรุง
2.  หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง ดำเนินการจัดช่างซ่อมบำรุง เข้าตรวจเช็คสภาพปัญหาเบื้องต้นของเครื่องจักร ภายใน 24 ชั่วโมง
3. ช่างซ่อมบำรุง ทำการตรวจเช็คสภาพปัญหาเบื้องต้น และดำเนินการแก้ไขดังนี้
-          กรณีสามารถซ่อมบำรุงได้ ทำการตรวจเช็คอะไหล่สำรองและซ่อมบำรุงทันที
-          กรณี ไม่สามารถซ่อมบำรุงได้ แจ้งหัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง เพื่อประเมินงานในการแก้ไข ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาสามารถกระทำได้หลายกรณีขึ้นอยู่กับ สภาพ ความรุนแรง ของปัญหาที่พบ เช่น ส่งซ่อมภายนอก สั่งอะไหล่เพิ่ม เป็นต้น
4.       หลังจากช่างทำการซ่อมบำรุงเรียบร้อยแล้ว หัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานที่พบ
ปัญหาดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน และเซ็นรับงานในใบแจ้งซ่อม
5.    หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง ทำการตรวจเช็คใบแจ้งซ่อม และทุก ๆ ความถี่ 1 สัปดาห์ จะนำข้อมูลการซ่อมบำรุงไปปรับเพิ่มในบันทึกประวัติเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต รหัสเอกสาร   FM-PR-004

6. เอกสารสนับสนุน
FM-PR-003                         แบบฟอร์มบัญชีทะเบียนเครื่องจักร
FM-PR-004                         แบบฟอร์มประวัติเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
FM-PR-005                         แผนงานการบำรุงรักษา
FM-PR-006                         บันทึกผลการบำรุงรักษา Preventive Maintenance
FM-PR-007                         ใบแจ้งซ่อม
7. แบบฟอร์มบันทึกคุณภาพ           
รหัสเอกสาร
ชื่อเอกสาร
ผู้รับผิดชอบ
สถานที่จัดเก็บ
ระยะการจัดเก็บ
FM-PR-003
แบบฟอร์มบัญชีทะเบียนเครื่องจักร
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-004
ประวัติเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-005
แผนงานการบำรุงรักษา
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-006

ผลการบำรุงรักษา
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-007
ใบแจ้งซ่อม
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี


ประวัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

ครั้งที่
หน้าที่แก้ไข
รายละเอียดแก้ไข
วันที่มีผลบังคับใช้

































































เป็นมาตราฐานในการผลิต

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำไมจึงได้มา






20 ประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก

   “The World Top 20 Education Poll” เผย ผลสำรวจระบบการศึกษาจากทั่วโลกกว่า 200 ประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านการศึกษาของนักเรียนอายุตั้งแต่ 3-25 ปี ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญในด้านการศึกษา 5 ข้อด้วยกัน คือ
      
       1. อัตราการลงทะเบียนของเด็กช่วงปฐมวัย
       2. โรงเรียนประถมศึกษา คะแนนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน
       3. โรงเรียนมัธยมศึกษา คะแนนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน
       4. อัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
       5. อัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับวิทยาลัย
      
       การสำรวจในครั้งนี้เป็นการรวบรวมสถิติจาก 6 องค์กรระหว่างประเทศ คือ องค์การ เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA), องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO), หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (EIU), โครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (TIMSS) และความคืบหน้าในระหว่างการอ่านและการเรียนรู้ (PIRLS) ส่งไปยังกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละประเทศเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
      
        โดยแต่ละหัวข้อจะทำการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุด 20 ประเทศ โดยจะให้คะแนนเต็ม 20 คะแนนสำหรับประเทศที่ได้อันดับที่ 1 และ 19 คะแนนสำหรับประเทศในอันดับที่ 2 เรียงลำดับคะแนนลดหลั่นกันมาตามลำดับจะถึงอันดับที่ 20 จะได้ 1 คะแนน โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาหาค่าเฉลี่ยจากคะแนนรวมทั้งหมด 5 ข้อ จนได้มาเป็น “20 อันดับประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก” ดังนี้ 



อันดับที่ 20 : เบลเยี่ยม (Belgium) PTS : 8
      
       
เบลเยี่ยมมีระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ และแบ่งการปกครองออกเป็นสามภูมิภาคคือ ภูมิภาคแฟลนเดอร์สใช้ภาษาเฟลมมิช หรือ ดัชท์ ภูมิภาควอลลูนใช้ภาษาฝรั่งเศส และภูมิภาคบรัสเซลส์ใช้ภาษาฝรั่งเศสใน การสื่อสาร ระบบการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างตามภูมิภาค นักเรียนแลกเปลี่ยนเบลเยี่ยมสามารถเลือกได้ว่าต้องการอยู่กับครอบครัวแถบที่ ใช้ภาษาดัตช์ หรือ ภาษาฝรั่งเศส การเรียนปริญญาตรีที่เบลเยี่ยมใช้เวลาทั้งหมด 3 ปีขึ้นอยู่กับสาขาที่เรียน
      
