วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว


ความรู้ที่ใช้ในใบงานนี้ (ใบงานประวัติส่วนตัว)
          ในการสมัครงานนั้น ประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงาน (Resume) นับเป็นสิ่งแรกที่จะสร้างความน่าสนใจเกี่ยวกับผู้สมัครงาน ซึ่งสิ่งสำคัญหรือหัวใจหลักของการเขียนประวัติส่วนตัวแบบมืออาชีพนั้นไม่ได้มีความซับซ้อน แต่ใช้เทคนิคง่ายๆ อยู่ที่การเขียนให้กระชับ ตรงประเด็น น่าสนใจ และมีรายละเอียดครบถ้วนดังตามตัวอย่างต่อไปนี้ :
1. หัวเรื่อง : จุดเริ่มต้นของเขียนประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงานนั้นจะเริ่มจากหัวเรื่องเสนอ ซึ่งหมายถึง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ของท่าน โดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์และอีเมล์ ควรเป็นหมายเลขและอีเมล์ที่ใช้ติดต่อได้จริงอย่างน้อยในวัน/เวลาทำงาน
2. รูปภาพ : ควรเป็นรูปภาพปัจจุบันที่แสดงบุคลิกและความเป็นตัวตนของท่าน สามารถเห็นหน้าตาได้อย่างชัดเจน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปที่เป็นทางการอย่างรูปรับปริญญาก็ได้
3. เป้าหมาย : เป้าหมายที่ใส่ไว้ในประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงาน (Resume) นั้นหมายถึงจุดมุ่งหมายของการสมัครงาน โดยระบุตำแหน่งหรือหน้าที่การงานที่ตัวเองสนใจและสามารถรับผิดชอบได้ และควรระบุความอาวุโสของตำแหน่งงานที่อยากจะสมัครด้วย
ประสบการณ์การทำงาน :ควรระบุประสบการณ์การทำงานของท่านที่ผ่านมาทั้งหมด ซึ่งควรเริ่มจากรายละเอียดของหน้าที่การงานปัจจุบันไปถึงอดีต โดยมีรายละเอียดของตำแหน่งงาน, หน้าที่ความรับผิดชอบ, ระยะเวลาที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งนั้น และสามารถระบุผลงานต่างๆที่ท่านเองมีความภูมิใจที่จะนำเสนอจากการทำงานในตำแหน่งนั้นได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักคือ ประสบการณ์การทำงานที่ระบุไว้ทั้งหมด ควรมีเอกสารที่อ้างถึงได้ เช่น จดหมายการผ่านงานการบริษัทที่ได้ระบุไว้
5. ประวัติการศึกษา : ควรใส่ชื่อนายจ้างเก่า แต่ถ้ายังไม่ได้ออกจากงาน อาจเปลี่ยนเป็นอาจารย์หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่รู้จัก พร้อมกับระบุที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
6. ประวัติการฝึกอบรม :ท่านสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดของการฝึกอบรมต่างๆที่ผ่านมาที่ท่านได้เข้าร่วมไว้ในประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงาน โดยเริ่มจากรายละเอียดของการฝึกอบรมล่าสุดไปถึงอดีต และแน่นอนว่าการฝึกอบรมที่ท่านระบุไว้ควรมีเอกสารที่อ้างถึงได้ เช่น ประกาศนียบัตร
7. ความสามารถอื่นๆด้านการทำงาน :ท่านสามารถใส่รายละเอียดเกี่ยวความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไว้ในประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงานได้ด้วย เช่น ความสามารถในการพูด อ่าน เขียนในภาษาต่างๆ ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องการสายอาชีพนั้นๆ
8. รายละเอียดส่วนตัว :รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวท่านเอง ประกอบด้วย เพศ อายุ วัน เดือน ปีเกิด น้ำหนัก ส่วนสูง งานอดิเรก และความสามารถอื่นๆที่อาจไม่เกี่ยวข้องด้านการทำงาน เช่น ความสามารถด้านกีฬา เพลง หรืออื่นๆ
9. ชื่อบุคคลอ้างอิง :ควรใส่ชื่อนายจ้างเก่า แต่ถ้ายังไม่ได้ออกจากงาน อาจเปลี่ยนเป็นอาจารย์หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่รู้จัก พร้อมกับระบุที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
โดยทั่วไป การเขียนประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงาน (Resume) นั้นจะถูกเขียนในภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นทางการและน่าสนใจ และจะเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word หรือ PDF ซึ่งสามารถแนบกับระบบฝากประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงานออนไลน์ใน Nationejobs.com โดยบริษัทที่เปิดรับสมัครงานจะนำรายละเอียดทั้งหมดมาประกอบตัดสินใจในการเรียกสัมภาษณ์งาน โดยท่านได้รับคัดเลือกในการสัมภาษณ์งานแล้ว ควรนำประวัติส่วนตัว หรือ ประวัติการทำงาน (Resume) ที่ระบุไว้พร้อมเอกสารอ้างอิงทั้งหมดไปในวันสัมภาษณ์งานด้วย

