วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องการจัดเรียงข้อมูล


เนื่องจากตารางในเอกสารมีความหลากหลายคอลัมภ์ บางครั้ง เราจำเป็นจะต้องมีการจัดเรียงข้อมูล เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการตรวจสอบ เช่น ข้อมูลใดมีจำนวนผู้อ่านมาที่สุด เรียงไปจนกระทั่งไม่มีผู้อ่านเลย เป็นต้น เราสามารถจัดเรียงข้อมูลหรือ Sort จากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามากได้ โดยการเลือกหัวข้อใดก่อนว่าจะเป็นหัวข้อหลักในการจัดเรียง

Sorting Excel 2007

วิธีการจัดเรียงข้อมูลใน Excel 2007

  1. เปิดเอกสาร worksheet ใดๆ ที่ต้องการจัดเรียง
  2. คลิกที่ตัวกรองด้านบนหรือ?Filter (ถ้าตัวกรองไม่แสดง ให้คลิกแท็ปเมนู Home เลือกคำสั่ง Filter)
  3. จะมีหน้าต่างคำสั่งลัดแสดงให้เลือกว่าจะ "Sort Smallest to Largest" หรือสลับกัน "Sort Largest to Smallest" ถ้าข้อมูลเป็นตัวเลข
  4. แต่ถ้าข้อมูลเป็นตัวอักษร จะมีคำสั่งให้เลือกว่า "Sort A to Z" หรือ "Sort Z to A"
  5. คลิกเลือกรูปแบบการเรียงลำดับตามต้องการ
ประโยชน์
    1. ใช้ในการตรวจสอบ
    2. เป็นระเบียบ สวยงาม

ความรู้เรื่องการใช้ ฟังก์ชั่น lookup


LOOKUP(lookup_value, lookup_vector, result_vector)
ไวยากรณ์รูปแบบเวกเตอร์ของฟังก์ชัน LOOKUP มีอาร์กิวเมนต์ (อาร์กิวเมนต์: ค่าที่ให้ข้อมูลกับแอคชัน เหตุการณ์ วิธีการ คุณสมบัติ ฟังก์ชัน หรือกระบวนงาน)ดังต่อไปนี้
lookup_value ต้องมี คือ ค่าที่ LOOKUP จะค้นหาในเวกเตอร์แรก Lookup_value อาจเป็นตัวเลข ข้อความ ค่าตรรกะ หรือชื่อ หรือการอ้างอิงที่อ้างอิงไปยังค่า
lookup_vector ต้องมี คือ ช่วงที่มีแถวหนึ่งแถวหรือคอลัมน์หนึ่งคอลัมน์เท่านั้น ค่าใน lookup_vector อาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือค่าตรรกะ
สิ่งสำคัญ ค่าใน lookup_vector จะต้องเรียงลำดับจากน้อยไปหามากนั่นคือ...,-2, -1, 0, 1, 2, ..., A-Z, FALSE, TRUE มิฉะนั้น LOOKUP อาจไม่ส่งกลับค่าที่ถูกต้อง ข้อความแบบตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กจะมีค่าเท่ากัน
result_vector ต้องมี คือ ช่วงที่ประกอบด้วยแถวหนึ่งแถวหรือคอลัมน์หนึ่งคอลัมน์เท่านั้น อาร์กิวเมนต์ result_vector ต้องมีขนาดเดียวกับ lookup_vector
ข้อสังเกต
ถ้าฟังก์ชัน LOOKUP ไม่พบ lookup_value ฟังก์ชันนี้จะจับคู่ค่าที่มากที่สุดใน lookup_vector ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ lookup_value
ถ้า lookup_value มีค่าน้อยกว่าค่าที่น้อยที่สุดใน lookup_vector LOOKUP จะส่งกลับค่าความผิดพลาด #N/A