       
อันดับที่ 19 : สาธารณรัฐประชาชนจีน (China) PTS: 9

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
จีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากถึง 1,370 ล้านคน อีกทั้งยังมีชนกลุ่มน้อยอีกจำนวนมาก มีจำนวนนักเรียนนักศึกษามากกว่า 320 ล้านคน มีโรงเรียนจำนวน 680,000 โรงเรียน ซึ่งนับเป็นจำนวนที่สูงติดอันดับต้นๆ ของโลกรัฐบาลประเทศจีนจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศเป็น อย่างมาก รวมถึงการให้ความสำคัญกับนักศึกษาชาวต่างชาติที่เข้ามาศึกษาในจีน ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ปัจจุบันมีนัก เรียนจากประเทศไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศจีนประมาณ 2,500 คน
      
       
อันดับที่ 18 : สหรัฐอเมริกา (USA) PTS: 12

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
การศึกษาภาค บังคับนักเรียนอเมริกันทุกคนจะได้รับสิทธิเรียนฟรีจนกระทั่งถึงเกรด 12 หรือจบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย บรรยากาศการศึกษาในห้องเรียนของชาวอเมริกันนั้น นักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โต้เถียงเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง มีส่วนร่วมในการสนทนา และนำเสนองานของตน ซึ่งนักศึกษาชาวต่างชาติส่วนใหญ่เห็นว่าบรรยากาศภายในห้องเรียนเหล่านี้เป็น สิ่งที่น่าตื่นใจที่สุดของระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
      
       
อันดับที่ 17 : ออสเตรเลีย (Australia) PTS: 14

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
การศึกษาภาค บังคับของประเทศออสเตรเลีย คือ ปีที่ 1 - 10 (อายุ 6 - 15 ปี) นักศึกษาต่างชาติสามารถสมัครเพื่อเข้าศึกษากับสถาบันในประเทศออสเตรเลียได้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาเอก มีโรงเรียนที่มีคุณภาพสูงจำนวนมาก ทั้งที่เป็น โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่ดำเนินการร่วมกับองค์กรศาสนา โรงเรียนของรัฐบาลจะเป็นประเภทไปกลับ (Day School) ส่วนโรงเรียนเอกชนจะมีทั้งโรงเรียนประจำ (Boarding School) และไป-กลับ
      
       
อันดับที่ 16 : อิสราเอล (Israel) PTS: 15

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
อิสราเอลถือว่า เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ค่อนข้างสูงประเทศ หนึ่ง โดยเฉพาะในด้านของการศึกษา ในทัศนะคติของคนอิสราเอลจะถือว่าการศึกษาถือเป็นมรดกที่ล้ำค่า ในปัจจุบันประเทศอิสราเอลอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก ของในอัตราการสมัครเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา การศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี (ตั้งแต่อายุ 5-16 ปี) และรัฐได้จัดการศึกษาฟรีจนถึงอายุ 18 ปี
      
       
อันดับที่ 15 : สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) PTS: 16

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
เนื่องจากประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติ การศึกษาและแหล่งการเรียนรู้จึงกลายมาเป็นทรัพยากรสำคัญ จนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีแห่งหนึ่งของโลกเลย ทีเดียว นักเรียนส่วนใหญ่จะเข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชนทั่วไปจะค่อนข้างแพง มีมหาวิทยาลัยรวมทั้งหมด 11 แห่ง กล่าวกันว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นต้นกำเนิดของวิชาการโรงแรม จึงทำให้สาขานี้มีนักเรียนไทยให้ความสนใจและไปเรียนมากที่สุดนั่นเอง
      
       
อันดับที่ 14 : โปแลนด์ (Poland) PTS: 18

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
ประเทศโปแลนด์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และสาขาวิชาที่ขึ้นชื่อคือ สาขาแพทย์” และเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในเครือข่าย European Union เพื่อแลกเปลี่ยนด้านอื่นๆ รวมทั้งการศึกษา ในปัจจุบัน  โรมาเนีย, เบลเยี่ยม, ฟินแลนด์, กรีซ, อิตาลี, สเปน, โปตุเกส และโปแลนด์ จะรับนักศึกษาโดยพิจารณาจาก GPA ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ Biology, Chemistry ,Physic เป็นตัววัดการได้เข้าศึกษาถึง 90 %  และ อีก 10 % คือคุณสมบัติพิเศษเช่นภาษาอังกฤษ เป็นต้น หลักสูตรแพทย์ในโปแลนด์ยังได้รับการรับรองจากแพทย์สภาอีกด้วย
      