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ส1 ความรู้เรื่องการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์



การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์
สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดีนั้น เช่น ในห้องคอมพิวเตอร์ควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไรมีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไรระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร ดังนั้นห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและความชื้น ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูงหรือตกกระทบกระแทกแรงๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น

การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์



สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย
ความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด
วิธีแก้ปัญหา
พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ

ฝุ่นผง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆที่ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกนอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
วิธีแก้ไข
ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์

สนามแม่เหล็ก
แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวรแหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
แม่เหล็กติดกระดาษบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
ไขควงหัวแม่เหล็ก
ลำโพง
มอเตอร์ในพรินเตอร์
• UPS
วิธีแก้ไข
ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์

สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น
แรงดันเกิน
แรงดันตก
ทรานเชียนต์ [ทรานเชียนต์ หมายถึง การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสูง (sags) หรือต่ำกว่าปกติ (surge) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ]
ไฟกระเพื่อม
แรงดันเกิน
ในกรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติเป็นเวลานานกว่า วินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้
แรงดันตก
ในกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะมีผลทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟตกได้ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายผิดพลาดได้เนื่องจากเพาเวอร์ซัพพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอโดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำเพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์ต่างๆร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายได้
ทรานเชียนต์
ทรานเชียนต์หมายถึง การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสูง(sags)หรือต่ำกว่าปกติ(surge)ในช่วงระยะเวลาสั้นๆทรานเชียนต์ที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมากจนกระทั่งสามารถ เคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้
ไฟกระเพื่อม
ทุกครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามากๆก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่าการเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อมภายในเสี้ยววินาทีการกระเพื่อมจะมีผลต่อทุกๆส่วนภายในตัวเครื่อง รวมทั้งหัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย
วิธีแก้ไข
ในกรณีไฟเกิน ไฟตก และทรานเชียนต์ แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า Stabilizer
ส่วนไปกระเพื่อม แก้ได้โดยการลดจำนวนครั้งในการปิดเปิดเครื่อง

ไฟฟ้าสถิตย์
ไฟฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลแต่ในสภาวะที่อากาศแห้งจะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูงประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมากและหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น
วิธีแก้ไข
ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์ ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

น้ำและสนิม
น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดสนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว
          วิธีแก้ไข
หลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน
กรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เมื่อเครื่องของท่านมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี เป็นต้นไป

การบำรุงรักษาตัวเครื่องทั่วๆไป
เครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) ถ้ามีงบประมาณเพียงพอควรติดตั้งร่วมกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเพราะ UPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่นๆ
การติดตั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือถ้ามีไม่มีเครื่องปรับอากาศควรเลือกห้องที่ปลอดฝุ่นมากที่สุดและการติดตั้งตัวเครื่อง ควรจากผนังพอสมควรเพื่อการระบายความร้อนที่ดี
การต่อสาย Cable ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆเช่น Printer Modem Fax หรือส่วนอื่นๆจะต้องกระทำเมื่อ power off เท่านั้น
อย่าปิด - เปิดเครื่องบ่อยๆ เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่
ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางตัวเกิดความเสียหายได้
อย่าเปิดฝาเครื่องขณะใช้งานอยู่ ถ้าต้องการเปิดต้อง power off และถอดปลั๊กไฟก่อน
ควรศึกษาจากคู่มือก่อนหรือการอบรมการใช้งาน Software ก่อนการใช้งาน
ตัวถังภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเหล็กกับพลาสติกเมื่อใช้นานๆจะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือมาติดทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นานๆจะทำความสะอาดยากจึงควรทำความสะอาดบ่อยๆอย่างน้อย1-2เดือนต่อครั้งโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดที่ตัวเครื่อง หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ และที่สำคัญคือ ควรใช้ผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อยหลังเลิกใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นผงต่างๆ