ความรู้เรื่องใบเสร็จรับเงิน


ใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่กิจการออกให้กับลูกค้าที่ชำระเงินให้กับกิจการแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว และมีสำเนาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและบันทึกบัญชี ทีมงานของเรายินดีให้บริการออกแบบผลิตใบเสร็จรับเงินด้วยความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์โดยตรงในงานนี้โดยเฉพาะ
             ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารการเงินที่สำคัญมาก ในการทำต้นแบบใบเสร็จรับเงินนั้น จำเป็นต้องมีการออกแบบเพื่อความแม่นยำและความเป็นระเบียบมาตรฐาน จึงต้องคำนึงถึงความชัดเจน ความถูกต้องของรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตาราง อักษร หรือ font

องค์ประกอบหลักของใบเสร็จรับเงินมีดังนี้
             • ชื่อสถานประกอบการ   • ที่อยู่, เบอร์โทร   • ชื่อผู้ซื้อ, วันที่, เลขประจำผู้เสียภาษี (ถ้า)   • ลายเซนต์ผู้รับของ/ผู้ส่งของ
             • ช่องบันทึกรายการ, ข้อมูลลูกค้า, ยอดเงิน   • เลขที่, เล่มที่   • การปรุหัวบิล แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Function & Formula คืออะไร

Function คือ
ในเทคโนโลยีสารสนเทศ คำว่า function (ออกเสียงว่า FUHNK-shun) มีหลายความหมาย คำนี้มาจากภาษาลาติน “functio”
           1) ในการใช้ทั่วไป function (ฟังก์ชัน) คือ สิ่งที่ให้ สิ่งที่มีทำสิ่งที่ทำได้
           2) ในภาษา C และโปรแกรมอื่น function คือชื่อของกระบวนการที่ทำการให้บริการแน่นอน ประโยคคำสั่งภาษาที่ขอฟังก์ชัน ได้รับการเรียกว่า function call ภาษาโปรแกรมมักจะมากับคอมไพลเลอร์และชุดของ ฟังก์ชัน ที่ติดมาด้วยที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถระบุโดยการเขียนประโยคคำสั่งภาษา สิ่งเหล่านี้ให้ฟังก์ชันในบางครั้งเรียกว่า library routines บางฟังก์ชันมีความเพียงพอและสามารถส่งออกผลลัพธ์ไปให้โปรแกรมที่ขอโดย ปราศจากการช่วยเหลือ ฟังก์ชันอื่นจำเป็นต้องทำการขอกับระบบปฏิบัติการเพื่อทำให้สามารถใช้ได้
           3) ในทางคณิตศาสตร์ function คือความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรที่เรียกตัวแปรอิสระและตัวแปรขึ้นต่อ ตัวแปรขึ้นต่อมีมากที่สุดหนึ่งค่าสำหรับค่าเจาะจงของตัวแปรอิสระ ฟังก์ชันมักจะใช้สัญลักษณ์โดยตัวพิมพ์เล็ก ตัวเอน ตามด้วยตัวแปรอิสระในวงเล็บ ตัวอย่าง นิพจน์ y = f ( x ) อ่านว่า “ y เท่ากับ f ของ x” หมายความว่า ตัวแปรขึ้นต่อ y เป็นฟังก์ชันของตัวแปรอิสระ x ฟังก์ชันมักจะเป็นกราฟ และปรากฎเป็นเส้นตรงหรือส่วนโค้งบนระนาบ
           4) ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ function เป็นการเคลื่อนไหวทางกายภาคสมบูรณ์ที่มีผลต่อเนื่องไม่ชัดเจนสัมพันธ์กับจุด มุ่งหมายของอุปกรณ์ ตัวอย่าง ในเครื่องพิมพ์ สิ่งนี้อาจจะเป็น carriage return (ปัดแคร่) หรือ line feed (เลื่อนบรรทัด)

ฟังก์ชั่น (Function)  หมายถึงส่วนของโปรแกรมที่เป็นชุด ของคำสั่ง ที่มีชื่อเฉพาะ ซึ่งทำงานเสร็จสิ้นภายในตัวเอง

                ฟังก์ชั่นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                1.  ไลบรารี่ฟังก์ชั่น (Library function)
                2.  ฟังก์ชั่นที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเอง (User defined function)