       
อันดับที่ 13 : นิวซีแลนด์ (New Zealand) PTS: 18

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
เนื่องจากประเทศ นิวซีแลนด์เคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน จึงได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมและระบบการศึกษาแบบอังกฤษมาใช้จนถึงปัจจุบัน ทำให้นิวซีแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่มีการศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับ ทั่วโลก นอกจากนี้นิวซีแลนด์ยังมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเรียนหนังสือ นักเรียนต่างชาติก็เป็นที่ต้อนรับของชาวนิวซีแลนด์ มหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์มีทั้งหมด 8 แห่ง เป็นของรัฐบาลทั้งหมด และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพอีกด้วย
      
       
อันดับที่ 12 : รัสเซีย (Russia) PTS: 23

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
รัสเซียให้ความ สำคัญกับการศึกษามาตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต จึงทำให้ประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่มีการศึกษาที่มีคุณภาพสูงแห่งหนึ่ง ชาวรัสเซียส่วนมากจึงสามารถสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำทุกคน นอกจากนั้นชาวรัสเซียยังเป็นนักอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก มีการศึกษาหาความรู้กันอย่างจริงจัง อีกทั้งมีวิชาการ ความรู้และเทคโนโลยีเป็นของตนเองมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาก็นับว่าไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย
      
       
อันดับที่ 11 : ไอร์แลนด์ (Ireland) PTS: 28

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
อีกหนึ่งประเทศ ที่มีระบบการศึกษาที่ดีเยี่ยมอันดับต้นๆ ของโลก โดยรัฐบาลไอร์แลนด์มุ่งมั่นจะสร้างประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ทัน สมัย นอกจากนี้ประเทศไอร์แลนด์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้นิยมมาเรียนภาษา อังกฤษมากที่สุด โดยในแต่ละปีมีจำนวนนักเรียนประมาณ 200,000 คน ที่มาจากหลากหลายประเทศทั่วโลก โดยมีหน่วยงานของรัฐบาลไอร์แลนด์รับรองคุณภาพทางการศึกษา
      
       
อันดับที่ 10 : เยอรมนี (Germany) PTS: 28

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
เยอรมันเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่ม OECD ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กๆ อยู่ในระดับสูงทั้งในระดับมัธยมศึกษา และในระดับอุดมศึกษา การเรียนในระดับอุดมศึกษาของเยอรมันนั้น สามารถเลือกเรียนในสถาบันต่างๆ 5 ประเภทด้วยกันคือ Universitaet เน้นการเรียนการสอนทางด้านทฤษฏี, Fachhochschule มหาวิทยาลัยเน้นทางปฏิบัติ, Gesamthochschule รวม Universitaet และ Fachhochschule ไว้ในสถาบันเดียวกัน, Paedagogische Hochschule วิทยาลัยครู และ Kunsthochschule วิทยาลัยศิลปะ
      
       
อันดับที่ 9 : เดนมาร์ก (Denmark) PTS: 29

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
ประเทศเดนมาร์กมี ระบบการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาและมีความน่าสนใจ อาทิเช่น ระบบการศึกษาภาคบังคับที่ยืดหยุ่น การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายที่หลากหลาย การศึกษาต่อเนื่องที่หลายหน่วยงานมีส่วนร่วม การเน้นการวิจัยในระดับอุดมศึกษา นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีส่วนร่วมออกความคิดเห็น นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องโรงเรียนและการศึกษาได้อีกด้วย
      
       
อันดับที่ 8 : แคนาดา (Canada) PTS: 41

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
แคนาดาเป็นประเทศ ที่มีคุณภาพการศึกษาสูง ระบบการเรียนของแคนาดา จะอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละจังหวัดและมณฑล โดยจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ยกเว้นในควิเบก (Quebec) ซึ่งจะมีระบบการศึกษาที่แตกต่างออกไป ประกอบด้วยระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา วิทยาลัยทั่วไปและวิทยาลัยอาชีพ (CEGEP) นอกจากนี้ประเทศแคนาดายังเป็นประเทศที่มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีติดอันดับโลกอีกด้วย
      
       
อันดับที่ 7 : เนเธอแลนด์ (Netherlands) PTS: 42

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
ประเทศเนเธอแลนด์ดินแดนกังหันลม จุดหมายปลายทางที่นักศึกษาจากทั่วโลกที่นิยมมาเรียนต่อตั้งแต่ระดับปริญญา ตรีถึงปริญญาเอกไม่แพ้ประเทศอื่นๆ ในแถบยุโรป ระบบการศึกษาของประเทศเนเธอร์แลนด์แตกต่างจากที่อื่น เพราะที่นี่จะให้อิสระโรงเรียนในการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่ รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงเรื่องการบริหารจัดการอีกด้วย
      