การบำรุงรักษา Hard Disk
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
ควรเลือกใช้โต๊ะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้
ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Disk ที่ใช้งานไม่ได้

การบำรุงรักษา Disk Drive
ช่องอ่านดิสก์เมื่อทำงานไปนานๆหัวอ่านแผ่นดิสก์อาจจะเสื่อมสภาพไปได้ หัวอ่านดิสก์เกิดความสกปรกเนื่องจากมีฝุ่นละอองเข้าไปเกาะที่หัวอ่านหรือเกิดจากความสกปรกของแผ่นดิสก์ที่มีฝุ่น หรือคราบไขมันจากมือ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบันทึก หรืออ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ไม่สามารถดำเนินการได้
การดูแลรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ
ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นานๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย

การบำรุงรักษา Monitor
ในส่วนของจอภาพนั้นอาจเสียหายได้เช่น ภาพอาการเลื่อนไหลภาพล้ม ภาพเต้นหรือไม่มีภาพเลย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะต้องให้ช่างเท่านั้นเป็นผู้แก้ไขผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรระมัดระวัง โดยปฏิบัติดังนี้
อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิชท์ไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
ไม่ควรปิดๆ เปิดๆ เครื่องติดๆกัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ

การบำรุงรักษา Inkjet & Dot matrix Printer
เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงผล รายงาน ของข้อมูลต่างๆทางกระดาษ การที่จะใช้เครื่องพิมพ์ทำงานได้เป็นปกติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรหมั่นดูแลรักษาดังนี้
รักษาความสะอาดโดยดูดฝุ่นเศษกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่องพิมพ์ทุกเดือนหรือใช้แปรงขนนุ่มปัดฝุ่นเศษกระดาษออกจากเครื่องพิมพ์อย่าใช้แปรงชนิดแข็งเพราะอาจทำให้เครื่องเป็นรอยได้
ถ้าตัวเครื่องพิมพ์มีความสกปรกอาจ ใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเครื่องใช้สำนักงานเช็ดถูส่วนที่เป็นพลาสติกแต่ต้องระมัดระวังอย่าใช้น้ำเข้าตัวเครื่อง
พิมพ์ได้ และควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ในตัวเครื่องเพราะอาจทำให้ระบบกลไกเสียหายได้
ก่อนพิมพ์ทุกครั้งควรปรับความแรง ของหัวเข็มให้พอเหมาะกับความหนาของกระดาษ
ระหว่างพิมพ์ควรระวังหัวพิมพ์จะติดกระดาษ เช่น การพิมพ์ซองจดหมาย หรือกระดาษที่มีความหนาหรือบางเกินไป
อย่าถอดหรือเสียบสาย Cable ในขณะที่เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
ไม่ควรพิมพ์กระดาษติดต่อกันนานเกินไปเพราะอาจทำให้หัวอ่านร้อนมากทำให้เครื่องชะงักหยุดพิมพ์กระดาษ
เมื่อเลิกพิมพ์งานควรนำกระดาษออกจากถาดกระดาษ และช่องนำกระดาษ
ไม่ควรใช้กระดาษไข(Stencil Paper)แบบธรรมดากับเครื่องพิมพ์ประเภทแบบกระแทก(Dot matrix Printer)เนื่องจากเศษของกระดาษไขอาจจะไปอุดตันเข็มพิมพ์ อาจทำให้เข็มพิมพ์อาจหักได้ควรใช้กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์แทนเพื่อป้องกันการชำรุดของเฟืองที่ใช้หมุนกระดาษ