ไลบรารี่ฟังก์ชั่น
                เป็นโปรแกรมที่ผู้ผลิตโปรแกรมภาษาซี เป็นผู้เขียนขึ้น ไลบรารี่ฟังก์ชั่นจะติดมากับตัวโปรแกรมภาษาซีสามารถเรียกใช้โดย ใช้คำสั่ง #include 

ฟังก์ชั่นที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเอง (Customize function)
                การเขียนโปรแกรมภาษาซี ผู้เขียนโปรแกรมอาจเขียนฟังก์ชั่นขึ้นใช้เองได้ ฟังก์ชั่นที่เขียนขึ้นเองนั้นมีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมย่อยในโปรแกรมภาษาอื่น ๆ โดยฟังก์ชั่นที่เขียนขึ้นเองนี้จะมีการให้ค่า หรือรับค่าโดยการเรียกกันระหว่างฟังก์ชั่นได้  ฟังก์ชั่นที่เขียนขึ้นเองนี้อาจจะรวมอยู่กับโปรแกรมหลัก (main) หรืออาจเขียนฟังก์ชั่นเหล่านี้ไว้คนละแฟ้มข้อมูลก็ได้

ฟังก์ชั่นที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเอง (Customize function) จำแนกได้ 4 ประเภท
1.   ฟังก์ชั่นที่ไม่มีการรับค่าและไม่ส่งค่า
2.  ฟังก์ชั่นที่ไม่มีการรับค่าแต่มีการส่งค่า
3.  ฟังก์ชั่นที่มีการรับค่าแต่ไม่ส่งค่า
    4.  ฟังก์ชั่นที่มีการรับค่าและส่งค่า

 สำหรับ Excel

 Function หมายถึง สูตรสำเร็จรูปที่ติดมากับโปรแกรม Excel เช่น สูตร Sum If Max Min เยอะแยะมากมายเสียจนเรียกใช้กันไม่หมด
Excel แบ่งสูตร Function ออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
* Database
* Date and Time
* Engineering
* Financial
* Information
* Logical
* Lookup and Reference
* Math and Trigonometry
* Statistical
* Text and Data

Formula หมายถึงสูตรที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยใช้สูตร Function ร่วมกับสูตรอื่น
ไม่ว่าจะเป็นสูตรแบบ function หรือ formula ก็ตาม สูตรทุกสูตรต้องนำด้วยเครื่องหมายเท่ากับ เพื่อบอกกับ Excel ให้ใช้สูตรในการคำนวณ

โครงสร้างสูตร Function
ในตัวสูตร Function หรือสูตรสำเร็จรูปของ Excel แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
  • ด้านหน้านำด้วยเครื่องหมายเท่ากับเสมอ
  • ตัวสูตร
  • เครื่องหมายวงเล็บเปิดและปิด ล้อมรอบตัวแปร (argument) ที่ใช้ในสูตร โดยใช้เครื่องหมาย comma , คั่นแต่ละตัวแปร เช่น
=SUM(A1,A2,A3:A10,100)
=INDEX(MyRange,2,5)
=NOW()
เมื่อสร้างสูตรหรือแกะสูตร ต้องสร้างให้ครบทุกส่วนเสมอ และเมื่อจะแกะสูตรใด ให้แยกแยะแต่ละส่วนออกจากกัน จะทำให้เข้าใจตัวสูตรได้ง่ายขึ้น

