วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

58-2 ส2 การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในการบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ของ บริษัท
1.2 เพื่อ ให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิภาพการใช้งาน ของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในกระบวนการผลิต ว่าจะมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งาน และไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในการผลิตสินค้า ทั้งเชิงประสิทธิผล และเชิงคุณภาพ

 2.     ขอบเขต
ครอบคลุมการบำรุงรักษา และซ่อมบำรุง เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ในสายการผลิตทั้งหมด

3.         นิยามศัพท์
-

4.         ผู้รับผิดชอบ
4.1 ผู้จัดการโรงงาน รับผิดชอบ รวบรวม และขึ้นทะเบียนเครื่องจักร
4.2 หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง รับผิดชอบ การจัดวางแผนงานการบำรุงรักษา ควบคุมการทำงานในการบำรุงรักษา
4.3 ช่างซ่อมบำรุง รับผิดชอบ บำรุงรักษาอุปกรณ์ และซ่อมบำรุง เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ในสายการผลิต ตามเอกสารที่กำหนด
4.2 หัวหน้าแผนกที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบ ในการแจ้งซ่อม หรือตรวจเช็คอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ประจำวัน ตามแผนการตรวจเช็คของแผนก 

5.         ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
การบำรุงรักษาเครื่องมือ (Preventive maintenance)
1.    ผู้จัดการโรงงาน ทำการรวบรวมรายชื่อเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตทั้งหมด
หลังจากนั้นขึ้นทะเบียนในแบบฟอร์มบัญชีทะเบียนเครื่องจักร (FM-PR-003)
2.    หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต โดย
ระบุรายละเอียดของแผนงานในแบบฟอร์ม  แผนงานการบำรุงรักษา (FM-PR-005)
3.  ช่างซ่อมบำรุง ดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ตามแผนบำรุงรักษาที่กำหนด พร้อมบันทึกผลการบำรุงรักษาใน Preventive Maintenance รหัสเอกสาร FM-PR-006
หมายเหตุ : เฉพาะอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต ทั้งในเชิงประสิทธิภาพของกระบวนการ และเชิงคุณภาพ หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุงต้องมีการตรวจเช็คอะไหล่สำรองของวัสดุอย่างเคร่งครัด
การซ่อมแซมเครื่องมือ (Breakdown Maintenance)
1.  กรณีหน่วยงานตรวจสอบพบความผิดปกติ , เสีย, หยุดชะงัก ของ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ในกระบวนการผลิต ดำเนินหยุดการใช้งาน พร้อมติดป้ายบ่งชี้การชำรุด หลังจากนั้นหัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานที่พบปัญหา ทำการเซ็นอนุมัติใบแจ้งซ่อมและแจ้งติดตั้งเพิ่มเติม รหัสเอกสาร FM-PR-007 และจัดส่งแผนกซ่อมบำรุง
2.  หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง ดำเนินการจัดช่างซ่อมบำรุง เข้าตรวจเช็คสภาพปัญหาเบื้องต้นของเครื่องจักร ภายใน 24 ชั่วโมง
3. ช่างซ่อมบำรุง ทำการตรวจเช็คสภาพปัญหาเบื้องต้น และดำเนินการแก้ไขดังนี้
-          กรณีสามารถซ่อมบำรุงได้ ทำการตรวจเช็คอะไหล่สำรองและซ่อมบำรุงทันที
-          กรณี ไม่สามารถซ่อมบำรุงได้ แจ้งหัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง เพื่อประเมินงานในการแก้ไข ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาสามารถกระทำได้หลายกรณีขึ้นอยู่กับ สภาพ ความรุนแรง ของปัญหาที่พบ เช่น ส่งซ่อมภายนอก สั่งอะไหล่เพิ่ม เป็นต้น
4.       หลังจากช่างทำการซ่อมบำรุงเรียบร้อยแล้ว หัวหน้าแผนกขึ้นไปของหน่วยงานที่พบ
ปัญหาดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน และเซ็นรับงานในใบแจ้งซ่อม
5.    หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง ทำการตรวจเช็คใบแจ้งซ่อม และทุก ๆ ความถี่ 1 สัปดาห์ จะนำข้อมูลการซ่อมบำรุงไปปรับเพิ่มในบันทึกประวัติเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต รหัสเอกสาร   FM-PR-004

6. เอกสารสนับสนุน
FM-PR-003                         แบบฟอร์มบัญชีทะเบียนเครื่องจักร
FM-PR-004                         แบบฟอร์มประวัติเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
FM-PR-005                         แผนงานการบำรุงรักษา
FM-PR-006                         บันทึกผลการบำรุงรักษา Preventive Maintenance
FM-PR-007                         ใบแจ้งซ่อม
7. แบบฟอร์มบันทึกคุณภาพ           
รหัสเอกสาร
ชื่อเอกสาร
ผู้รับผิดชอบ
สถานที่จัดเก็บ
ระยะการจัดเก็บ
FM-PR-003
แบบฟอร์มบัญชีทะเบียนเครื่องจักร
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-004
ประวัติเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-005
แผนงานการบำรุงรักษา
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-006

ผลการบำรุงรักษา
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี
FM-PR-007
ใบแจ้งซ่อม
ศูนย์ควบคุมเอกสาร
ห้องจัดเก็บเอกสารของบริษัท
2 ปี


ประวัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

ครั้งที่
หน้าที่แก้ไข
รายละเอียดแก้ไข
วันที่มีผลบังคับใช้

































































เป็นมาตราฐานในการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น