การบำรุงรักษา Laser Printer
Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถพิมพ์ภาพได้อย่างคมชัดมากมีความละเอียดสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูงผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังในการใช้งานแม้ว่าโอกาสจะเสียหายมีน้อยก็ตาม ข้อควรปฏิบัติดังนี้
การเลือกใช้กระดาษไม่ควรใช้กระดาษ ที่หนาเกินไปจะทำให้กระดาษติดเครื่องพิมพ์ได้
ควรกรีดกระดาษให้ดีอย่าให้กระดาษติดกัน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดาษติดในตัวเครื่องพิมพ์ได้
การใช้พิมพ์ Laser Printer พิมพ์ลงในแผ่นใส ก็ต้องเลือกใช้แผ่นใสที่ใช้ถ่ายเอกสารได้เท่านั้นหากใช่แผ่นใสแบบธรรมดาซึ่งไม่สามารถทนความร้อนได้อาจจะหลอมละลายติดเครื่องพิมพ์ทำให้เกิดความเสียหาย

Week 15 การเซ็ต Wireless Lan
การเซ็ท Security ขั้นต่ำที่สุดที่ระบบ Wireless LAN ควรจะมี
Wireless LAN Security

หน้า: 1/5
หลังจากที่ผมได้แสดงวิธี setup Wireless Access Point แบบง่ายๆไปแล้ว คราวนี้เรามาลองมาปรับปรุงให้มีความปลอดภัยที่ดีขึ้น
โดยหลักๆแล้ว การทำให้ระบบ Wireless LAN มีความปลอดภัยขึ้นนั้น อย่างน้อยเราควรที่จะเซ็ทให้ครบทั้ง 5 ข้อที่ผมกำลังจะบอกครับ ขอย้ำว่า "อย่างน้อยนะครับ"

1. เปลี่ยน SSID ซะ
SSID คือชื่อของ Network ที่เราตั้งขึ้นมาเอง โดยที่ทุกๆเครื่องในระบบต้องตั้งค่า SSID ค่าเดียวกัน โดยส่วนมากเมื่อเราซื้อ Wireless Access Point มาใหม่ๆ จะมีการตั้งค่า SSID ไว้แล้ว แต่เราควรที่จะเปลี่ยนชื่อ SSID ในทันทีที่ติดตั้ง การตั้งชื่อ SSID นั้นต้องไม่เกิน 32 ตัวอักษร และ ตัวใหญ่ตัวเล็กก็มีค่าต่างกันด้วย เช่น TonyNetwork กับ tonyNetwork ถือว่าเป็นคนละ SSID กันครับ

2. เปลี่ยน default password
default password ที่มากับ Wireless Access Point แต่ละยี่ห้อนั้น ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณใช้ความพยายามซักเล็กน้อย ใน Google.com คุณก็สามารถจะรวบรวม default password ของทุกยี่ห้อได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นผมขอบอกว่า คุณจะต้องเปลี่ยน password ของ Wireless Access Point ของคุณทันทีที่เริ่มติดตั้งระบบ

3. SSID Broadcast : Disabled แปลเป็นไทยว่า "ซ่อน SSID มันซะ"
SSID Broadcast คือการยอมให้เผยแพร่ SSID ให้ทุกๆเครื่องที่อยู่ในระยะส่ง สามารถที่จะเห็น Network ของเราได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ตอนเราทำการติดตั้งระบบในครั้งแรก แต่หลังจากที่เราติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราควรที่จะยกเลิก SSID Broadcast ในทันที เพราะการที่เราเปิดเผย SSID ของเรานั้น อาจทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถที่จะแอบเข้ามาในระบบ Network ของเราได้ ดังนั้น.....กรุณาซ่อน SSID ของคุณซะ!

4. WEP : Enabled
WEP (Wired Equivalent Privacy) เป็นรูปแบบการเข้ารหัสแบบพื้นฐาน ซึ่งย่อมไม่มีความปลอดภัยเท่ากับ WPA (Wi-Fi Protected Access) แน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม Wireless Access Point ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เกือบทุกตัวจะมี WEP ยกเว้น Wireless Access Point รุ่นใหม่ๆ ที่จะมี WPA ติดมาด้วยครับ

ถ้าคุณจะใช้ WEP ขั้นแรก คุณต้องเลือก Default Transmit Key ตัวใดตัวหนึ่ง จากนั้นก็เลือกระดับของการเข้ารหัสว่าจะเป็น 64 bits, 128 bits หรือ 256 bits สุดท้ายก็ป้อน WEP key ลงไปครับ