       
อันดับที่ 6 : ฮ่องกง (Hong Kong) PTS: 43

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
ฮ่องกงใช้เวลาทำ การปฏิรูปการศึกษาอยู่ 12 ปี โดยเริ่มเมื่อ ปี ค.ศ. 2000 การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จอย่างน่าชื่นชม ฮ่องกงกล้าที่จะยกเลิกระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมของอังกฤษแทบทั้งหมด สร้างความเป็นนานาชาติที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับวิถีชีวิตเทคโนโลยีที่มีความ ก้าวหน้าได้อย่างเหมาะสมได้ทุกระบบ ยกเลิกการสอบแบบ o-Level และ A-Level มา เป็นการสอบระดับชาติเพียง 1 ครั้ง ขยายการศึกษาภาคบังคับจาก 9 ปี เป็น 12 ปี ขยายเวลาเรียนจบในระดับปริญญาตรีจาก 3 ปี เป็น 4 ปี เป็นต้น
      
       
อันดับที่ 5 : สหราชอาณาจักร (United Kingdom) PTS: 48

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
        การศึกษาภาคบังคับของสห ราชอาณาจักร เริ่มตั้งแต่อายุ 5 ปี ไปจนถึง 16 ปี โรงเรียนมีทั้งประเภท โรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชน การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรมีประมาณ 96 แห่ง เป็นของรัฐบาลเกือบทั้งหมด ยกเว้น University of Buckingham ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวการศึกษาระดับอุดมศึกษา
      
       
อันดับที่ 4 : ฟินแลนด์ (Finland) PTS: 48

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
โรงเรียนในประเทศ ฟินแลนด์ไม่มีเครื่องแบบนักเรียน ไม่มีการสอบเข้าสถานศึกษา ไม่มีค่าธรรมเนียมทางการศึกษา ไม่มีการจัดอันดับสถานศึกษา ไม่มีหน่วยงานคอยควบคุมวัดระดับเพื่อประเมินผล การศึกษาภาคบังคับเริ่มต้นเมื่อเด็กอายุ 7 ปี ไม่เน้นการเรียนอนุบาลแต่จะเน้นให้อยู่กับครอบครัวให้มากที่สุด ระดับประถมจะใช้เวลาเรียนน้อยและให้เด็กได้ทำในสิ่งที่สนใจมากกว่า ที่สำคัญจะไม่เน้นเรื่องการแข่งขันจึงไม่มีเกรดเฉลี่ย
      
       
อันดับที่ 3 : สิงคโปร์ (Singapore)

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
รัฐบาลสิงคโปร์ ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ จึงสนับสนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น การเรียนการสอนในประเทศสิงค์โปร์นี้จะเน้นความง่าย เรียนจากความเป็นจริง และสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ 4 ด้านคือ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา
      
       
อันดับที่ 2 : ญี่ปุ่น (Japan) PTS: 55

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
ประเทศ ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางด้านการศึกษาในระดับสูง โดยระบบการศึกษาของประเทศได้รับต้นแบบมาจากระบบการศึกษาของหลายๆ ประเทศ อาทิเช่น ประเทศอังกฤษ, ฝรั่งเศส และอเมริกา นอกจาก เทคโนโลยีที่มาใช้ในการศึกษาได้อย่างทั่วถึงแล้ว ความสำเร็จทางการศึกษาของญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล ในการสอบวัดความรู้ด้านคณิตศาสตร์นานาชาติ เด็กญี่ปุ่นถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆ มาโดยตลอด
      
       
อันดับที่ 1 : เกาหลีใต้ (South Korea) PTS: 59

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       
       
ระบบการศึกษาของเกาหลียุคใหม่ มาแรงแซงทุกประเทศ “New Education System” มุ่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเป็นสังคมแห่งความรู้ สร้างสภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อ ให้คนเกาหลีมีความรู้ ความสามารถ มีความทันสมัย และที่สำคัญคือมีจริยธรรม แต่ยังคงความเป็นเลิศด้านการศึกษาและดำรงมาตรฐานของระบบการศึกษาของเกาหลี ดังจะเห็นได้จากนักเรียน-นักศึกษาของประเทศเกาหลีจะเรียนหนักมาก ผู้ปกครองก็ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาเป็นอย่างดี อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย
      
       
*PTS: Calculated from 3 international education ranking systems from last year’s final rankings
      
       
ที่มา : http://worldtop20.org/










































http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9580000040642