โครงสร้างสูตร Formula
สูตร Formula อย่างง่ายที่สุด เช่น =A1 เพื่อนำค่าในเซลล์ A1 ออกมาใช้งาน หรือนำ Function หลายๆสูตรมาสานต่อกันด้วยเครื่องหมายคำนวณ  เช่น =A1+INDEX(MyRange,2,5)
Excel มีลำดับการคำนวณ ดังนี้
1.       ยกกำลัง ^
2.       คูณ * หาร / แล้วแต่ส่วนใดมาก่อนจากซ้ายไปขวา
3.       บวก + ลบ - แล้วแต่ส่วนใดมาก่อนจากซ้ายไปขวา
เช่น =3+7*5-6/2 จะได้ผลลัพธ์ 35 เนื่องจาก Excel คำนวณตามลำดับ ดังนี้
1. คำนวณ 7*5 = 35
2. คำนวณ 6/2 = 3
3. คำนวณ 3+35 = 38
4. คำนวณ 38-3 = 35
ดังนั้นเพื่อกำหนดลำดับการคำนวณให้ชัดเจน จึงใช้เครื่องหมายวงเล็บช่วยกำกับลำดับการคำนวณให้เกิดขึ้นตามที่เราต้องการ เช่น =(3+7)*(5-(6/2)) จะคำนวณ =10*2 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 20
การค้นหาสูตร
คลิกที่ปุ่ม fx บน ToolBar   
หรือ ไปที่ ริบบอน สูตร แทรกฟังก์ชั่น

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การป้อนสูตรใน excel 2007


หลักการพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ในเซลล์ใน Excel 2007

          ในการพิมพ์สูตรสมการทางคณิตศาสตร์แบบบรรทัดเดียวนั้น มีหลักการดังต่อไปนี้
           1. เครื่องหมายสถานะของสูตร
          ให้พิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ (=) หรือคลิกเครื่องหมายเท่ากับบนแถบสูตร จะมีแผ่นกรอกข้อมูลให้มา โดยโปรแกรม Excel จะรู้ทันทีว่ากำลังทำงานอยู่ในสถานะสูตร

การพิมพ์ = ลงไปโดยตรงในเซลล์ และการคลิก = ที่แถบสูตร

          2. ตัวเลขและการอ้างอิงเซลล์
          เมื่อพิมพ์ = แล้ว ก็เป็นการพิมพ์สมการทางคณิตศาสตร์บรรทัดเดียว ซึ่งจะใช้ตัวเลขหรือเซลล์มาพิมพ์ก็ได้ ถ้าเป็นตัวเลข Excel จะถือว่าเป็นค่าคงที่ แต่ถ้าเป็นเซลล์ จะขึ้นอยู่กับการอ้างอิงเซลล์ โดยการพิมพ์ชื่อเซลล์ลงไปโดยตรง หรือใช้เมาส์คลิกเลือกเซลล์ที่อ้างอิงนั้นก็ได้ เช่น =1/2 หรือ =6*B3 หรือ =A4+B4 เป็นต้น

          3. เครื่องหมายการคำนวณและเปรียบเทียบ
          เป็นการคำนวณโดยใช้เครื่องหมาย บวก (+) ลบ (-) คูณ (*) หาร (/) เลขยกกำลัง (^) เปอร์เซ็นต์ (%) และใช้เครื่องหมายวงเล็บ () แต่เราไม่สามารถที่จะใส่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับ ซ้อน เช่น √  (Square root) ลงในสูตรของ Excel ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการนำฟังก์ชันมาช่วยทำงาน ตัวอย่าง √7 จะเขียนเป็น SQRT (7) แทน เป็นต้น ซึ่งการคำนวณจากเครื่องหมายคำนวณนี้ จะมีลำดับงานการคำนวณก่อนหลัง ดังตาราง





ลำดับงาน (ความสำคัญ) การคำนวณสูตรในโปรแกรม Microsoft Excel
ลำดับที่
เครื่องหมาย
คำอ่าน
1
( )
วงเล็บ
2
%
เปอร์เซ็นต์
3
^
ยกกำลัง
4
* และ /
คูณ และ หาร
5
+ และ -
บวก และ ลบ

เครื่องหมายในการเปรียบเทียบในการคำนวณสูตรของโปรแกรม Microsoft Excel
เครื่องหมาย
คำอ่าน
ตัวอย่าง
=
เท่ากับ
=A1=250 หรือ =A1>=250
ถ้าค่าเป็นจริงหรือถูก จะได้
ผลลัพธ์ เป็น TRUE
แต่ถ้าค่าเป็นจริงหรือเท็จจะได้
ผลลัพธ์ เป็น FALSE
มากกว่า
น้อยกว่า
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ
<=
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
<> 
ไม่เท่ากับ