5. MAC address filtering
MAC address ทำหน้าที่เสมือนเลขประจำตัวของอุปกรณ์ network ต่างๆ ซึ่งจะไม่ซ้ำกันเลย ดังนั้นการที่เราสามารถที่จะกำหนดให้แค่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเท่านั้น ที่สามารถเข้าสู่ network ของเราได้ ก็ย่อมจะทำให้ระบบ Wireless LAN ของเราปลอดภัยขึ้นอีกขั้นหนึ่ง


ส1 กส1 ห้อง A B C 14 พค 55



คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ 2001-0001
โครงการสอน
รหัสวิชา 2001-0001

ชื่อวิชา คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
คาบ-หน่วยกิต 3 ชั่วโมง 2 หน่วยกิต 
กลุ่มชั้น ปวช.1,2
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
คำอธิบายรายวิชา
               ศึกษาและปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพื่องานอาชีพเบื้องต้น การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้างและคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ การใช้โปรแกรมประมวลผลคำจัดทำเอกสารเพื่องานอาชีพโดยเน้นการพิมพ์เอกสารด้วยระบบสัมผัสและตรวจแก้ไขความถูกต้อง การใช้โปรแกรมตารางทำการเพื่องานอาชีพโดยเน้นการคำนวณ เช่น ต้นทุน ราคาสินค้า บัญชีรายการวัสดุ ฯลฯ  การใช้โปรแกรมการนำเสนองาน เน้นการสร้างกราฟและตารางและสร้างภาพเคลื่อนไหว การใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่องานอาชีพและการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและความรับผิดชอบใน   การใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศ
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพ  การใช้โปรแกรมสำหรับงานสำนักงาน การใช้อินเทอร์เน็ตและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพื่องานอาชีพ ติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างและคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพของคอมพิวเตอร์ จัดทำเอกสาร ตารางทำการ และนำเสนอผลงาน สืบค้นข้อมูลโดยใช้อินเทอร์เน็ต และรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
3. เพื่อให้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศ มีกิจนิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ ด้วยความอดทน ประณีตรอบคอบและปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา 
               1. ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ตามคู่มือ
               2. จัดทำเอกสารเพื่องานอาชีพด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ
               3. สร้างตารางทำการเพื่องานอาชีพด้วยโปรแกรมตารางทำงาน
               4. สร้างสไลด์นำเสนอผลงานด้วยโปรแกรมการนำเสนอ
               5. สืบค้นข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตและรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
สมรรถนะของรายวิชา
1. ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ตามคู่มือ
2. จัดทำเอกสารเพื่องานอาชีพด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ
3. สร้างตารางทำการเพื่องานอาชีพด้วยโปรแกรมตารางทำงาน
4.  สร้างสไลด์นำเสนอผลงานด้วยโปรแกรมการนำเสนอ
5. สืบค้นข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตและรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมการสอน
1. การบรรยายประกอบสื่อการสอน
2. การศึกษา ค้นคว้า การสืบค้นข้อมูล จากห้องสมุดและระบบเครือข่าย
3. การอภิปรายกลุ่ม
4.  การทดลองปฏิบัติ
5. แบบทดสอบ
สื่อการเรียนการสอน
1. โปรแกรมนำเสนองานเรื่องที่เกี่ยวข้อง
2. การนำเสนองานโดยโปรแกรม e-book ที่เกี่ยวข้อง
3. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
4.  โปรเจคเตอร์และจอภาพ
5. กระดานไวท์บอร์ด และปากกาเขียนไวท์บอร์ด
6. สื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง
7. anothai573.blogspot.com
8. anothai573@gmail.com
9. social network facebook
เอกสารประกอบการเรียนการสอน
1. คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ Ms Word 2007 เรียบเรียงโดย อ.มะลิวรรณ์ พลาวุทฒ์ 2553 บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทย จำกัด
2. คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ Ms Word 2007 เรียบเรียงโดย มนัสลัย กีรติผจญและ
เมธาสิทธิ์ ต่อภัคชยานันท์
2554 บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด
3. คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ เรียบเรียงโดย อ.พรเศก จิตต์แจ้งและ อ.พันจันทร์ ธรวัฒนเสถียร 2550 บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด
4. คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ เรียบเรียงโดย อำภา กุลธรรมโยธิน 2550 ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
5. คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ เรียบเรียงโดย ทนุวงศ์ จักษุพา และประเสริฐ อู่อรุณ 2550 บริษัท ศูนย์หนังสือเมืองไทย จำกัด
6. คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ เรียบเรียงโดย ดร. ยอดธง รอดแก้ว  2551 บริษัท แอล ที เพรส จำกัด
7. การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ Ms Word 2007 เรียบเรียงโดย ผศ.รัชฏาวรรณ นิ่มนวล และ
วิภาวัลย์ พันธ์คำ
2553 สำนักพิมพ์วังอักษร
8. การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ Ms Word 2007 เรียบเรียงโดยอำภา กุลธรรมโยธิน 2553
ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
9. การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ เรียบเรียงโดย อ.ปิยะ ศุภวราสุวัฒน์ และคณะ 2550 บริษัท
ซัคเซส มีเดีย จำกัด
10. Microsoft Office 2007 All-in-one Desk Reference Dummies By Peter Weverka
เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
รวม 100 คะแนน ในสัดส่วนทักษะ : ความรู้  (80 : 20)
ระหว่างภาคเรียน    จิตพิสัย                                                                   10 คะแนน
คุณธรรม/จริยธรรม/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง            10  คะแนน
ทดสอบระหว่างภาค(ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ)                     10 คะแนน
ฝึกปฏิบัติเน้นทักษะดูได้จากใบงาน                                40 คะแนน
ปลายภาคเรียน      จิตพิสัย                                                        10 คะแนน
คุณธรรม/จริยธรรม/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง            10  คะแนน
ทดสอบปลายภาค(ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ)                                    10 คะแนน
เกณฑ์การการตัดสินผลการเรียน
หน่วยกิต 2 หน่วยกิต
คะแนน        ระดับ             เกรด              ผลคะแนน * 2
80            4                  A                 8
75            3.5               B+                7.0
70            3                  B                  6
65            2.5               C+                5.0
60            2                  C                 4
55            1.5               D+                3.0
50            1                  D                 2
49            0                  F                  0
เกณฑ์การประเมินผลคุณธรรม /จริยธรรม /ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2%
          ……..1.  มีมนุษยสัมพันธ์
          ……. 2.  ความมีวินัย การเข้าเรียนตรงเวลา          
          ……. 3.  ความรับผิดชอบ การส่งงานตรงเวลา งานที่มอบหมาย
          ……..4.  ความซื่อสัตย์สุจริต       
          ……. 5.  ความเชื่อมั่นในตนเอง     
          ……..6.  การประหยัด
          ……. 7.  ความสนใจใฝ่รู้   การซักถาม การตอบข้อคำถาม    
          ……. 8.  การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน           
          ……. 9.  ความรักสามัคคี           
          ……..10. ความกตัญญูกตเวที      
          ……. 11.  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          ……. 12. การพึ่งตนเอง
          ……. 13.  ความอดทนอดกลั้น ความมุมานะ พยายาม                  
          ……..14. อื่น ๆ ………………………………….
เวลาเรียน
เวลาเรียน     18     สัปดาห์  /  ภาคเรียน   
ประกอบด้วย
เรียนทฤษฎี       1  ชั่วโมง  /  สัปดาห์
เรียนปฏิบัติ       2   ชั่วโมง  /  สัปดาห์  
          รวม               3  ชั่วโมง  /  สัปดาห์
                 รวมทั้งสิ้น 54 ชั่วโมง  ตลอดภาคเรียน 
     หรือ  18  สัปดาห์  /  ภาคเรียน
เข้าห้องเรียนสาย 2 ครั้ง ถือเป็นขาดเรียน 1 ครั้ง
เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนตามเกณฑ์ที่ตกลงกัน
ขาดเรียนได้ 4 ครั้ง


วิชาชีพก่อสร้าง


รายละเอียดของอาชีพ
อาชีพช่างก่อสร้าง  อาคารบ้านเรือน  ตึก  ร้านค้าต่าง ๆ  เป็นอาชีพที่อาศัยพละกำลังละความอดทนอุตสาหะ  เพื่อหาเลี้ยงชีพ  และสามารถมีโอกาสเจริญก้าวหน้าเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในอนาคตได้
ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1.  ผสมปูน
2.  โบก  ฉาบผนังกำแพง
3.  ก่อกำแพง
4.  หล่อฐานเสา
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีความแข็งแรง 
2.  อดทน
3.  มีความขันหมั่นเพียร
4.  รักการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะอยู่ตลอดเวลา